"ผมร่วง" อาการใหม่ที่พบได้ในผู้ป่วย "โควิด-19"

"ผมร่วง" อาการใหม่ที่พบได้ในผู้ป่วย "โควิด-19"

"ผมร่วง" อาการใหม่ที่พบได้ในผู้ป่วย "โควิด-19"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นอกจากอาการมีไข้ ไอแห้งๆ เจ็บคอ หายใจเหนื่อยหอบ รวมถึงอาการเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น ท้องเสีย สูญเสียการรับรู้รส ตาแดง ตาแห้ง ผิวหนังผิดปกติ ฯลฯ ล่าสุดมีอาการเพิ่มเติมที่อาจพบได้ในผู้ป่วยบางราย นั่นคือ “ผมร่วง”

ดร.เอสเธอร์ ฟรีแมน ผู้อำนวยการศูนย์ Dermatology COVID-19 Registry ที่เก็บข้อมูลของผู้ป่วยกว่า 1,000 รายใน 38 ประเทศทั่วโลก ระบุว่า อาการผมร่วงอาจพบได้ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 ในระยะกำลังฟื้นฟูสภาพร่างกาย (recovery period)

อันที่จริงแล้ว อาการผมร่วงหลังจากการติดเชื้อไวรัสไม่ใช่อาการแปลกใหม่แต่อย่างใด นพ.อาเมช เอ. อาดาลจา นักวิชาการจากสถาบัน Johns Hopkins for Health Security ในรัฐแมรี่แลนด์ ระบุกับเว็บไซต์ Health.com ว่า ว่า อาการผมร่วงเป็นกลไกทางร่างกายที่เรียกว่า ภาวะที่ผมร่วงจากที่มีเหตุมากระตุ้น (telogen effluvium)

“หลังจากได้รับความเครียดทางร่างกายแล้ว อาจมีสภาพที่กระทบต่อระยะวงจรการเจริญเติบโตของเส้นผมได้ เรียกว่า ภาวะที่ผมร่วงจากที่มีเหตุมากระตุ้น (telogen effluvium) ซึ่งสามารถพบเห็นได้ในผู้ป่วยในหลายๆ โรค เช่น ไข้มาลาเรีย หรือวัณโรค”

ภาวะที่ผมร่วงจากที่มีเหตุมากระตุ้น อาจพบได้หลังจากที่ผู้ป่วยฟื้นฟูร่างกายจากโรคติดเชื้อต่างๆ ในระยะเวลา 3 เดือน และสามารถพบได้ทั้งในผู้ป่วยชาย และหญิง

นอกจากนี้ นพ. แองเจโล แลนดริซซินา แพทย์ผิวหนัง ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า อาการผมร่วงยังพบได้ในทุกคนที่อยู่ในภาวะตึงเครียด ไม่จำเป็นต้องป่วยเสมอไป แต่ยังพบได้ในผู้ที่เข้ารับการผ่าตัด หรือผู้ที่อยู่ในสภาวะตึงเครียดทางจิตใจมากๆ เช่น ผู้ที่สูญเสียบุคคลที่รักไป ไม่ใช่ภาวะเครียดธรรมดาทั่วไป

อย่างไรก็ตาม ยังไม่หลักฐานทางการแพทย์ที่แน่ชัดยืนยันว่า อาการผมร่วง เป็นหนึ่งในสัญญาณ หรืออาการของผู้ป่วยโควิด-19 เพียงแต่ภาวะเครียด รวมถึงภาวะที่ผมร่วงจากที่มีเหตุมากระตุ้น (telogen effluvium) อาจพบได้ในผู้ป่วยโควิด-19 บางกลุ่มเท่านั้น

นพ. แองเจโล กล่าวเพิ่มเติมว่า “ผู้ป่วยโควิด-19 หลายคนอาจมีอาการหนัก ทั้งมีไข้สูง และอาการอื่นๆ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะผมร่วงจากที่มีเหตุมากระตุ้นได้ เพราะเมื่อเราอยู่ในภาวะเครียด ฮอร์โมนคอร์ติซอลอาจส่งผลต่อการทำงานของโครงสร้างผมได้”

นอกจากนี้ ภาวะตึงเตรียดจากบาดแผลติดเชื้อทางร่างกาย ก็อาจส่งผลให้เกิดภาวะผมร่วงจากที่มีเหตุมากระตุ้นได้เช่นกัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook