ถ้าเป็นห่วงคนที่บ้าน ระวังอันตรายจากควันบุหรี่ ทั้งไปไกล ทั้งทะลุทะลวง

ถ้าเป็นห่วงคนที่บ้าน ระวังอันตรายจากควันบุหรี่ ทั้งไปไกล ทั้งทะลุทะลวง

ถ้าเป็นห่วงคนที่บ้าน ระวังอันตรายจากควันบุหรี่ ทั้งไปไกล ทั้งทะลุทะลวง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อเทียบกับสังคมไทยในอดีตที่ยังไม่มีข้อกำหนดเรื่องการสูบบุหรี่ คนไทยเคยสูบบุหรี่ในโรงภาพยนตร์ หรือแม้แต่ในโรงพยาบาลได้ แต่เมื่อคนไทยเข้าใจอันตรายของบุหรี่มากขึ้น ทำให้เกิดการจำกัดพื้นที่สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ ขณะที่ชีวิตประจำวันก็มีการถ้อยทีถ้อยอาศัย โดยคนสูบบุหรี่ยอมออกไปสูบให้ไกลจากคนอื่นมากขึ้น เช่น ผู้ใหญ่ในบ้านที่เป็นห่วงลูกหลานก็ยอมออกไปสูบนอกห้อง หรือหน้าบ้าน เพราะคิดว่า การทำแบบนี้จะช่วยป้องกันให้คนอื่นในบ้านปลอดภัย แต่หารู้ไม่ว่า พิษภัยของบุหรี่เป็นสิ่งที่เหนือความคาดหมายของทั้งคนสูบ และคนรอบข้าง

ในปี 2562 โรงพยาบาลรามาธิบดีเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยเด็กที่มาฉีดวัคซีนจำนวน 75 ราย ที่มีประวัติมีคนในบ้านสูบบุหรี่ พบว่ากว่าร้อยละ 76 มีสารโคตินิน[1]ในปัสสาวะ  สะท้อนให้เห็นว่า เด็กเหล่านี้ยังคงได้รับผลกระทบจากควันบุหรี่ แม้คนในครอบครัวอาจพยายามหลบไปสูบให้ไกลจากเด็กแล้วก็ตาม

สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะคนส่วนใหญ่เข้าใจว่า ระยะปลอดภัยจากควันบุหรี่ ดูได้จากควันที่จางหาย ไม่เห็นควันก็คือปลอดภัยแล้ว หรือการเดินออกไปสูบให้ไกล ไม่ก็ออกไปสูบนอกห้องก็เพียงพอ  ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด

เนื่องจากในทางวิทยาศาสตร์ ควัน คือ  อนุภาคจำนวนมหาศาลที่เกิดจากกระบวนการทางเคมี เช่น การเผาไหม้  มีขนาดอนุภาคเล็กเพียง 5 - 300 นาโนเมตร และเมื่ออนุภาคเหล่านี้กำเนิดขึ้นพร้อมกันมาก ๆ และลอยตัวแบบกระจุกตัวกัน  จะสามารถสะท้อนแสง ทำให้เราเห็นเป็น กลุ่มควัน

แต่อนุภาคเหล่านั้นกระจุกตัวได้ไม่นาน ก่อนจะกระจายตัวไปในอากาศอย่างรวดเร็ว  และเมื่อมันกระจายตัวไปในอากาศ  ความสามารถในการสะท้อนแสงก็จะลดลง ทำให้เราเห็นควันจางลงเรื่อย ๆ  ทั้งที่จำนวนอนุภาคนั้นมีจำนวนเท่าเดิม  ไม่ได้สลายไป นอกจากนี้ควันยังมีความสามารถในการเล็ดลอดแม้แต่ในช่องที่เล็กมาก เช่น ช่องประตูหน้าต่าง หรือแม้แต่พัดลมระบายอากาศ ดังนั้นการออกไปสูบนอกบ้าน หรือ การมองไม่เห็นควันบุหรี่แล้ว ไม่ได้เป็นสิ่งการันตีว่า ตรงนั้นจะไม่มีอนุภาคอันตรายจากบุหรี่หลงเหลืออยู่

จากข้อมูลข้างต้นทำให้เชื่อได้ว่า คนไทยจำนวนมากโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนกำลังเผชิญอันตรายจากบุหรี่โดยไม่รู้ตัว ด้วยเหตุนี้สำนักงานกองทันสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  ซึ่งห่วงใยสุขภาพคนไทยเสมอมา จึงเห็นความจำเป็นในการสร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องนี้ ผ่านแคมเปญสื่อสารรณรงค์ที่เพิ่งเปิดตัวด้วยคลิป “บุหรี่ไม่มีระยะปลอดภัย” ซึ่งกำลังเป็นที่กล่าวถึงบนโลกออนไลน์ ก่อนจะตามมาด้วยกิจกรรมและสื่ออื่น ๆ อีกหลากหลาย

แม้ทุกคนพยายามป้องกันคนรอบข้างจากอันตรายจากบุหรี่อย่างดีที่สุดแล้ว แต่บุหรี่ต่างหากที่ไม่ยอมให้ใครมาควบคุมได้ง่าย ๆ โดยเฉพาะควันบุหรี่ที่มีระยะอันตรายมากเกินกว่าที่เราคิด ดังนั้นเพื่อตัวคุณเอง เพื่อคนที่คุณรัก...ดีที่สุดคือหยุดสูบ

หากคิดเลิกสูบบุหรี่ แต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร ลองติดต่อ 1600 สายด่วนเลิกบุหรี่ โทรฟรีทุกเครือข่าย

 --------------------------------------------

[1] โคตินินเป็นสารทีมีค่าครึ่งชีวิต (half-life) 16-18 ชั่วโมง ซึ่งยาวนานมากกว่านิโคตินที่มีค่าครึ่งชีวิตโดยเฉลี่ยประมาณ 2-3 ชั่วโมงและจะมีระดับความเข้มข้นในเลือดสูงมากกว่านิโคติน 10-15 เท่า ดังนั้น การตรวจวิเคราะห์ผู้สูบบุหรี่

จึงนิยมใช้การตรวจวัดปริมาณโคตินินในเลือด

 

[Advertorial]

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook