กินเนื้อสัตว์มากเกินไป เสี่ยง "มะเร็ง" จริงหรือ?

กินเนื้อสัตว์มากเกินไป เสี่ยง "มะเร็ง" จริงหรือ?

กินเนื้อสัตว์มากเกินไป เสี่ยง "มะเร็ง" จริงหรือ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แม้ว่าในปัจจุบันเราจะยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แท้จริงของโรคมะเร็งได้ แต่เราสามารถระบุถึงปัจจัยที่จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งได้ และหนึ่งในสาเหตุที่หลายคนอาจเคยได้ยินคือ “เนื้อสัตว์” แต่จะเป็นเนื้อสัตว์จริงหรือไม่ หรือเป็นเนื้อสัตว์ประเภทใด Sanook Health มีคำตอบจาก อ. ดร.วนะพร ทองโฉม นักวิชาการโภชนาการ กลุ่มสาขาวิชาโภชนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จากรายการ Rama Health Talk มาฝากกัน

 
เนื้อสัตว์ เพิ่มเสี่ยงโรคมะเร็ง?

เนื้อสัตว์สามารถเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งได้จริง โดยประเภทของเนื้อสัตว์ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งให้กับเราได้ ได้แก่

  • เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก กุนเชียง เบคอน แฮม ฯลฯ เพราะมีสารไนไตรท์/ไนเตรท รวมถึงเกลือ ที่จะก่อให้เกิดสารก่อมะเร็งไนโตรซามีน โดยเฉพาะเพื่อนำมาประกอบอาหารที่ผ่านความร้อนสูง เช่น ปิ้ง ย่าง ก็จะยิ่งเกิดสารก่อมะเร็งสูงเพิ่มมากขึ้นไปด้วย

  • เนื้อแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อสัตว์ใหญ่ มีความเป็นไปได้ว่าจะก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้บ้าง แต่ยังไม่มีหลักฐานชัดเจน จากงานวิจัยบางส่วนพบว่า ส่วนของเนื้อแดงที่ติดหนัง ติดมัน และผ่านความร้อนสูงในการปรุง เช่น ปิ้ง ย่าง อาจมีส่วนที่ทำให้เกิดมะเร็งได้

 
อาหารอื่นๆ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งได้

อาหารให้พลังงานสูง (ในปริมาณไม่มาก) เช่น แป้งจากขนมปังในแฮมเบอร์เกอร์ แป้งพิซซ่า แป้งในอาหารทอดต่างๆ ทำให้เราได้รับไขมันอิ่มตัวเยอะ อาจทำให้เสี่ยงภาวะน้ำหนักเกิน และอาจนำไปสู่ความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งได้ด้วย นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบสืบพันธุ์ ระบบทางเดินอาหาร และระบบในร่างกายอื่นๆ ได้อีกด้วย

 
วิธีกินเนื้อสัตว์ให้ปลอดภัยจากโรคมะเร็ง

  1. หากอยากรับประทานเนื้อแดง ควรรับประทานไม่เกิน 500 กรัมใน 1 สัปดาห์ หรือ 70-75 กรัมต่อวัน หรือประมาณ 5 ช้อนกินข้าว

  2. ไม่ควรทำอาหารปรุงเนื้อแดงด้วยความร้อนสูง เช่น ปิ้ง ย่าง จนก่อให้เกิดส่วนที่ไหม้เกรียม

  3. สลับรับประทานเนื้อแดงกับเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ อาหารทะเล หรือแหล่งโปรตีนอื่นๆ เช่น เต้าหู้ เป็นต้น

  4. กินเนื้อแดงควบคู่ไปกับผักผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ มะเขือเทศ ส้ม มะนาว ฝรั่ง แครอท มะละกอสุก เป็นต้น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook