ไวรัสซิก้า (Zika) เริ่มระบาดทั่วทวีปอเมริกา เตือนสตรีมีครรภ์เสี่ยงทารกพิการแต่กำเนิด

ไวรัสซิก้า (Zika) เริ่มระบาดทั่วทวีปอเมริกา เตือนสตรีมีครรภ์เสี่ยงทารกพิการแต่กำเนิด

ไวรัสซิก้า (Zika) เริ่มระบาดทั่วทวีปอเมริกา เตือนสตรีมีครรภ์เสี่ยงทารกพิการแต่กำเนิด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เริ่มจะไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เสียแล้ว เมื่อรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเตือนประชาชนอย่างจริงจังว่า ประชาชนโดยเฉพาะสตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศที่กำลังมีไวรัสซิก้า (Zika) ระบาด เนื่องจากพบว่าหากหญิงมีครรภ์ติดเชื้อไวรัสซิก้า อาจส่งผลให้เด็กในครรภ์พิการตั้งแต่กำเนิด มีขนาดของศีรษะเล็กผิดปกติได้


โดยประเทศที่ควรหลีกเลี่ยงในช่วงนี้ คือ บราซิล โคลอมเบีย เอลซัลวาดอร์ เฟรนช์เกียนา กัวเตมาลา เฮติ ฮอนดูรัส มาร์ตีนิก เม็กซิโก ปานามา ปารากวัย ซูรินาเม เวเนซุเอลา และเครือรัฐเปอร์โตริโก

ไวรัสซิก้า (Zika) แพร่เชื้ออย่างไร?

1. มียุงลายเป็นพาหะ เช่นเดียวกับไข้เลือดออก และชิกุนคุนยา หลังจากได้รับเชื้อแล้วจะเชื้อจะมีระยะฟักตัว 4-7 วันในมนุษย์ และ 10 วันในยุง

2. จากมารดาสู่บุตรในครรภ์

อาการของผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสซิก้า (Zika)

1. มีไข้ต่ำๆ ไม่เกิน 38.5 องศาเซลเซียส

2. มีผื่นแดงตามร่างกาย

3. ปวดตา ตาแดง

4. อาจปวดศีรษะ และปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อต่างๆ ได้


หากติดเชื้อไวรัสซิก้าแล้ว ควรปฏิบัติตัวอย่างไร?

- พักผ่อนให้มากขึ้น

- ดื่มน้ำมากๆ ป้องกันอาการขาดน้ำ

- หากอยากลดไข้ ให้ทานยาพาราเซตามอล ไม่ควรทานยากลุ่มแอสไพริน เนื่องจากเชื้อไวรัสซิก้า จัดอยู่ในกลุ่มประเภทของอาการไข้ที่แสดงอาการผื่นแดงเหมือนไข้เลือดออก อาจส่งผลกระทบต่อระบบโลหิตได้


จะเห็นได้ว่าถึงแม้เชื้อไวรัสซิก้า (Zika) จะเป็นอาการที่ไม่รุนแรง ไม่ได้ส่งผลถึงชีวิต แต่อย่างไรก็เป็นโรคติดต่อที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน และไม่มียารักษาโดยเฉพาะ ได้แต่รักษาตามอาการเช่นเดียวกับไข้เลือดออก และหญิงมีครรภ์มีสิทธิ์ที่จะส่งผลกระทบต่อลูกน้อยด้วย ดังนั้นอย่าให้โดนยุงกัด ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงรอบบ้าน และไม่ไปสถานที่ที่คาดว่าจะมียุงชุม เช่น ในป่า ข้างหนองน้ำ พื้นที่ร้อนชื้น เป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุดค่ะ


ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานควบคุมและป้องกันโรคติดต่อสหรัฐฯ (CDC) และ มติชนออนไลน์
ภาพจาก istockphoto

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook