"เบาหวานลงไต" คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

"เบาหวานลงไต" คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

"เบาหวานลงไต" คืออะไร อันตรายแค่ไหน?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรคเบาหวานลงไต (Diabetic Nephropathy หรือ Diabetic Kidney Disease) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่บริเวณไตชนิดรุนแรงของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากกาทำงานที่ผิดปกติของไต จนทำให้ไม่สามารถขับของเสียออกไปได้อย่างเต็มที่

เบาหวานลงไต คืออะไร?

โรคเบาหวานลงไต หรือ อาการเบาหวานลงไต (Diabetic Nephropathy หรือ Diabetic Kidney Disease) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่บริเวณไตชนิดรุนแรงของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่1 (Type 1 diabetes) และ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 diabetes) โดยไตเริ่มมีการทำงานที่หนักจนกระทั่งค่อยๆ ลดประสิทธิภาพในการทำงานลง ซึ่งไตทำหน้าที่สำคัญในการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย

แต่เมื่อไตไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ ของเสียในร่างกายที่ไตกำจัดออกไปไม่หมดก็จะเริ่มส่งผลเสียต่ออวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย หรืออาจกล่าวง่ายๆ ว่าอาการนี้ก็คือ โรคไตจากเบาหวาน นั่นเอง ทั้งนี้เพราะมีอาการของโรคไตหลังจากที่อาการของโรคเบาหวานเกิดภาวะแทรกซ้อน

เบาหวานลงไต พบบ่อยเพียงใด?

อาการเบาหวานลงไต (Diabetic Kidney Disease) จะพบได้ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม


อาการของเบาหวานลงไต

ในระยะเริ่มต้นนั้นอาการของโรคไตจากเบาหวาน หรือ อาการเบาหวานลงไต จะยังไม่แสดงออกมากนักในระยะเริ่มต้น แต่ผ่านไปสักระยะผู้ป่วยที่มีอาการของโรคเบาหวานจะเริ่มแสดงอาการ ดังต่อไปนี้

  • การควบคุมความดันโลหิตของร่างกายแย่ลง
  • ปัสสาวะมีโปรตีน
  • มีอาการบวมที่ข้อเท้า ข้อมือ หรือดวงตา
  • ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
  • ร่างกายขาดอินซูลิน
  • มีอาการมึนงง หรือขาดสมาธิ
  • หายใจถี่
  • ไม่ค่อยเจริญอาหาร
  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • มีอาการคัน
  • ร่างกายเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย

อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่างๆ โปรดปรึกษาแพทย์


ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ


สาเหตุของอาการเบาหวานลงไต

สาเหตุของ อาการเบาหวานลงไต หรือโรคไตจากเบาหวานนั้นค่อนข้างที่จะมีความซับซ้อน แต่มีความเป็นไปได้ว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงระบบการไหลเวียนของเลือดที่บริเวณกระจุกเลือดฝอย หรือ โกลเมอรูลัส (Glomerulus) ซึ่งทำหน้าที่สำคัญในการกรองของเสียในขั้นต้นของหน่วยไต และเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นที่หน่วยไต กระบวนการขับของเสียที่ไตจึงทำหน้าที่ได้ไม่เต็มที่ ของเสียที่บริเวณไตจึงเริ่มส่งผลเสียต่ออวัยวะอื่นๆ


ปัจจัยเสี่ยงของอาการเบาหวานลงไต

อาการเบาหวานลงไต หรือโรคไตจากเบาหวาน สามารถพบได้ทั้งในผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รวมถึงปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ดังนี้

  • ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ในระดับที่ไม่สามารถควบคุมได้
  • ความดันโลหิตสูง ในระดับที่ไม่สามารถควบคุมได้
  • ผู้ที่สูบบุหรี่
  • ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
  • สมาชิกในครอบครัวมีประวัติป่วยด้วยโรคเบาหวานลงไต


การวินิจฉัยและการรักษาอาการเบาหวานลงไต 

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยอาการเบาหวานลงไต

มีการทดสอบหลายประการที่สามารถใช้เพื่อวินิจฉัย อาการเบาหวานลงไต หรือโรคไตจากเบาหวาน ได้แก่

  • การตรวจเลือด โดยจะตรวจหาเคมีในเลือดที่จะนำมาใช้เพื่อตรวจดูความเสียหายของไต
  • การตรวจปัสสาวะ เพื่อตรวจดูค่าโปรตีนในปัสสาวะ การรักษาอาการเบาหวานลงไต

สำหรับการลดความเสี่ยงของการเป็นโรคไตจากเบาหวาน หรือ อาการเบาหวานลงไต นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องลดความดันโลหิต และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ แต่สำหรับอาการเบาหวานลงไตนั้น อาจจำเป็นต้องทำการรักษาด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้

รักษาด้วยการใช้ยา SGLT2 inhibitors ซึ่งเป็นยารักษาโรคเบาหวาน ทำหน้าที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด รักษาด้วยการใช้ยาในกลุ่ม Angiotensin converting enzyme หรือ ACE inhibitors ซึ่งเป็นกลุ่มตัวยาที่ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูงสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน รักษาด้วยการใช้ยาในกลุ่ม Angiotensin receptor blockers หรือ ARBs ที่ให้ผลในลักษณะเดียวกับยาในกลุ่ม ACE inhibitors การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

 
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ และการเยียวยาตัวเอง เพื่อรับมือกับอาการเบาหวานลงไต

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยให้คุณรับมือกับ อาการเบาหวานลงไต หรือ โรคไตจากเบาหวาน ได้

  • เลิกสูบบุหรี่ เพราะสารในบุหรี่จะมีผลทำให้สุขภาพไตเสียหาย
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพราะการออกกำลังกายเป็นประจำมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน
  • สำหรับผู้ป่วยด้วยโรคไต หรือโรคเบาหวาน ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และเภสัชกรในเรื่องของการใช้ยา โดยเฉพาะยาที่มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวด เช่น แอสไพริน หรือไอบูโพรเฟน ควรรับประทานยาตามที่แพทย์และเภสัชกรสั่ง ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง

หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์ เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณได้ดีขึ้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook