ผู้ป่วย "โรคหลอดเลือดสมอง" เสี่ยง "เป็นลมแดด" มากกว่าคนทั่วไป

ผู้ป่วย "โรคหลอดเลือดสมอง" เสี่ยง "เป็นลมแดด" มากกว่าคนทั่วไป

ผู้ป่วย "โรคหลอดเลือดสมอง" เสี่ยง "เป็นลมแดด" มากกว่าคนทั่วไป
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ เตือนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองให้ระวังโรคลมแดด ในช่วงที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับอากาศที่ร้อนจัด แนะหลีกเลี่ยงสภาพอากาศร้อนจัด ดื่มน้ำให้มากเพียงพอ รับประทานยาสม่ำเสมอ


โรคลมแดด คืออะไร?

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคลมแดด หรือ Heat Stroke เป็นความผิดปกติของร่างกายที่เกิดขึ้น เมื่ออุณหภูมิของร่างกายสูงจากการเผชิญกับสภาพอากาศที่มีความร้อนสูง เช่น การออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมท่ามกลางอากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน ซึ่งพบว่ามีอุบัติการณ์เพิ่มสูงขึ้นในฤดูร้อน อาการจะเริ่มจากอุณหภูมิร่างกายค่อยๆ สูงขึ้น เมื่อเกิน 40 องศาเซลเซียส ร่างกายจะไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้รู้สึกผิดปกติ กระสับกระส่าย ร่วมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว หายใจหอบ ตัวแดง สับสน ชักเกร็ง ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยจะซึมลงและอาจเสียชีวิตได้ 

ทั้งนี้เมื่อพบผู้ที่มีอาการจากโรคลมแดด ควรปฐมพยาบาลด้วยการเช็ดตัวด้วยน้ำเย็น และรีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดโดยเร็ว


กลุ่มเสี่ยงของโรคลมแดด

นายแพทย์ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า กลุ่มเสี่ยงของโรคลมแดด ได้แก่ ผู้สูงอายุ เด็ก ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ ผู้ป่วยระยะพักฟื้น หรือแม้แต่ประชาชนทั่วไป 


ผู้ป่วย "โรคหลอดเลือดสมอง" เสี่ยง "เป็นลมแดด" มากกว่าคนทั่วไป

สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคหลอดเลือดสมองอยู่แล้ว ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคลมแดด หรือหากอยู่ในสถานที่ที่มีอากาศร้อนร่วมกับขาดน้ำ อาจจะทำให้เกิดโรคลมแดดง่ายขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นเส้นเลือดสมองตีบอุดตันซ้ำได้ เพราะเมื่อร่างกายเสียน้ำในปริมาณมาก จะทำให้ระบบการไหลเวียนโลหิตผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยเฉพาะเส้นเลือดสมองตีบ มีโอกาสเกิดโรคซ้ำได้ 

ดังนั้นการหลีกเลี่ยงสภาพอากาศร้อนจัด ดื่มน้ำให้มากเพียงพอ รับประทานยาสม่ำเสมอ จะช่วยลดโอกาสการกลับเป็นซ้ำของโรคเส้นเลือดสมองตีบอุดตัน และป้องกันการเป็นโรคลมแดดได้อีกด้วย


วิธีป้องกันโรคลมแดด

สำหรับการป้องกัน สามารถทำได้โดย

  1. หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมในสภาพอากาศที่ร้อนจัดหรือกลางแจ้งเป็นเวลานาน หากสามารถเลี่ยงได้ ควรเลือกเวลาที่ต้องการทำกิจกรรมในช่วงเช้ามืด หรือช่วงก่อนพระอาทิตย์ตกดิน 

  2. ผู้ที่ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมกลางแจ้งหรือในสภาพที่อุณหภูมิร้อนจัด 

  3. ควรดื่มน้ำให้มากเพียงพอทั้งก่อน ระหว่าง และหลังทำกิจกรรม 

  4. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่เพิ่มความเสี่ยงของการสูญเสียน้ำ เช่น เครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีน หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้จะทำร่างกายขับน้ำทางปัสสาวะในปริมาณสูง หากไม่สามารถชดเชยน้ำได้เพียงพอ จะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นลมแดดได้ 

  5. ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันแสงแดด เช่น หมวก ร่ม เสื้อผ้าบางคลุมร่างกายที่มีคุณสมบัติระบายอากาศได้ดี เพราะถือเป็นหนึ่งอุปกรณ์ที่ควรพกติดตัวเมื่อต้องเผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัด 

  6. หลีกเลี่ยงการอยู่ในรถที่ติดเครื่องยนต์กลางแจ้งระหว่างรอทำกิจกรรมบางอย่าง เพราะนอกจากต้องพบกับอากาศร้อนแล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงของการได้รับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซพิษที่มีผลต่อระบบประสาทอีกด้วย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook