กิน "เค็ม" อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เรา "อ้วน"

กิน "เค็ม" อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เรา "อ้วน"

กิน "เค็ม" อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เรา "อ้วน"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นอกจากแป้งและน้ำตาลแล้ว เชื่อหรือไม่ว่าการกินเค็มก็อาจนำพาเราไปสู่จุดที่เป็นโรคอ้วนได้เหมือนกัน 

รสเค็ม = อ้วนขึ้นได้

จากข้อมูลของ เครือข่ายคนไทยไร้พุง ของ สสส. หรือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ระบุว่า “รสเค็มเป็นรสที่ส่งผลต่อการกินมากที่สุด รสชาติเค็มเปรียบเหมือนยาเสพติดโดยเร่งการผลิตโดปามีน ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองส่งผลต่ออารมณ์ความพึงพอใจ ความสุข ทำให้เกิดความรู้สึกอยากอาหาร เมื่อติดรสชาติเค็มแล้วหากไม่ได้รสชาติเค็มก็จะรู้สึกว่าอาหารไม่อร่อย รู้สึกหงุดหงิด อารมณ์เสีย นอกจากนี้ผู้ที่ติดรสชาติเค็มเพียงแค่นึกถึงอาหารที่มีรสชาติเค็มก็สามารถทำให้เกิดความรู้หิวและอยากอาหารขึ้นมา จึงเป็นสาเหตุให้ผู้ที่ชอบกินเค็มอาจจะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนได้ง่ายกว่าผู้ที่ไม่ชอบกินเค็ม เนื่องมาจากพอความรู้สึกอยากอาหารมากขึ้น กินก็มากขึ้น โอกาสการได้รับพลังงานที่มาจากอาหารก็จะมากขึ้นตามไปด้วย”


อันตรายจากการกินเค็ม

ผู้ที่ชอบกินอาหารเค็มจะเสี่ยงต่อการได้รับปริมาณเกลือมากเกินไป ซึ่งคือการไม่ได้สัดส่วนของเกลือและน้ำในร่างกายส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของระดับความดันโลหิต ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง นอกจากนี้การได้รับโซเดียมสูงในระยะยาวยังเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะกระดูกผุ และโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร การที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการชอบรับประทานเค็มอาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่หากเริ่มจากทีละขั้นตอนช้าๆเพื่อให้ร่างกายได้ปรับเปลี่ยนและเกิดความเคยชินจะทำให้ได้ผลในระยะยาวที่ดีกว่า


เช็กลิสต์ คุณเป็นคน “ติดเค็ม” หรือเปล่า?

  • ชอบกินอาหารแปรรูป เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมกรุบกรอบ ไส้กรอก หมูเค็ม เนื้อเค็ม อาหารดองต่างๆ
  • มีอาการคอแห้ง หิวน้ำ ปวดศีรษะ หงุดหงิดง่าย ความดันโลหิตสูง และหากได้รับการตรวจเลือดอาจพบค่าโซเดียมในเลือดสูงมากกว่า 145 mmol/L
  • ท้องป่อง หน้าบวม แขนบวม เพราะบวมจากเกลือในร่างกาย ที่ทำให้เกิดการกักน้ำในร่างกายเพื่อใช้ในการละลายความเข้มข้นของโซเดียมที่สูงขึ้น
  • เมื่อนึกถึงอาหารที่มีรสชาติเค็มจะมีน้ำลายผลิตออกมาในปาก และอยากอาหารขึ้นมา
  • ติดรับประทานอาหารรสจัด
  • เติมเครื่องปรุงรสเค็ม เช่น น้ำปลา ซีอิ๊ว ก่อนลองชิมอาหาร


วิธีลดอาการ “ติดเค็ม”

  1. ลองลดการปรุงอาหารลงครึ่งหนึ่งจากที่เคยปรุงตามปกติ และค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ จนลิ้นคุ้นชินรสชาติอ่อนๆ
  2. ปรุงอาหารโดยใช้เครื่องเทศอื่นๆ ช่วยเพิ่มรสชาติ และกลิ่นของอาหาร เช่น พริกไทย รากผักชี กระเทียม
  3. เลือกรับประทานอาหารสดมากกว่าอาหารแปรรูป
  4. เลือกรับประทานอาหาร และเครื่องปรุงที่มีปริมาณโซเดียมต่ำ โดยสังเกตได้จากฉลากข้างผลิตภัณฑ์ หรือที่มีข้อความกำกับว่า Low Sodium
  5. ดื่มน้ำเปล่าแทนการดื่มน้ำผลไม้ เพราะน้ำผลไม้บางแห่งเติมเกลือเพื่อเพิ่มรสชาติเค็มให้สมดุลกับความเปรี้ยว
  6. สั่งอาหารที่ร้านอาหารตามสั่งโดยย้ำกับแม่ค้าว่า ปรุงรสอ่อนๆ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook