จริงหรือไม่? กินผัก "ไฮโดรโปนิกส์" อาจเสี่ยง "มะเร็ง"?
Thailand Web Stat

จริงหรือไม่? กินผัก "ไฮโดรโปนิกส์" อาจเสี่ยง "มะเร็ง"?

จริงหรือไม่? กินผัก "ไฮโดรโปนิกส์" อาจเสี่ยง "มะเร็ง"?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผักไฮโดรโปนิกส์ เป็นที่นิยมในหมู่คนรักสุขภาพ เพราะเป็นผักที่ปลูกในน้ำที่มีธาตุอาหารพืชละลายอยู่ หรือ การปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหารพืชทดแทน นอกจากจะประหยัดพื้นที่ในการปลูกแล้ว ยังลดความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารเคมีต่างๆ ที่ตกค้างอยู่ในดินที่เพาะปลูกได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลที่เผยแพร่ในโลกออนไลน์ว่า ผักไฮโดรโปนิกส์ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งได้ จึงทำให้ผู้ที่รับประทานผักไฮโดรโปนิกส์เป็นกังวลถึงความปลอดภัยของผักไฮโดรโปนิกส์มากมาย


ผักไฮโดรโปนิกส์ เสี่ยงมะเร็ง?

นพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่มีการส่งต่อข้อความผ่านสื่อโซเชียลมีเดียในลักษณะ “บริโภคผักไฮโดรโปนิกส์เสี่ยงเป็นมะเร็ง โดยงานวิจัยเมื่อ 3 ปีที่แล้วโรงพยาบาลใหญ่ 5 แห่งใน กทม. วิจัยสาเหตุมะเร็งเพิ่มขึ้น 300% เกิดจากกินผักไฮโดรโปนิกส์ เพราะตัว P (ฟอสฟอรัส) มากเกินขนาดเป็นสาเหตุเกิดมะเร็งเต้านม” ซึ่ง อย. ได้ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวแล้ว พบว่าข้อความที่ถูกส่งต่อนั้นมีการส่งต่อวนกลับมาเป็นระยะ ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด

ปัจจุบันยังไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ หรือมีงานวิจัยทั้งในประเทศและระดับนานาชาติยืนยันว่า ฟอสฟอรัสเชื่อมโยงกับการเกิดโรคมะเร็งเต้านม รวมถึงยังไม่มีการยืนยันว่าสารไนเตรทที่พบอยู่ตามธรรมชาติในอาหาร ซึ่งถูกเปลี่ยนเป็นไนไตรด์ในระบบการย่อยอาหารทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง สำหรับความกังวลเรื่องปริมาณสารไนเตรทในผักไฮโดรโปนิกส์ปริมาณสูง เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งนั้น ความเป็นจริงไนเตรทเป็นสารที่พบได้ทั้งผักที่ปลูกในดินและผักไฮโดรโปนิกส์ ถ้าพืชมีการเจริญเติบโตและสังเคราะห์แสงที่เป็นปกติ โอกาสที่จะเกิดการสะสมไนเตรทจนถึงระดับที่ไม่ปลอดภัยต่อการบริโภคจึงมีน้อยมาก นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ไม่เคยเสนอคณะกรรมการอาหารพิจารณาในประเด็นดังกล่าว เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลบ่งชี้ที่แน่ชัด

Advertisement


ผักไฮโดรโปนิกส์ไม่ใช่ผักออร์แกนิก

อย่างไรก็ตาม ผักไฮโดรโปนิกส์ไม่ใช่ผักออร์แกนิก ดังนั้น จึงสามารถใช้สารเคมีในการเพาะปลูกได้ แต่ต้องปฏิบัติตามหลักทางการเกษตร และมีปริมาณสารพิษตกค้างรวมทั้งสารปนเปื้อนไม่เกินปริมาณตามที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขกําหนด


วิธีลดไนเตรทในผัก

หากกังวลเรื่องปริมาณไนเตรท สามารถทำตามเคล็ดลับเหล่านี้ได้

  1. ลดปริมาณไนเตรทในผัก ด้วยวิธีนึ่งหรือต้มผักเป็นเวลา 10 นาที
  2. นำผักแช่ในน้ำสารละลายด่างทับทิมและน้ำเกลือ ช่วยลดปริมาณไนเตรทได้เช่นกัน
  3. ไม่ควรกินผักหรือผลไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นประจำ ควรกินให้หลากหลายหมุนเวียนกันไป หรือบริโภคผักผลไม้ตามฤดูกาลและบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อลดความเสี่ยงในการรับพิษสะสม
  4. ควรเลือกซื้อผักที่ได้รับตรารับรองคุณภาพ GAP, GMP หรือตรารับรองเกษตรอินทรีย์ เพื่อความปลอดภัย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
kookkak

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบน
เว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้