ความแตกต่างของ "แมงดาถ้วย" และ "แมงดาจาน" พร้อมวิธีสังเกตแบบไหนปลอดภัย

ความแตกต่างของ "แมงดาถ้วย" และ "แมงดาจาน" พร้อมวิธีสังเกตแบบไหนปลอดภัย

ความแตกต่างของ "แมงดาถ้วย" และ "แมงดาจาน" พร้อมวิธีสังเกตแบบไหนปลอดภัย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“แมงดา” เป็นสัตว์ที่คนไทยนิยมนำมารับประทาน โดยเฉพาะส่วนของ “ไข่แมงดา” ที่นำมาปรุงอาหารรสแซ่บถึงใจ จนเป็นหนึ่งในเมนูที่หลายคนต้องถามหาตามร้านอาหาร หรือแม้กระทั่งซื้อไปปรุงอาหารเองที่บ้าน แต่แมงดาไม่ได้มีชนิดเดียว และมีชนิดที่รับประทานได้ และรับประทานไม่ได้ เพราะมีพิษอยู่ด้วย ดังนั้นอาจเป็นอันตรายหากสังเกตได้ไม่ดีพอ

แมงดาทะเลแบบไหนมีพิษ

ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี ระบุว่า แมงดาทะเลในประเทศไทยมีอยู่ 2 ชนิด คือ 

  1. แมงดาถ้วย หรือ แมงดาไฟ หรือเห-รา (Carcinoscorpius rotundicauda ) แมงดาชนิดนี้เป็นแมงดาที่มีพิษที่เรียกว่าสาร tetrodotoxin

  2. แมงดาจาน (Tachypleus gigas) แมงดาชนิดนี้เป็นแมงดาที่ไม่มีพิษ ชาวบ้านนำมาทำเป็นอาหาร 

ความแตกต่างของแมงดาถ้วย และแมงดาจาน

โดยทั่วไปสามารถแยกแมงดาทั้ง 2 ชนิดได้ โดยลักษณะภายนอกคือ แมงดาถ้วยตัวจะเล็กกว่า ขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 18 เซ็นติเมตร ลักษณะหางจะกลมและเรียบ ส่วนแมงดาจานตัวจะโตกว่าขนาดเต็มที่อาจโตถึง 30 เซ็นติเมตร ลักษณะเฉพาะคือ ส่วนหางถ้าดูหน้าตัด หางจะเป็นสามเหลี่ยม มุมด้านบนของสามเหลี่ยมจะเป็นรอยหยักชัดเจน ในการ ระบาดของการเป็นพิษจากการรับประทานไข่แมงดาทะเลในปี 2538 นี้ ผู้ป่วยทั้งหมดมี อาการชาตามปาก แขนขา  แล้วตามด้วยอาการอัมพาต ผู้ป่วยที่เสียชีวิตเกิดจากการหยุดหายใจเนื่องจาก กล้ามเนื้อหายใจไม่ทำงาน ความแตกต่างของแมงดาถ้วย และแมงดาจานความแตกต่างของแมงดาถ้วย และแมงดาจาน

อาการเมื่อได้รับพิษจากแมงดาถ้วย

อาการเป็นพิษมักเกิดขึ้นภายหลังรับประทานแมงดาทะเลประมาณ 10-45 นาที หรืออาจช้าไปจนถึง 3 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับชนิดและแหล่งที่อยู่ของแมงดาทะเล ฤดูกาล จำนวนที่รับประทาน หรือปริมาณของสารพิษที่ได้รับ เช่นรับประทาน ไข่แมงดา อาการพิษจะเกิดรุนแรงกว่ารับประทานเฉพาะเนื้อ อาการมักเริ่มจากมึนงง รู้สึกชา บริเวณลิ้น ปาก ปลายมือ ปลายเท้าและมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง เริ่มจาก มือ แขน ขา ตามลำดับ รวมทั้งอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย บางรายอาจมีน้ำลายฟูมปาก เหงื่อออกมาก พูดลำบาก ตามองเห็นภาพไม่ชัด ในรายที่มีอาการรุนแรงมาก จะมีผลทำให้กล้าม เนื้อหายใจอ่อนแรง ผู้ป่วยอาจตายภายใน 6-24 ชั่วโมง จากการหยุดหายใจ

แมงดาทะเลหางกลม ห้ามรับประทาน

ข้อมูลการทดสอบความเป็นพิษเบื้องต้น พบว่า แมงดาถ้วยที่พบในประเทศไทย บางตัวมีพิษ บางตัวไม่มีพิษ โดยทั่วไปพบว่ามีพิษประมาณ 30 % แต่ไม่สามารถแยกตัวที่มีพิษกับตัวที่ไม่มีพิษจากลักษณะภายนอกได้ จากการสอบถามผู้ป่วย ส่วนใหญ่รับประทานแมงดาถ้วย สาเหตุที่รับประทานแมงดาถ้วย เพราะความเชื่อผิดๆ ของ ชาวบ้านว่า ตัวเห-รามีพิษ แต่แมงดาถ้วยไม่มีพิษ

ดังนั้น แม้ว่าจะมีการอ้างว่าเป็นแมงดาถ้วย แต่หากพบว่ามีหางกลม ก็ไม่ควรเสี่ยงรับประทาน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook