รู้จักโรค "กินไม่หยุด" (Binge Eating) ผลกระทบจากซึมเศร้า-เครียด

รู้จักโรค "กินไม่หยุด" (Binge Eating) ผลกระทบจากซึมเศร้า-เครียด

รู้จักโรค "กินไม่หยุด" (Binge Eating) ผลกระทบจากซึมเศร้า-เครียด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Binge Eating หรือโรคกินไม่หยุด เป็นโรคที่ผู้ป่วยมีอาการกินอาหารในปริมาณมาก กินซ้ำๆ ควบคุมพฤติกรรมการกินของตัวเองไม่ได้ โดยไม่มีพฤติกรรมที่พยายามจะลดน้ำหนัก มีสาเหตุหลายอย่าง อาจรวมถึงซึมเศร้า และเครียดได้ด้วย

 
อาการของโรคกินไม่หยุด

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคกินไม่หยุด จะมีพฤติกรรมกินอาหารปริมาณมากทั้งๆ ที่ไม่หิว ไม่รู้ตัวว่าตัวเองหิวหรืออิ่มแล้ว ควรหยุดกินได้แล้ว เป็นผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และอ้วนได้ในที่สุด นอกจากนี้ยังมักจะไวต่อความรู้สึกด้านลบจากคนรอบข้างต่อพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของตน จนทำให้มีอาการซึมเศร้าหรือเครียดตามมาได้อีก 

อาการที่สังเกตได้ ได้แก่

  • ผู้ป่วยมักรู้สึกละอาย หรือ รังเกียจตนเองหลังจากรับประทานอาหารปริมาณมาก

  • อารมณ์ซึมเศร้าหรือวิตกกังวล

  • รับประทานอาหารมากจนถึงจุดที่ไม่สบายตัว หรือ รู้สึกทรมาน

  • รับประทานอาหารต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่อาจหยุดได้

  • มีความรู้สึกที่ไม่อาจควบคุมการรับประทานอาหารได้

  • รับประทานอาหารในช่วงกลางดึก

  • มีการซ่อนอาหารไว้รอบบ้าน เพื่อเตรียมตัวที่จะกินได้ทุกที่ทุกเวลา

  • น้ำหนักตัวขึ้นลงไม่คงที่

  • มีความลำบากใจ และ พยายามหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์

  • มีลักษณะของความมั่นใจที่ลดลงผิดปกติ

 
วิธีรักษาโรคกินไม่หยุด

การรักษาทางจิตใจมีประสิทธิภาพในการรักษาใกล้เคียง หรือเหนือกว่าการใช้ยา ดังนั้นแพทย์อาจพิจารณาการรักษาทางจิตใจควบคู่ไปกับการใช้ยา เพื่อประสิทธิภาพในการรักษาดียิ่งขึ้น

  • รักษาโดยปรับเปลี่ยนที่แนวคิด และ พฤติกรรม การกินโดยมีเป้าหมายที่การลดความถี่ของ binge eating ลดการกินอาหารที่พลังงานสูง รวมถึงการมองภาพลักษณ์ตนเอง (self image) ของผู้ป่วยให้ดีขึ้น

  • จัดการกับปัญหาเกี่ยวกับสภาพจิตใจขณะนั้นเช่นภาวะซึมเศร้า และ ความขัดแย้งในจิตใจของผู้ป่วย รวมถึงความขัดแย้งของผู้ป่วยเองกับสิ่งแวดล้อม

หากมีอาการดังกล่าว หรือพบเห็นคนรู้จักที่มีพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ ควรแนะนำให้พบแพทย์โดยด่วน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook