"คีโตเจนิค" กินไขมันอย่างไร เพื่อ "ลดน้ำหนัก" ได้ผลและปลอดภัย
Thailand Web Stat

"คีโตเจนิค" กินไขมันอย่างไร เพื่อ "ลดน้ำหนัก" ได้ผลและปลอดภัย

"คีโตเจนิค" กินไขมันอย่างไร เพื่อ "ลดน้ำหนัก" ได้ผลและปลอดภัย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แม้ว่าคีโตเจนิคจะเป็นวิธีกินไขมันเพื่อลดน้ำหนัก แต่ต้องกินให้ครบทั้งกรดไขมันโอเมก้า 3, 6, 9, และกรดไขมันอิ่มตัว และต้องกินให้ถูกวิธี

อาหารคีโตเจนิค หมายถึง อาหารที่มีไขมันสูง มีโปรตีนที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และมีคาร์โบไฮเดรตต่ำ เมื่อกินคาร์โบไฮเดรตน้อย แทนที่ร่างกายจะดึงคาร์โบไฮเดรตไปใช้เป็นพลังงานเหมือนปกติ ร่างกายจึงหันไปดึงพลังงานจากไขมันแทน การกินอาหารแบบคีโตเจนิค มีความเกี่ยวพันธุ์กับระดับน้ำตาลในเลือด เพราะการกินคีโตเจนิคคือการกินอาหารโดยหลีกเลี่ยงแป้ง และน้ำตาล (คาร์โบไฮเดรต) โดยกินไขมันทดแทน เพื่อให้ร่างกายรู้สึกว่าอดอาหาร จึงไปสลายไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกาย โดยไขมันที่ถูกสลายไป เรียกว่า “คีโตน”

การกินไขมันเป็นส่วนสำคัญของการกินคีโตเจนิค ดังนั้นจึงต้องเลือกกินไขมันให้ครบทั้งกรดไขมันโอเมก้า 3, 6, 9, และกรดไขมันอิ่มตัว และต้องกินให้ถูกวิธี เพื่อการลดน้ำหนักอย่างถูกต้อง และปลอดภัย Sanook Health มีคำแนะนำจาก อาจารย์ ดร.กภ.ธวัชชัย ลักเซ้ง กายภาพบำบัดทางระบบประสาท หลักสูตรกายภาพบำบัด สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มาฝากกัน

สรุปการกินไขมันในผู้ที่ลดน้ำหนักแบบคีโตเจนิค

สารอาหารที่ให้พลังงาน

สารอาหารที่ให้พลังงานมี 3 ชนิด คือ

  • คาร์โบไฮเดรต (หน่วยย่อยสุดคือกลูโคส) ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี ต่อกรัม

  • โปรตีน (หน่วยย่อยสุดคือกรดอะมิโน) ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี ต่อกรัม

  • ไขมัน (หน่วยย่อยสุดคือกรดไขมันและกลีเซอรอล) ให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี ต่อกรัม


กรดไขมันแบ่งตามความต้องการของร่างกาย ได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  • กรดไขมันจำเป็น (สร้างเองไม่ได้ ต้องได้รับจากอาหาร) ประกอบด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 และ กรดไขมันโอเมก้า 6

  • กรดไขมันไม่จำเป็น (สร้างได้เอง) ประกอบด้วยกรดไขมันโอเมก้า 9 และ กรดไขมันอิ่มตัว


กรดไขมันแบ่งตามความอิ่มตัวของกรดไขมัน ได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ คือ กรดไขมันอิ่มตัว และกรดไขมันไม่อิ่มตัว

  • กรดไขมันอิ่มตัว ได้มาจากไขมันที่มาจากสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว

  • กรดไขมันไม่อิ่มตัว แบ่งเป็น กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนและเชิงเดี่ยว

    • กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ประกอบด้วย กรดไขมันโอเมก้า 3 และ กรดไขมันโอเมก้า 6

    • กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ประกอบด้วย กรดไขมันโอเมก้า 9

Advertisement

กรดไขมันโอเมก้า 3

  • เป็นกรดไขมันจำเป็น พบในอาหารทะเล กุ้ง หอย ปู ปลา โดยเฉพาะปลาแซลมอนจะมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ค่อนข้างมาก นอกจากนี้ยังเจอในพืชด้วย เช่น เมล็ดเจีย เมล็ดแฟลกซ์

  • กรดไขมันโอเมก้า 3 มี 3 ชนิด คือ ALA(สารตั้งต้น) EPA และ DHA

  • ความสำคัญในคนกินคีโตเจนิค: ต้านการอักเสบ โดยต้านการทำงานของโอเมก้า 6

  • สิ่งที่ต้องระวัง คือ

    • คนไข้ที่ทานยาแอสไพรินเป็นประจำ เช่น คนไข้อัมพาตครึ่งซีกที่มีสาเหตุมาจากเส้นเลือดสมองอุดตัน

    • คนที่ทานยาวาร์ฟาริน เช่น คนไข้ที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

    • คนไข้ข้างต้นถ้ากินโอเมก้า 3 มาก จะทำให้เลือดหยุดยากมาก อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

กรดไขมันโอเมก้า 6

  • เป็นกรดไขมันจำเป็น พบในน้ำมันพืชทั่วไป เมล็ดดอกทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว

  • ความสำคัญในคนกินคีโตเจนิค: ควรลดปริมาณการทานลงเนื่องจากจะเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยต้านการทำงานของโอเมก้า 3 ทำให้เลือดหยุดไหลเร็ว และเกิดลิ่มเลือดได้ง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุของเส้นเลือดสมองอุดตัน ถ้ากินในปริมาณมาก

  • เนื่องจากเป็นกรดไขมันจำเป็นต่อร่างกาย ร่างกายยังต้องการอยู่ แต่ได้รับมากไปก็เกิดผลเสีย จึงแนะนำให้กินโอเมก้า 6 ต่อโอเมก้า 3 ในสัดส่วน 4:1 ถึง 1:1

กรดไขมันโอเมก้า 9

  • กรดไขมันไม่จำเป็น พบมากในน้ำมันมะกอก น้ำมันอะโวคาโด ถั่วเปลือกแข็งเมล็ดเดี่ยว เช่น อัลมอนด์ พิสทาชิโอ้ แมคคาเดเมีย

  • ความสำคัญในคนกินคีโตเจนิค: แนะนำให้ทานมากที่สุด โดยทานให้ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของโควต้าไขมันที่ควรได้รับต่อวันทั้งหมด

กรดไขมันอิ่มตัว

  • พบมากในไขมันจากสัตว์ เช่น หนังไก่ หนังหมู เนื้อสัตว์ติดมัน น้ำมันหมู น้ำมันไก่ น้ำมันวัว เนย ชีส วิปครีม

  • พบมากในไขมันจากผลิตภัณฑ์มะพร้าว เช่น เนื้อมะพร้าว กะทิ น้ำมันมะพร้าว

  • ความสำคัญในคนกินคีโตเจนิค: ควรลดปริมาณการทานลงเนื่องจากจะเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มการอักเสบของหลอดเลือด โดยกินได้ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ (หรือน้อยกว่า) ของโควตาไขมันที่ควรได้รับต่อวันทั้งหมด

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
kookkak

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบน
เว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้