วิธีแก้อาการ "คันเครา" ความลำบากของคุณผู้ชาย

วิธีแก้อาการ "คันเครา" ความลำบากของคุณผู้ชาย

วิธีแก้อาการ "คันเครา" ความลำบากของคุณผู้ชาย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

มีผู้ชายหลายๆ คนที่มักจะชอบไว้เครา จัดแต่งให้สวยงาม และดูแลความสะอาดอยู่เสมอ เนื่องจากการไว้เคราถือเป็นการเสริมสร้างบุคลิกภาพในอีกรูปแบบหนึ่ง แต่แม้จะรักษาความสะอาดมากขนาดไหน อาการคันเครา ก็มักจะเกิดขึ้นได้เสมอ แล้วถ้าหากเหล่าคุณผู้ชายเกิดอาการคันเครา จะต้องจัดการอย่างไรดี ทาง Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน

อาการคันเครา เกิดจากอะไร?

ไม่ว่าคุณจะมีหนวดเคราขึ้นเป็นครั้งแรก หรือมีหนวดเครามานานแล้วหลายปีก็เป็นเรื่องปกติที่เมื่อมีขนขึ้นบนใบหน้าแล้วจะเกิดอาการคัน อาการคันที่เกิดขึ้นบางครั้งอาจจะไม่รุนแรงและบางครั้งคุณแทบจะไม่สังเกตเห็นเลยด้วยซ้ำ แต่อาการคันเคราสามารถทำให้คุณต้องตื่นมากลางดึก หรือทำให้เสียสมาธิได้

เคราที่ขึ้นบนใบหน้านั้นไม่เหมือนกับผมบนศีรษะ เครามีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “ผมแอนโดรเจน (Androgenic Hair)” เนื่องจากมันมีการเจริญเติบโตมาจากฮอร์โมนเพศชาย เมื่อฮอร์โมนเพศชายมากขึ้นก็จะทำให้เส้นขนเหล่านี้เจริญเติบโตและหนาขึ้นด้วย ด้วยเหตุนี้คุณจึงต้องดูแลเคราให้ดี แต่การดูแลเครานั้นจะมีวิธีการดูแลแตกต่างจากขนอื่นๆ บนร่างกาย

นอกจากนั้นยังมีสาเหตุบางอย่างที่อาจทำให้เกิดอาการคันเครา ซึ่งอาจร้ายแรงและอาจต้องได้รับการรักษา ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการคันเครา ได้แก่

  • ปลูกหนวดบนใบหน้า

กระบวนการปลูกหนวดเคราอาจทำให้เกิดอาการคันได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะการเจริญเติบโตของเส้นผมและรูขุมขนด้วย เมื่อคุณโกนขน ขอบที่แหลมคนก็จะยังคงอยู่ภายในรูขุมขน เมื่อขนยาวขึ้นขอบที่แหลมคม สามารถขูดรูขุมขนและทำให้เกิดอาการคันได้

หากผู้ที่เคยโกนหนวดเคราเป็นประจำ อาจทำให้เกิดการระคายเคืองอย่างกว้างขวางของรูขุมขน ซึ่งส่งผลทำให้รู้สึกไม่สบายตัวและคันมาก

  • ผิวแห้ง

ผิวแห้งหรือที่รียกอีกอย่างว่า “ซีโรซัส (Xerosis)” อาจเกิดจากสภาพอากาศที่แห้ง เย็น หรือการแช่ผิวของคุณในน้ำร้อน โดยพาะอย่างยิ่งในระหว่างการอาบน้ำ สระผม ถูสบู่ ซึ่งความมันนั้นจะถูกชะล้างออกไปตามธรรมชาติ ส่งผลให้ผิวแห้ง และทำให้คันหนวดเคราได้

ผิวแห้งหรือผิวที่หนานั้น อาจเนื่องมาจากโรคผิวหนังอิคไทโอซิส (Ichthyosis) ซึ่งได้แก่ โรคเกล็ดปลา โรคเกล็ดงู ซึ่งเป็นกลุ่มโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม นอกจากนั้นโรคที่สภาพผิวไม่ปกติ เช่น โรคสะเก็ดเงิน และโรคเรื้อนกวางก็ยังสามารถทำให้ผิวของคุณแห้งเป็นประจำ จนส่งผลทำให้เคราของคุณเกิดอาการคันได้

  • ขนคุด

ขนคุดจะเกิดขึ้น เมื่อขนที่โกนหรือตัดออกไปงอกกลับเข้าไปในรูขุมขนแทนที่จะหลุดออก ทำให้รูขุมขนอักเสบและเกิดอาการคัน อาการนี้มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีขนหยิก และผิวตึงได้มาก คุณจะสังเกตเห็นขนคุดได้ก็ต่อเมื่อรูขุมขนเริ่มมีสีแดง เป็นตะปุ่มตะป่ำ คัน และบางครั้งก็เกิดอาการเจ็บปวดบริเวณที่คุณโกนขนด้วย

  • รูขุมขนอักเสบ

รูขุมขนอักเสบ เกิดขึ้นเมื่อรูขุมขนที่มีขนของคุณอักเสบนั่นเอง การอักเสบนี้อาจเกิดจากการติดเชื้อจากแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา หรือปรสิต นอกจากนั้นขนคุดก็ยังเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้รูขุมขนอักเสบได้ เมื่อรูขุมขนของคุณอักเสบที่บริเวณเครา มันจะมีลักษณะเป็นสีแดง เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเจ็บ และอาจกลายเป็นแผลพุพองที่มีหนองได้

  • โรคขนคุดอักเสบ (Pseudofolliculitis Barbae หรือ PFB)

โรคขนคุดอักเสบ คือ การอักเสบที่เกิดขึ้นเมื่อเส้นขนบนใบหน้างอกออกมาจากรูขุมขน แต่มันกลับโค้งกลับเข้าไปในผิวหนัง แทนที่มันจะงอกออกมาให้พ้นผิวหนัง โดยโรคนี้มักจะเกิดขึ้นจากการโกนขนบนใบหน้า และอาจเกิดจากการกระแทกของมีดโกนด้วย

อาการของมีดโกนกระแทกก็เหมือนกับอาการของรูขุมขนอักเสบ โดยใบหน้าของคุณอาจจะมีสีแดง เป็นหลุม อาจอักเสบ และมีตุ่มหนองเกิดขึ้น แต่โรคขนคุดอักเสบนั้นจะเกิดจากการระคายเคืองที่ไม่มีการติดเชื้อใดๆ

  • กลากที่ผิวหนัง (Seborrheic Dermatitis)

กลากผิวหนัง เป็นภาวะผิวหนังท่าสามารถทำให้ผิวหนังของคุณเป็นสะเก็ดแดงและเป็นขุย หรือเรียกอีกอย่างว่า “รังแค” เมื่อมันอยู่บนศีรษะ อาการนี้มักส่งผลกระทบต่อหนังศีรษะของคุณมากที่สุด แต่มันก็สามารถเกิดขึ้นบนใบหน้าของคุณและบริเวณรอบๆ หนวดเคราได้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีผิวมันตามธรรมชาติ อาการที่เกิดขึ้น ได้แก่ เกล็ดสีเหลืองเป็นมัน ผิวหนังสีแดง และสะเก็ดอาจจะหลุดออกมา เมื่อคุณถูกเคราหรือผิวหน้า

  • โรคกลากที่เครา หนวด และลำคอ (Tinea Barbae) 

โรคกลากที่เครา หนวด และลำคอ เป็นเชื้อราที่เกิดขึ้นบริเวณใบหน้า หนวด และลำคอ โดยเกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “เชื้อราเดอมาโตไฟท์ (Dermatophytes)” การติดเชื้อรานี้มักจะปรากฏเป็นสีแดง ผิวหนังอักเสบ และเป็นคราบรอบๆ ปาก แก้ม และใต้คาง คล้ายกับกลากที่หนังศีรษะ (Tinea capitis) โดยเชื้อราที่พบบ่อยที่สุด 2 ประเภทที่ทำให้เคราของคุณคัน ได้แก่

เชื้อรา Mentagrophytes Var. Equinum ซึ่งสามารถแพร่กระจายได้โดยการสัมผัสกับม้าที่ได้รับผลกระทบ เชื้อรา T.Verrucosum ซึ่งสามารถแพร่กระจายได้โดยการสัมผัสกับวัว หรือปศุสัตว์อื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบ วิธีแก้ อาการคันเครา ของผู้ชายไว้เครา

สำหรับวิธีแก้อาการคันเคราก็แสนจะง่ายดาย เพียงแค่คุณปรับเปลี่ยนสุขอนามัยหรือกิจวัตรเกี่ยวกับความสะอาด แต่หากอาการคันเกิดจากภาวะทางการแพทย์ แพทย์อาจจะต้องสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะ นอกจากนั้นก็มีวิธีแก้อาการคันเคราต่างๆ ดังนี้

  • ดูแลใบหน้าให้สะอาด

การล้างเคราและใบหน้าเป็นประจำจะช่วยป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกและแบคทีเรียก่อตัวขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยทำให้มั่นใจได้ว่าผิวจะไม่มันเกินไป ล้างเคราและใบหน้าทุกวันด้วยน้ำอุ่นและน้ำยาทำความสะอาด ความจริงแล้วมีผลิตภัณฑ์เฉพาะสำหรับเคราจำนวนมาก ซึ่งสามารถหาซื้อได้ทั่วไป

  • อาบน้ำบ่อยๆ

พยายามอาบน้ำทุกวันหรือวันเว้นวัน โดยอย่าใช้น้ำที่ร้อนเกินไปและอย่าแช่ตัวในอ่างอาบน้ำ หรือฝักบัวนานเกินไป

  • ปรับสภาพเครา

การปรับสภาพเคราจะทำให้ขนเครานุ่มขึ้นและไม่ค่อยระคายเคืองผิว การใช้โจโจ้บาออยล์ (Jojoba oil)  หรือน้ำมันอาร์แกน (Argan oil) สามารถทำให้เครานุ่มขึ้นได้

  • หลีกเลี่ยงสารเคมี

เมื่อโกนหรือเล็มหนวดเครา พยายามอย่าใช้โฟมล้างหน้าหรือโลชั่นที่มีสารเคมีรุงแรง พยายามเลือกทางเลือกที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด

  • ปล่อยให้เครางอก

เมื่อหนวดเครากำลังขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการโกนหรือเล็ม เพื่อให้ขนยาวเกินรูขุมขนออกมาเสียก่อน วิธีนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของการระคายเคือง และความเสียหายของรูขุมขน

  • ใช้ยา

หากสาเหตุของอาการคันเคราเป็นอาการทางผิวหนัง แพทย์สามารถสั่งจ่ายยาเพื่อแก้ปัญหาได้ ซึ่งยาที่จะสั่งจ่ายนั้น ได้แก่

  • ครีมที่มีกรดแลคติกและยูเรีย ซึ่งช่วยในการรักษาผิวแห้ง
  • มิวพิโรซิน (Mupirocin) เพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • ครีมต้านเชื้อรา เพื่อรักษาการติดเชื้อรา
  • ครีมคอร์ติโคสเตียรอยด์
  • หากสาเหตุไม่ได้มาจากการติดเชื้อ สามารถใช้ ไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone) โคลเบทาซอล (Clobetasol) หรือ เดโซไนด์ (Desonide) เพื่อรักษาโรคกลากที่ผิวหนังได้
  • หากการอักเสบไม่ได้ติดเชื้อ ใช้ คีโตโคนาโซล (Ketoconazole) รักษาสาเหตุของกลากผิวหนัง (Seborrheic Dermatitis) ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อจากเชื้อรา
  • ใช้กรดกรดไกลโคลิก (Glycolic Acid) เพื่อรักษาขนคุด
  • การรักษาด้วยเชื้อราเฉพาะ เพื่อรักษาโรคกลากที่เครา หนวด และลำคอ ที่ไม่รุนแรง การรักษาด้วยยาต้านเชื้อราในช่องปาก เช่น ไอทราโคนาโซล (Itraconazole) หรือ เทอร์บินาฟีน (Terbinafine) ก็มีประโยชน์เช่นกัน

อาการคันเครานั้นถือเป็นเรื่องที่ปกติมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณไว้หนวดเคราเป็นครั้งแรก การดูแลหนวดเคราให้สะอาดและปล่อยให้เครายาวขึ้นก่อนโกน สามารถช่วยรักษาอาการคันให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด หากอาการคันเกิดจากการติดเชื้อ คุณควรรับการรักษา เพื่อป้องกันความเสียหายต่อผิวหนังและรูขุมขนนั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook