ผลวิจัยชี้ “มะเร็งลำไส้” พบมากขึ้นในคนอายุน้อยกว่า 50 ปี

ผลวิจัยชี้ “มะเร็งลำไส้” พบมากขึ้นในคนอายุน้อยกว่า 50 ปี

ผลวิจัยชี้ “มะเร็งลำไส้” พบมากขึ้นในคนอายุน้อยกว่า 50 ปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรณีการเสียชีวิตของ แชดวิก โบสแมน นักแสดงคนดังผู้รับบท Black Panther ด้วยโรคมะเร็งลำไส้ ในวัยเพียง 43 ปี ถือว่าสอดคล้องกับการศึกษาของนักวิจัย ที่พบว่าผู้ที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งลำไส้เริ่มมีอายุน้อยลงเรื่อยๆ

รายงานจากสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (American Cancer Society) ระบุว่าอายุเฉลี่ยของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon Cancer) และลำไส้ตรง (Rectal Cancer) ในปี 1989 อยู่ที่ 72 ปี แต่นับตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยลดน้อยลงเป็นลำดับอย่างมีนัยสำคัญ

และจากการเก็บสถิติล่าสุดเมื่อปี 2017 โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (CDC) พบว่ามีผู้ป่วยในสหรัฐฯ เสียชีวิตด้วยโรคนี้สูงถึง 52,547 ราย ขณะที่อายุเฉลี่ยก็ลดลงมาอยู่ที่ 45-50 ปี

โดยช่วงระหว่างปี 2012-2016 พบว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี มีจำนวนเพิ่มขึ้น 2.2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งรวมถึงกรณีที่พบเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ และลำไส้ตรงด้วย ขณะที่ผู้ป่วยที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป กลับลดน้อยลง 3.3 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงระหว่างปี 2011-2016

ส่วนในปี 2020 สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา คาดการณ์ว่าจะมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งลำไส้ในสหรัฐฯราว 53,200 และราว 7 เปอร์เซ็นต์หรือประมาณ 3,640 ราย จะเป็นผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปีด้วย!

อาหาร-ยาปฏิชีวนะเพิ่มความเสี่ยงได้

Rebecca Siegel ผู้อำนวยการด้านการวิจัยและเฝ้าระวังทางวิทยาศาสตร์ของสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา เผยว่าแม้นักวิทยาศาสตร์ทราบดีว่าโรคดังกล่าวเกิดขึ้นในกลุ่มคนที่อายุน้อยลงเรื่อยๆ แต่อดประหลาดใจไม่ได้ว่าทำไมเกิดขึ้นเร็วขนาดนี้ และถือเป็นความท้าทายต่อวงการแพทย์ด้วย หากตัวเลขผู้ป่วยอายุน้อยมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

Rebecca ระบุว่าอาหารการกินมีอิทธิพลอย่างมากในการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยหลายชิ้นที่ระบุตรงกันว่ายาต่างๆ อาทิ ยาปฏิชีวนะก็ส่งผลต่อการทำงานของลำไส้ด้วยเช่นกัน เพราะยาเหล่านี้จะไปต้านจุลินทรีย์ที่เป็นไมโครไบโอมหรือจุลินทรีย์ธรรมชาติในร่างกายของเราด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook