10 ประโยชน์ของมังคุด ราชินีผลไม้ ต้านมะเร็งลำไส้-ต่อมลูกหมาก

10 ประโยชน์ของมังคุด ราชินีผลไม้ ต้านมะเร็งลำไส้-ต่อมลูกหมาก

10 ประโยชน์ของมังคุด ราชินีผลไม้ ต้านมะเร็งลำไส้-ต่อมลูกหมาก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“มังคุด” เป็นผลไม้ที่คนไทยคุ้นเคยและอาจเป็นของโปรดของหลายคนอยู่แล้ว ยิ่งเมื่อได้ทราบว่ามังคุดอุดมไปด้วยสารอาหารและวิตามินมากขนาดไหน คำว่า "ราชินีผลไม้แห่งเอเชีย" และ "อาหารของเหล่าทวยเทพ" ในเขตแคริบเบียนของฝรั่งเศส คงไม่ใช่คำเปรียบเปรยที่เกินเลย เพราะในมังคุดลูกเล็กๆ นี้มีสารอาหารมากมายที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ประโยชน์ของมังคุด มีดังนี้

  1. มังคุดมีวิตามินซีที่ช่วยย่นระยะเวลาในการเป็นไข้หวัดให้หายเร็วขึ้น เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับร่างกาย และลดความเสี่ยงโรคลักปิดลักเปิด (เลือดออกตามไรฟัน)
  2. มังคุดมีวิตามินบีคอมเพล็กซ์ (บี 1 ไนอะซิน) ที่ช่วยในการเผาผลาญพลังงาน และช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น
  3. มังคุดมีโฟเลตที่ดีต่อหญิงตั้งครรภ์ เพราะช่วยป้องกันการพิการแต่กำเนิดในทารก ช่วยในการสร้างน้ำนมของมารดาหลังคลอด และยังช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจอีกด้วย
  4. มังคุดมีใยอาหารจำนวนมาก ที่ช่วยการทำงานของระบบขับถ่าย และลดความเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวกับลำไส้ต่างๆ
  5. งานวิจัยพบว่า สารสกัดจากมังคุดมีฤทธิ์ต้านการลุกลามของมะเร็งลำไส้และมะเร็งต่อมลูกหมาก 
  6. เปลือกมังคุดก็ยังอุดมไปด้วยสารพฤกษเคมีแซนโทน (Xanthone) จึงมักมีผลิตภัณฑ์ที่สกัดจากเปลือกมังคุดผสมอยู่ในอาหารและเครื่องดื่มเสริมสุขภาพ 
  7. มังคุดมีสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยต้านการอักเสบ
  8. มังคุดเป็นผลไม้ที่มีแคลอรี่ต่ำและมีใยอาหาร เหมาะกับการลดน้ำหนัก 
  9. มังคุดช่วยผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง ช่วยเพิ่มเม็ดเลือดแดงได้ จึงเหมาะสำหรับคนที่เป็นโรคโลหิตจาง
  10. มังคุด มีสรรพคุณในการรักษาโรคเหงือกอักเสบ แก้โรคเหงือก 

ข้อควรระวังในการรับประทานมังคุด

มีบางคนเคยได้ยินว่าให้รับประทานมังคุด นึ่งเพื่อเป็นยารักษาโรคต่างๆ โดยเป็นการนำเอาสารอาหารจากเปลือกมังคุดให้แทรกซึมเข้าไปในเนื้อมังคุดมากขึ้น และอันที่จริงแล้วหากรับประทานสารสกัดเปลือกมังคุดในขนาดสูง อาจมีกระทบต่อการทำงานของตับและไตได้ นอกจากนี้อาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของสารสกัดจากเปลือกมังคุดยังอาจส่งผลต่อการทำงานของตับและไตได้เช่นกัน ดังนั้นผู้ที่มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคตับ ไต รวมถึงเบาหวาน และโรคอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานอาหารเสริมจากมังคุด

ส่วนมังคุดสด ไม่ควรรับประทานมากจนเกินไป ควรสลับรับประทานกับผลไม้ และอาหารอื่นๆ เพื่อให้ได้สารอาหารที่หลากหลาย และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook