รู่จัก "มะเร็งกล่องเสียง" สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง อาการ และวิธีรักษา

รู่จัก "มะเร็งกล่องเสียง" สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง อาการ และวิธีรักษา

รู่จัก "มะเร็งกล่องเสียง" สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง อาการ และวิธีรักษา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

มะเร็งกล่องเสียง (Laryngeal Cancer) เกิดจากเซลล์มะเร็งก่อตัวในเนื้อเยื่อบริเวณกล่องเสียง โดยปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของการเกิดมะเร็งกล่องเสียง คือการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

มะเร็งกล่องเสียง  (Laryngeal Cancer) คืออะไร?

มะเร็งกล่องเสียง (Laryngeal Cancer)  เป็นโรคที่พบได้ยาก เกิดจากเซลล์มะเร็งก่อตัวในเนื้อเยื่อบริเวณกล่องเสียง โดยปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของการเกิดมะเร็งกล่องเสียง คือการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  ผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งกล่องเสียงส่วนใหญ่ จะมีอาการเสียงแหบ หายใจลำบาก ไอ เจ็บคอ คอบวม ปวดหู เป็นต้น


ใครเสี่ยงมะเร็งกล่องเสียงบ้าง?

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งกล่องเสียง จะพบได้บ่อยในเพศชายมากกว่าเพศหญิงถึง 4 เท่า โดยส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 40 ปี ขึ้นไป


อาการของมะเร็งกล่องเสียง

ลักษณะอาการของมะเร็งกล่องเสียงโดยทั่วไป มีดังนี้

  • เสียงแหบ
  • หายลำบาก
  • ไอ หรือไอเป็นเลือด
  • ปวดคอ
  • เจ็บคอ
  • ปวดหู
  • กลืนอาหารลำบาก
  • คอบวม
  • น้ำหนักลดลง

อาการดังกล่าวข้างต้นนี้อาจไม่ใช่อาการของโรคมะเร็งกล่องเสียงเสมอไป หากพบว่าตนเองมีอาการต่อเนื่องนานเกิน 1 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการวินิจฉัยโรคและรับการรักษา


ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ


สาเหตุของมะเร็งกล่องเสียง

สาเหตุที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกล่องเสียง มีดังต่อไปนี้

  • การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก

  • รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์

  • ปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน

  • การสัมผัสกับสารเคมีบางชนิด เช่น แร่ใยหิน

  • โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ (Fanconi Anemia)

  • สมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งกล่องเสียง

  • การติดเชื้อเอชพีวี (Human Papilloma Virus : HPV)


ปัจจัยเสี่ยงของอาการมะเร็งกล่องเสียง

เพศชายที่มีอายุมากกว่า 40 ปี มีพฤติกรรมสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกล่องเสียง รวมถึงผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง และรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย


การวินิจฉัยและการรักษามะเร็งกล่องเสียง 

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยมะเร็งกล่องเสียง

แพทย์จะการตรวจสอบบริเวณคอและลำคอ ดูภายในบริเวณช่องปาก รวมถึง แก้ม และริมฝีปาก เพื่อตรวจชิ้นเนื้อ (Biopsy) นำไปหาเซลล์มะเร็ง โดยการใช้กล้องจุลทรรศน์ตรวจในกล่องเสียงด้วยแสงและเลนส์ (Laryngoscopy) สอดท่อบางๆ เข้าไปในรูจมูกของคุณ (พ่นยาชา)

นอกจากนี้ยังมีวิธีการวินิจฉัยต่างๆ เช่น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computerized Tomography : CT Scan) หรือ การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging : MRI)

การรักษามะเร็งกล่องเสียง

วิธีการรักษานั้นขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็ง  ในปัจจุบันได้มีการทำการฉายรังสีและเคมีบำบัด หรือการผ่าตัดตามด้วยการฉายรังสี โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้

  • การฉายรังสี โดยการใช้แสงที่มีพลังงานสูงในการกำจัดเชื้อมะเร็ง ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับว่ามะเร็งของคุณจะแพร่กระจายไปไกลแค่ไหน

  • การทำเคมีบำบัด โดยการใช้ยาเคมีเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งหรือยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็ง

  • การผ่าตัด วิธีการนี้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาโรคมะเร็งกล่องเสียง แพทย์จะทำการผ่าตัดเซลล์มะเร็งที่ได้รับผลกระทบต่อกล่องเสียงออก


วิธีลดเสี่ยงมะเร็งกล่องเสียง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรับมือมะเร็งกล่องเสียงมีวิธี ดังนี้

ในการป้องกัน ทำได้ด้วยการลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดมะเร็งกล่องเสียง โดยการรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ควรปฏิบัติได้ตามแนวทางดังต่อไปนี้

  • หากคุณสูบบุหรี่ควรลดปริมาณการสูบบุหรี่ลง หรือหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ หรือดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะ

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook