"คำพูดต้องห้าม" ที่ไม่ควรพูดกับคนที่เป็นโรค "วิตกกังวล"

"คำพูดต้องห้าม" ที่ไม่ควรพูดกับคนที่เป็นโรค "วิตกกังวล"

"คำพูดต้องห้าม" ที่ไม่ควรพูดกับคนที่เป็นโรค "วิตกกังวล"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) เป็นโรคทางจิตเวชที่เกิดจากสารเคมีในสมองไม่เท่ากัน ผู้ที่เป็นมักมีอาการที่ต่างกันไป แต่สิ่งหนึ่งที่พวกเขาเหมือนกันคือ ต้องการกำลังใจจากคนรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นจากการกระทำ หรือคำพูด แต่รู้หรือไม่ว่า ผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลนอกจากมักมี ความวิตกกังวล แล้วยังมีความอ่อนไหวต่อคำพูดบางอย่าง แล้ว คำพูดต้องห้าม ที่ไม่ควรพูดกับคนเป็นโรควิตกกังวลมีอะไรบ้าง Hello คุณหมอ นำมาฝากกัน

คำพูดต้องห้าม สำหรับผู้ที่เป็นโรควิตกกังวล

แม้ผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลมักจะต้องการได้กำลังใจจากคนรอบข้าง แต่ก็มีบางคำพูดที่ทำให้พวกเขารู้สึกอึดอัดขึ้นมาได้ ลองมาดูกันว่า คำพูดต้องห้าม เหล่านั้นมีอะไรบ้าง

  • "ทำไมคุณเงียบๆ"

แม้คำถามอาจจะดูเหมือนไม่มีอะไร แต่มันไม่สามารถพูดกับผู้ป่วยที่เป็นโรควิตกกังวลได้ เพราะการถามว่า “ทำไมคุณเงียบ” มันเหมือนบ่งบอกว่าคุณกำลังให้ความสนใจไปที่ความกังวลใจของพวกเขา และพวกเขาก็ไม่มีวิธีที่ดีในการตอบคำถามนี้อย่างแน่นอน

ดังนั้น ถ้าคุณต้องการเริ่มบทสนทนาจริงๆ ลองใช้คำถามปลายเปิดเกี่ยวกับหัวข้อที่บุคคลนั้นชื่นชอบ หรือพยายามแบ่งปันเรื่องราวตลกๆ จะดีกว่า

  • "ไม่ต้องกังวล"

ความกังวลนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายแบบตั้งแต่แบบเล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง บางความกังวลสามารถส่งผลต่อตัวบุคคลก็มี การพยายามปลอบใจผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลจึงไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก เพราะพวกเขาไม่สามารถละทิ้งความรู้สึกเหล่านี้ไปได้

หากคุณอยากปลอบใจเขาจริงๆ เพียงคุณบอกว่าคุณมาที่นี่เพื่อพวกเขา แล้วบอกให้พวกเขาได้รู้ว่า ถ้าเขาไม่อยากพูดถึงเรื่องที่เกิดขึ้นก็ไม่เป็นไร โดยไม่ต้องพยายามเสนอวิธีแก้ไขปัญหา หรืออย่าคาดหวังให้พวกเขาเลิกมี ความวิตกกังวล อย่างรวดเร็ว

  • "หยุดนะ"

คำว่า “หยุดนะ” จะทำให้ผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลรู้สึกเสียขวัญ หรือคิดว่าพวกเขากำลังอยู่ในอันตราย และต้องหาวิธีอยู่รอดเสียมากกว่า เพราะช่วงที่พวกเขากำลังวิตกกังวล มันมักจะทำให้พวกเขาคิดหาทางต่อสู้ หรือการเอาตัวรอด นอกจากนั้น สมองของพวกเขายังไม่สามารถคิดได้อย่างมีเหตุผลอีกด้วย

  • "คุณแค่ต้องคิดในแง่บวก"

มันเป็นเรื่องยากที่จะบอกให้คนที่มีอาการป่วยทางจิตคิดในแง่บวกได้ เนื่องจากพวกเขากำลังคิดจะหาทางเอาชนะกับสิ่งที่เกิดขึ้น แม้ว่าคุณคิดว่าคำแนะนำของคุณอาจจะมีประโยชน์ แต่มันก็อาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้

  • "คุณแค่ต้องเผชิญหน้ากับความกลัว"

ความคิดนี้มักจะควบคู่ไปกับการคิดเชิงบวก แม้ว่าคนที่เป็นโรควิตกกังวลจะต้องเผชิญกับความกลัวของพวกเขา แต่มันจะต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วยการดูแลอย่างมืออาชีพ ไม่เช่นนั้น ความวิตกกังวล จะทวีความรุนแรงมากขึ้นไปอีกแทนที่จะลดลง

  • "อย่าไปคิดถึงมันเลย ลืมมันซะ"

หากการที่จะอย่าไปคิดสิ่งที่เกิดขึ้น หรือลืมเรื่องราวที่ผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลกำลังคิดอยู่มันเป็นเรื่องง่าย พวกเขาคงสามารถเอาชนะพวกมันไปได้แล้ว ถ้าคุณอยากจะช่วยเขาจริงๆ การไปถามเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวว่า ตอนนี้พวกเขารู้สึกอย่างไร เกิดอะไรขึ้น แล้วปกติพวกเขาจะทำอะไรเพื่อให้ตนเองสบายใจ จะเป็นทางออกที่ดีกว่า

  • "คุณไม่เป็นไร"

ในขณะที่ผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลกำลังรู้สึกไม่สบายใจ แล้วคุณมาพูดว่า “คุณไม่เป็นไร” มันจะยิ่งทำให้พวกเขาตื่นตระหนก และรู้สึกเจ็บปวดเป็นอย่างมาก จนพวกเขาอาจจะไม่สามารถควบคุมปฏิกิริยาของตนเองได้ หากคุณพูดเช่นนี้พวกเขาจะยิ่งปกปิดอาการที่เกิดขึ้นเพื่อไม่เห็นคุณรู้

  • "คุณจะทำให้ตัวเองป่วยนะ"

แน่นอนว่าความเครียด สามารถทำให้เกิด ความวิตกกังวล และทำให้ฮอร์โมนส่งผลต่อลำไส้ หรือความดันโลหิตได้ แต่สิ่งเหล่านี้จะยิ่งเกิดขึ้นได้ง่ายถ้าคุณบอกกับพวกเขาว่า “คุณจะทำให้ตัวเองป่วย” เพื่อทำให้พวกเขาหยุดความคิดวิตกกังวล และมันอาจจะทำให้พวกเขายิ่งรู้สึกวิตกกังวลมากขึ้นไปอีก

ฉะนั้น อย่าใช้ความเครียดของคุณมาเป็นกลยุทธ์ในการทำให้พวกเขาเลิกวิตกกังวล เพราะนั่นจะยิ่งเป็นการสะกิดความรู้สึกของพวกเขา

  • "ขอแค่ผ่อนคลาย"

คำว่า “ขอแค่ผ่อนคลาย” ภายนอกมันอาจจะดูเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ง่าย แต่อาการของโรควิตกกังวลนั้นไม่สามารถผ่อนคลายได้เลย ดังนั้น การที่คุณจะบอกคนที่เป็นโรควิตกกังวลให้ผ่อนคลาย ก็เหมือนกับการบอกให้คนที่เป็นหวัดว่าอย่าจาม

การใช้คำพูดนี้ ควรอยู่ในช่วงเวลาที่คุณและเขากำลังสนุกด้วยกัน แล้วจึงค่อยพูดประโยคนี้ขึ้นมา เพื่อให้พวกเขาตระหนักว่า ความวิตกกังวล ของพวกเขาสามารถหายไปได้ ไม่ใช่ว่าพวกเขาจะต้องวิตกกังวลไปอย่างไม่มีกำหนด

  • "ใจเย็นๆ"

การบอกให้ผู้ที่มีความวิตกกังวล “ใจเย็นๆ” มันไม่ได้ช่วยให้พวกเขารู้สึกสงบลง แต่มันจะยิ่งทำให้พวกเขารู้สึกเจ็บปวด แถมมันยังทำให้ดูเหมือนว่าจริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องง่ายที่จะเอาชนะกับความวิตกกังวล ที่เกิดขึ้น

ความเจ็บป่วยทางจิตนั้นไม่ใช่ทางเลือก เพราะไม่มีใครเลือกได้ว่าระดับความวิตกกังวลของตนเองนั้นจะมากหรือน้อยขนาดไหน ยิ่งคุณพูดว่า “ใจเย็นๆ” มันจะยิ่งทำให้พวกเขารู้สึกหงุดหงิดมากขึ้นกับความรู้สึกของพวกเขา

  • "บางทีคุณควรหยุดคิดมาก"

การพูดว่า “บางทีคุณควรหยุดคิดมาก” มันไม่ได้ทำให้ผู้ที่มีโรควิตกกังวลหยุดคิดมากได้ แต่มันจะยิ่งทำให้พวกเขาคิดมากมากขึ้นไปอีก การช่วยพวกเขาที่ดีที่สุดก็คือ การทำให้พวกเขาหันมาสนใจสิ่งอื่น

  • "มันไม่ใช่เรื่องใหญ่เลย"

ผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลส่วนใหญ่ มักจะรู้ว่าบางความคิดของพวกเขาไม่มีเหตุผลและไม่ได้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แต่เมื่อ ความวิตกกังวล มันยังวนเวียนอยู่ในหัว มันจึงกลายเป็นเรื่องใหญ่และใช้เวลาคิดเรื่องที่เกิดขึ้นนานกว่าคนทั่วไป การช่วยเหลือพวกเขาที่ดีที่สุดก็คือ การตอบสนองที่ทำให้เห็นว่าคุณเป็นห่วงพวกเขาจริงๆ

  • "ทำไมคุณถึงวิตกกังวลมาก"

การพูดคุยเกี่ยวกับคำถามที่ยากจะหาคำตอบได้บางครั้งก็ไม่ใช่เรื่องที่ดี เรื่องเหล่านี้บางคนอาจจะระบุแหล่งที่มาในความทุกข์ของบางช่วงได้ แต่บางครั้งก็อาจจะเกิดขึ้นโดยที่ไม่มีเหตุผลที่ชัดเจน การพยายามอธิบายให้คนอื่นเข้าใจว่าทำไมถึงมี ความวิตกกังวล นั้นถือเป็นเรื่องที่ยาก

แท้จริงแล้ว ในบางครั้งผู้ที่กำลังมีความวิตกกังวลก็เพียงต้องการใครบางคนรับฟังและคอยอยู่ข้างๆ พวกเขา โดยที่ไม่ต้องทำหรือพูดอะไรเลย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook