สัมภาษณ์ “ดร.ทินภา หิมะทองคำ” รองประธานกรรมการ เทพธารินทร์ โกลโบล เครือ โรงพยาบาล เทพธารินทร์ ปรับตัวอย่างไรในภาวะ โควิด-19

สัมภาษณ์ “ดร.ทินภา หิมะทองคำ” รองประธานกรรมการ เทพธารินทร์ โกลโบล เครือ โรงพยาบาล เทพธารินทร์ ปรับตัวอย่างไรในภาวะ โควิด-19

สัมภาษณ์ “ดร.ทินภา หิมะทองคำ” รองประธานกรรมการ เทพธารินทร์ โกลโบล เครือ โรงพยาบาล เทพธารินทร์ ปรับตัวอย่างไรในภาวะ โควิด-19
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากสถานการณ์ที่ไวรัสระบาด “โควิด-19” ทำให้ เศรษฐกิจ ธุรกิจ หยุดชะงัก ในช่วงนี้คำว่า “ความปกติใหม่” (new normal) เป็นคำที่ได้รับความสนใจในวงกว้าง และมีคนจำนวนมากร่วมกันจินตนาการต่อ “โลกหลังโควิด” (post-Covid world) โดย ดร.ทินภา หิมะทองคำ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสายงานการตลาดและสื่อสารองค์กร โรงพยาบาลเทพธารินทร์ ผู้มีประสบการณ์ มาพูดคุย ตอบคำถาม ในเรื่องนี้

ดร.ทินภา หิมะทองคำ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสายงานการตลาดและสื่อสารองค์กร โรงพยาบาลเทพธารินทร์ดร.ทินภา หิมะทองคำ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสายงานการตลาดและสื่อสารองค์กร โรงพยาบาลเทพธารินทร์

โลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเมื่อคลายล็อค

แม้ว่าธุรกิจต่างๆจะเริ่มกลับมาให้บริการหลังจากอุบัติการณ์เคสโควิดใหม่ในประเทศไทยมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่โลกจะไม่มีวันเหมือนเดิมดังเช่นคำพูดที่ติดปากหลายคนกันตอนนี้คือ ​new normal หรือความปกติใหม่ มีหลายๆสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากเหตุการณ์เปลี่ยนโลกครั้งนี้

สำคัญที่สุดคือการปรับตัว เมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยน วิถีชีวิตคนเปลี่ยน ธุรกิจต้องปรับตัวให้สนองความต้องการปัจจุบันซึ่งเหตุการณ์โควิดเป็นเหมือนตัวช้อค ตัวกระตุ้นให้คนรีบปรับตัว ปรับ business model หลายๆธุรกิจลำบากเพราะคนไม่ออกจากบ้านมาจับจ่ายเหมือนเดิม แต่ในขณะเดียวกันธุรกิจกลุ่ม delivery ไม่ว่าจะเป็นการส่งของ ส่งข้าว ส่งน้ำ หรือการส่งบริการที่จำเป็นไปที่บ้าน เช่นการฉีดวัคซีน ทำแผล ปรึกษาแพทย์ผ่านวีดีโอคอล

ธุรกิจต้องปรับตัวอย่างไร

การปรับตัวเป็นคุณสมบัติที่จำเป็นในการอยู่รอด โดยเฉพาะในสถานการณ์เช่นนี้ องค์กรต่างๆ ต้องสร้าง resilience ให้เป็นส่วนหนึ่งของแก่นองค์กร Charles Darwin นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษผู้คิด theory natural selection พบว่าสัตว์ทีสูญพันธุ์เกิดจากการล้มเหลวที่จะปรับตัวในโลกที่เปลี่ยนไป สัตว์ที่อยู่รอดได้ไม่ใช่สัตว์แข็งแรงที่สุด ฉลาดที่สุด ไวที่สุด หรือใหญ่ที่สุด แต่เป็นสัตว์ที่ปรับตัวได้ไวที่สุด

ทฤษฎีนี้ยังใช้ได้เสมอ ทำก่อนได้ก่อน แน่นอนว่าคนเร็วกว่าได้เปรียบ องกรค์ที่จะสามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ต้องมีความไว รวมทีมคนวางแผน ไม่ว่าจะเป็นการปรับการทำธุรกิจ ปรับ product ปรับ skills พนักงาน จำนวนวันทำงาน หรือแม้กระทั่งจำนวนพนักงาน โรงงานเย็บเสื้อผ้า หันมาเย็บหน้ากาก โรงพยาบาลหันมาทำ telemed ร้านอาหารต่างๆ เปิดช่องทางการส่งอาหารถึงบ้าน และในระยะนี้ที่เริ่มผ่อนคลายให้เปิดบริการนั่งภายในร้านได้แล้ว ร้านต่างๆ ก็ต้องงัดกลยุทธทางการตลาด จัดโปรโมชั่นและมีสิ่งดึงดูดให้คนเข้ามาทานในร้าน แม้จะไม่ได้นั่งคุยสังสรรค์กันอย่างใกล้ชิดเหมือนเดิม

บริษัทที่ไม่สามารถทำงานได้เลย เช่น บริษัทรับจัดอีเว้นท์ ก็มีที่หันมาทำธุรกิจฉีดพ่นฆ่าเชื้อตามสถานที่ต่างๆ จับมือกับ business partner ต่างๆ และโรงพยาบาลเทพธารินทร์ก็เป็นหนึ่งในพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งการพ่นฆ่าเชื้อนั้นเป็น product ใหม่ เกิดขึ้นเพราะสถานการณ์โควิด มีความต้องการใหม่ ใครเข้ามาชิงส่วนแบ่งในตลาดก่อน ได้เปรียบ อย่างไรก็ตามความต้องการตรงนี้อาจจะเป็นเพียงแค่ชั่วคราว ธุรกิจต้องวางแผนพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เมื่อความต้องการของบริการส่วนนี้ลดน้อยลง 

จะมีการระบาดระลอกสองหรือไม่

มีแน่นอน จากที่เห็นประเทศต่างๆ ที่เริ่มเปิดพรมแดน เปิดเมือง เปิดโรงเรียน หลังจากระยะล็อคดาวน์ทำให้ตัวเลขเศสอุบัติใหม่ลดลง ทุกที่ไม่ว่าจะเป็นเกาหลี ญี่ปุ่น เยอรมัน ฝรั่งเศส ล้วนเห็นจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มมากขึ้นเป็นระลอกสอง ดังนั้นตราบใดที่เรายังไม่มีวัคซีนป้องกันโควิด เราคาดการได้ว่าจะต้องมีการระบาดซ้ำ อย่างไรก็ตาม โรคหลายๆ โรค เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ ก็มีการระบาดอยู่เรื่อยๆ แม้ว่าจะมีวัคซีนแล้ว สิ่งสำคัญคือ ถ้าจำนวนเคสใหม่ไม่มากจนสาธารณสุขประเทศล่ม ก็ถือว่าเป็นการระบาดที่เราสามารถควบคุมได้ เราสามารถอยู่ร่วมกับมันได้ โดยไม่ต้องหยุดเศรฐกิจ

เราไม่สามารถอยู่กับการล็อคดาวน์จนกว่าจะมีวัคซีนได้ เพราะไม่รู้ว่าวันนั้นจะมาเมื่อไหร่ และคนจะล้มละลายจากพิษเศรฐกิจกันเสียก่อน ในส่วนของโรงพยาบาลเทพธารินทร์ เราเป็นธุรกิจที่มีบทบาทมากกับการรับมือศึกครั้งนี้ แน่นอนว่าเรายังเปิดให้บริการเป็นปกติ แต่เราก็พยายามเพิ่มทางเลือกให้คนไม่ต้องออกจากบ้าน เช่น การส่งยาไปที่บ้าน มีทั้งในและนอกประเทศ คนไข้ต่างชาติเราก็พยายามส่งยาให้เค้า แม้จะมีอุปสรรคบ้างในการส่งข้ามชายแดนในช่วงไวรัสระบาด เรามีบริการทำแผล ดูแลเท้าเบาหวาน เจาะเลือด ฉีดวัคซีนถึงบ้าน โดยผู้ให้บริการทุกคนได้รับการอบรมการป้องกันการแพร่เชื้อ และปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง นอกจากนี้คนที่ต้องการเข้ามาใช้บริการที่โรงพยาบาล เราก็ได้เตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่ มีจุดคัดกรอง และทำความสะอาดพื้นที่สำคัญด้วยแสง UV ฆ่าเชื้อ และเรากำลังจะติดตั้งเครื่องฉีดพ่นเท้าตรงประตูทางเข้าเพื่อทำความสะอาดส่วนที่เชื้อโรคสะสมมากที่สุด นั่นก็คือรองเท้า

คนทั่วไปเรียนรู้อะไรจากโควิด

ที่สำคัญสถานการณ์โควิดทำให้เราได้ตระหนักว่าสุขภาพเป็นส่ิงสำคัญที่สุด มีเงินมากเท่าไหร่ก็ซื้อสุขภาพไม่ได้ โควิดไม่เลือกฐานันดร ไม่ว่าจะจบ ป. 6 หรือ ปริญญาเอกจากเมืองนอก จะยากดีมีจน ทุกคนมีโอกาสติดเชื้อโควิดเหมือนกันหมด และคนที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน และโรคหัวใจ หรือผู้สูงอายุ มีอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่าคนทั่วไปถึงประมาณ 5 เท่าตัวหากติดเชื้อตัวนี้

ในขณะที่ความรู้ทางการแพทย์เกี่ยวกับเชื้อโควิด19 ยังมีความไม่กระจ่างในหลายๆ ด้าน การเห็นแก่ส่วนรวมและความชัดเจนรอบคอบของนโยบายรัฐมีความสำคัญอย่างยิ่งในการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อ คนที่ไม่มีความเสี่ยงเรื่องอายุและโรคประจำตัว หากเห็นแก่ตัว ไม่คิดว่าโควิดน่ากลัว ออกไปใช้ชีวิตเหมือนเดิม ก็มีโอกาสนำเชื้อมาสู่บ้านและชุมชนของตน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตได้

หลังจากโควิด คนจะมีความตระหนักถึงการให้ความสำคัญกับสุขภาพมากยิ่งขึ้นในทุกๆ การกระทำ ไม่ว่าจะเป็นการไปคอนเสิร์ต ขึ้นรถไฟฟ้า การเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ และการฉีดวัคซีนป้องกันโรค เพราะความเจ็บป่วยไม่เลือกเพศ อายุ ชาติ เงินทองหรือการศึกษา แม้ไวรัสที่ทำเศรฐกิจล่มทั่วโลกได้ วิธีป้องกันที่ดีที่สุดตอนนี้ก็ยังเป็นการล้างมือด้วยสบู่ธรรมดา การรักษาสุขภาพไม่ได้ต้องใช้เงินมากเลยค่ะ แต่ต้องใช้การใส่ใจ เลือกสิ่งดีๆมีประโยชน์ให้กับร่างกาย ไม่ทำร้ายมันด้วยบุหรี่ แอลกอฮอล์ หรือ อาหารที่ไร้ประโยชน์ เพราะการรักษานั้นแพงกว่าการป้องกันมากๆ ดร. ทินภา หิมะทองคำ กล่าว

(Advertorial)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook