“ยาม่วง” หรือ “เจนเชี่ยนไวโอเล็ต” อันตราย เสี่ยง “มะเร็ง” หรือไม่?

“ยาม่วง” หรือ “เจนเชี่ยนไวโอเล็ต” อันตราย เสี่ยง “มะเร็ง” หรือไม่?

“ยาม่วง” หรือ “เจนเชี่ยนไวโอเล็ต” อันตราย เสี่ยง “มะเร็ง” หรือไม่?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“ยาม่วง” ชื่อเล่นของ “เจนเชี่ยนไวโอเล็ต” เป็นยาที่ใช้กันมาตั้งแต่โบราณกาล เป็นหนึ่งในยาสามัญประจำบ้านที่ผู้ปกครองมักนำมาใช้กับแผลภายในปากของเด็กเล็ก แต่เมื่อเวลาผ่านไป มีข้อมูลเพิ่มเติมว่ายาม่วงอาจไม่ได้ปลอดภัยในการใช้กับสุขภาพของเรามากเท่าที่เราคิด


“เจนเชี่ยนไวโอเล็ต” อันตราย เสี่ยงมะเร็งหรือไม่?

เฟซบุ๊กเพจ หมอเด็ก และเพจ คลินิกหมาแมว - สันป่าตอง ระบุว่า ยาม่วงที่นำมาใช้กวาดลิ้น รักษาโรคเชื้อราในช่องปากของเด็กที่เราใช้กันมานานนั้น มีงานวิจัยในสัตว์พบว่า หลังจากใช้ยาม่วงไประยะหนึ่งแล้ว ยานี้ส่งผลให้สัตว์เป็นมะเร็งได้ นอกจากนี้ การใช้ยาม่วงป้ายแผลในช่องปากยังทำให้เยื่อบุผิวในช่องปากระคายเคือง  ยิ่งทำให้น้องหมาน้องแมวไม่อยากกินอาหารขึ้นไปอีก

อย่างไรก็ตาม สำหรับอันตรายที่เกิดขึ้นกับคน เฟซบุ๊กเพจ เลี้ยงลูกตามใจหมอ ระบุว่า ยาม่วง หรือเจนเชียนไวโอเล็ต สามารถใช้ได้ตามคำแนะนำปกติตามข้อบ่งชี้ ยังไม่มีข้อมูลพบความเชื่อมโยงระหว่างการใช้เจนเชียลไวโอเล็ตกับการเกิดโรคมะเร็งในมนุษย์ ข้อมูลว่าเป็นสารก่อมะเร็งเป็นการทดลองในสัตว์ โดยเฉพาะหนูที่ได้รับเจนเชียลไวโอเล็ตใน “ขนาดสูง” พบว่าเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับชนิด Hepatocellular carcinoma และมะเร็งต่อมไทรอยด์​ 

ดังนั้นสำหรับในคน ยังปลอดภัยต่อร่างกาย สามารถใช้ได้ตามปกติ ตราบใดที่ยังใช้ในปริมาณน้อยตามข้อบ่งชี้ข้างขวด และอย่าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ หากใช้ยาม่วงแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางรักษาที่ได้ผลดีมากกว่าเดิมจะดีกว่า


แต่… ทางการแพทย์ ใช้เจนเชี่ยนไวโอเล็ต “น้อยลง” จริง

ปัจจุบันทางการแพทย์รวมถึงในไทย ไม่ได้ใช้ยาม่วงกันบ่อยเท่าสมัยก่อน เพราะมียาฆ่าเชื้อราในปากที่มีประสิทธิภาพดีให้ใช้ เช่น ยา Nystatin oral suspension โดยหยอดกระพุ้งแก้มวันละ 4 ครั้ง 5-10 วัน ส่วนแผลร้อนในหรือแผลที่ผิวหนัง เรามีวิธีดูแลความสะอาดทำแผลใช้ยาฆ่าเชื้ออย่างเหมาะสม

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ยาม่วง หรือเจนเชี่ยนไวโอเล็ต ควรงดใช้กับสัตว์ สำหรับในคน ใครที่ความกังวลสามารถเลี่ยงไปใช้ยาอื่นในท้องตลาดทดแทนได้ แต่จริงๆ แล้วสามารถใช้ได้เป็นครั้งคราวตามข้อบ่งชี้ข้างผลิตภัณฑ์ แต่ไม่ควรใช้ในปริมาณมากๆ ติดต่อกันนานๆ หากอาการที่เป็นอยู่ไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อหาวิธี และยารักษาที่ให้ประสิทธิภาพในการรักษาได้ดีกว่า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook