"ผู้สูงอายุ" จำเป็นต้องกิน "อาหารเสริม" หรือไม่?

"ผู้สูงอายุ" จำเป็นต้องกิน "อาหารเสริม" หรือไม่?

"ผู้สูงอายุ" จำเป็นต้องกิน "อาหารเสริม" หรือไม่?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“อาหารเสริม” ขึ้นชื่อว่าเป็นอาหารที่เสริมเพิ่มเติมขึ้นมาจากอาหารปกติ ที่เราต้องกินอาหารเสริมก็เพื่อทดแทนสารอาหารบางอย่างที่เราอาจจะขาด หรือได้รับไม่เพียงพอจากอาหารมื้อปกติที่เรากินอยู่ทุกวัน รวมถึงในบางคนที่ร่างกายผิดปกติจนทำให้เราได้รับสารอาหารบางอย่างน้อยกว่าคนธรรมดาที่มีสุขภาพร่างกายปกติ

แต่สำหรับ “ผู้สูงอายุ” หลายท่านอาจมีความกังวลว่า เมื่อสุขภาพแย่ลงเรื่อยๆ ไปตามกาลเวลา ผู้สูงอายุจำเป็นต้องกินอาหารเสริมด้วยหรือไม่? แม้ว่าเราจะยิ่งแก่ตัวไป สุขภาพก็ย่ำแย่ลงเรื่อยๆ แต่เราจำเป็นต้องกินอาหารเสริมอย่างจริงจังหรือไม่? 


"ผู้สูงอายุ" จำเป็นต้องกิน "อาหารเสริม" หรือไม่?

จากข้อมูลในหนังสือ “มหัศจรรย์อาหารชะลอวัย” ของคุณศัลยา คงสมบูรณ์เวช ระบุว่า แม้อาหารเสริมจะไม่สามารถทดแทนอาหารหลักที่ต้องบริโภคในชีวิตประจำวัน แต่สำหรับผู้สูงอายุที่ประสิทธิภาพในการย่อย และการดูดซึมสารอาหารลดลง การเสริมวิตามินและเกลือแร่ให้เหมาะสมกับสภาวะร่างกายของแต่ละคน นับเป็นความจำเป็นอย่างหนึ่ง

การเสริมวิตามิน และเกลือแร่รวมทำให้มั่นใจว่า ผู้สูงอายุได้รับสารอาหารพื้นฐานที่ร่างกายต้องการครบถ้วน ช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน และลดการติดเชื้อในผู้สูงอายุได้ วิตามินบีรวมซึ่งมีกรดโฟลิก วิตามินบี 6 และวิตามินบี 12 ในปริมาณร้อยเปอร์เซ็นต์ของความต้องการในแต่ละวัน สามารถช่วยลดระดับโฮโมซิสเตอีน (Homocysteine) ในเลือด ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ และเส้นเลือดในสมองตีบ ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุด้วย


ข้อแนะนำควรทราบก่อนกินอาหารเสริม

การเสริมสารอาหารบางอย่าง เช่น วิตามินเอ ธาตุเหล็ก มีข้อควรระวังขึ้นอยู่กับสภาวะร่างกายของแต่ละคน การกินอาหารเสริมของผู้สูงอายุจึงควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์จะดีที่สุด


ผู้สูงอายุควรกินอาหารอย่างไร เพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรง

ข้อแนะนำในการกินอาหารที่ผู้สูงอายุควรทำ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง คือ

  1. กินอาหารให้เป็นเวลาสม่ำเสมอ ไม่งดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง
  2. กินอาหารหลากหลาย ไม่จำเจ
  3. กินอาหารมื้อเล็กๆ เพื่อลดปัญหาอาหารไม่ย่อย
  4. กินอาหารว่างระหว่างมื้อ เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานเพียงพอ
  5. กินอาหารอ่อน เคี้ยวง่าย กลืนง่าย โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีฟัน หรือใส่ฟันปลอม
  6. ลดอาหารเค็มจัด เพื่อป้องกันความดันโลหิตสูง และบวมน้ำ
  7. ลดอาหารทอดกรอบ และของมัน เช่น กะทิ เนยเทียม เนยขาว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook