“นอนไม่หลับ” บ่อยๆ เสี่ยง "อัลไซเมอร์"

“นอนไม่หลับ” บ่อยๆ เสี่ยง "อัลไซเมอร์"

“นอนไม่หลับ” บ่อยๆ เสี่ยง "อัลไซเมอร์"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ใครที่มักมีปัญหานอนไม่ค่อยหลับ อย่ามองข้ามเป็นอันขาด เพราะผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัย University of Wisconsin-Madison ในสหรัฐอเมริกา พบว่าคนที่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ มักมีสัญญาณทางชีววิทยาที่ชี้ให้เห็นว่าพวกเขาเสี่ยงต่อการเป็นอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมได้มากที่สุด

จากการทดสอบเจาะน้ำไขสันหลังในกลุ่มผู้สูงวัยอายุเฉลี่ย 63 ปี ซึ่งมีคนในครอบครัวเป็นอัลไซเมอร์ หรือมีความเสี่ยงทางพันธุกรรมที่จะพัฒนาไปสู่อัลไซเมอร์ จำนวน 101 คน พบว่า ผู้ที่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ จะมีสัญญาณทางชีววิทยาที่บ่งชี้ว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นอัลไซเมอร์มากกว่าคนที่ไม่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ

โดยสัญญาณที่บ่งชี้คือ การรวมตัวกันอย่างผิดปกติของโปรตีน  “Beta-amyloid”  และการพันกันอย่างยุ่งเหยิงของใยประสาทเซลล์สมองที่เรียกว่า “Tau Tangles”

ดอกเตอร์ Barbara Bendlin นักวิทยาศาสตร์ผู้ทำการวิจัยครั้งนี้ เผยว่า ภาวะการนอนไม่หลับไปแทรกแซงระบบการทำงานของสมองที่จะเริ่มทำงานในระหว่างที่เรานอนหลับ จนทำให้เกิดการสร้างแผ่นโปรตีน Amyloid ในเซลล์สมอง จากการรวมตัวกันที่ผิดปกติ ขณะที่การพันกันอย่างยุ่งเหยิงของใยประสาทเซลล์สมอง จะไปขัดขวางการสื่อสารของเซลล์ประสาท  จนนำไปสู่สภาวะเสื่อมของระบบประสาท

อย่างไรก็ตาม ดอกเตอร์เบนด์ลิน ระบุว่าการศึกษาดังกล่าวยังไม่สามารถฟันธงได้ชัดเจนว่า การนอนหลับส่งผลต่อการพัฒนาไปสู่โรคอัลไซเมอร์ หรือว่าอัลไซเมอร์ส่งผลต่อคุณภาพในการนอนหลับของผู้ป่วย ซึ่งจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อหาข้อสนับสนุนในเรื่องนี้ต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook