เคล็ดลับ! กระโดดเชือกลดน้ำหนักอย่างไรให้ได้ผลชัวร์

เคล็ดลับ! กระโดดเชือกลดน้ำหนักอย่างไรให้ได้ผลชัวร์

เคล็ดลับ! กระโดดเชือกลดน้ำหนักอย่างไรให้ได้ผลชัวร์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หากคุณเป็นคนที่ไม่ชอบการวิ่ง ไม่ชอบแอโรบิค ไม่ชอบเล่นกีฬาทุกชนิด (เรานี่ยกมือทุกข้อเลย) ลองหันมาสนใจการกระโดดเชือกดูก็ดีนะคะ เพราะทั้งง่าย ใช้เวลาน้อย อุปกรณ์น้อย (แถมราคาไม่แพง) พื้นที่ที่ใช้ก็น้อยด้วย ที่สำคัญเล่นคนเดียวได้สบายใจเฉิบ ไม่ต้องเขินอายใครทั้งสิ้น แต่กระโดดเชือกอย่างไรถึงจะเห็นผล Sanook! Health เอาทิปส์มาฝากค่ะ

เตรียมตัวกระโดดเชือก



1. เชือกกระโดด


เชือกกระโดดมีหลายวัสดุ เลือกเอาแล้วแต่ความชอบได้เลยค่ะ น้ำหนักพอประมาณ ไม่เบาไม่หนักจนเกินไป นอกจากนี้ต้องลองวัดความยาวของเชือก สอดเชือดไว้เต้าฝ่าเท้า ดึงปลายเชือกทั้งสองด้านให้เท่ากัน ระดับเชือกยืนขาตรง ระดับปลายเชือกต้องอยู่ระหว่างใต้อกค่ะ เวลาแกว่งเชือกจะได้กระโดดง่ายๆ ไม่ยาวไม่สั้นจนเกินไป ตอนซื้อเชือกกระโดดให้ทดลองกระโดดที่ร้านเลยค่ะ (ข้อสังเกต : สายหนัง สายผ้า จะเบากว่าสายแบบยาง)

 

2. เสื้อผ้า รองเท้า



เลือกสวมเสื้อผ้า และรองเท้าสำหรับออกกำลังกาย เนื้อผ้าสบายแนบลำตัว และขนาดพอดีตัวไม่เล็กไม่ใหญ่จนเกินไป จุดสำคัญอีกที่หนึ่ง อยู่ที่เท้า ปลายกางเกงห้ามยาวจนกรอมเท้า ขนาดประมาณ 4-5 ส่วนได้ยิ่งดี และรองเท้าไม่ควรมีน้ำหนักมากจนเกินไป แบบเรียบๆ และผูกเชือกรองเท้าให้แน่นด้วยค่ะ (อย่าลืมตรวจสภาพรองเท้า อยากให้พื้นรองเท้าหลุดจนสะดุดหน้าทิ่มด้วยล่ะ)

 

3. ร่างกาย



เวลาที่ดีในการออกกำลังกาย คือช่วงเช้าก่อนทานอาหาร และหลังทานอาหาร 3-4 ชั่วโมงเป็นต้นไป กระโดดเชือกได้ทุกเวลาเมื่อคุณมีเวลาว่าง และก่อนกระโดดอย่าเผลอดื่มน้ำเยอะด้วยล่ะ ระวังจุก

 

4. สถานที่



เลือกพื้นที่ที่เป็นพื้นที่โล่ง ไม่มีสิ่งของวางรายล้อม หรือระเกะระกะบนพื้น และรอบข้าง ลักษณะของพื้นต้องเรียบเสมอกันทุกส่วน ไม่ขรุขระ หรือลื่นจนเกินไป ที่สำคัญต้องมีเพดานสูงพอที่เชือกจะแกว่งแล้วไม่โดนเพดาน หรือโคมไฟ

 

กระโดดเชือกอย่างไรให้ถูกวิธี

1. วอร์มร่างกายก่อน 3-5 นาที ยืดเส้นยืดสายด้วยท่าแอโรบิคแบบเบสิค

2. ทดลองกระโดดด้วยการเขย่งปลายเท้าเล็กน้อย ไม่ต้องกระโดดสูง รักษาจังหวะให้สม่ำเสมอ

3. ทดลองรวบปลายเชือกทั้งสองไว้ที่มือข้างหนึ่ง แล้วแกว่งเชือกให้ได้จังหวะที่สม่ำเสมอ พร้อมลองกระโดดเบาๆ ตามจังหวะเชือกกระทบพื้นไปด้วย ลองเปลี่ยนมือด้วยก็ได้

4. เริ่มกระโดดเชือกจริง เริ่มจากเชือกอยู่ด้านหลัง สะบัดอ้อมจากหลังศีรษะมาด้านหน้าแล้วกระโดด ระหว่างแกว่งเชือก ให้รักษาระดับมือให้อยู่ในช่วงข้างเอวตลอดเวลา แกว่งเชือกโดยใช้ข้อมือหมุนเบาๆ

5. หลังตั้งตรง และเท้าสัมผัสพื้นให้เบาที่สุด ไม่จำเป็นต้องลงพื้นเต็มเท้า แค่ปลายเท้าก็ได้

6. ช่วงแรก แนะนำให้กระโดดเป็นเซ็ต เซ็ตละ 50-100 ที ประมาณ 3-5 เซ็ตต่อวัน หรือเท่าที่ร่างกายจะรับไหว จากนั้นค่อยๆ เพิ่มจำนวนครั้งต่อเซ็ตมากขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละวัน หรือแต่ละสัปดาห์ 1 วันใช้เวลาประมาณ 30 นาที – 1 ชั่วโมง


ข้อควรระวัง

ผู้ที่มีน้ำหนักมากเกินไป หรือผู้ที่มีปัญหาในเรื่องของขา เข่า ข้อเท้า ข้อต่อต่างๆ ไม่ควรกระโดดเชือกค่ะ หรือหากอยากลองแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนจะดีกว่า เพราะแรงกระแทกอาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ หรือข้อเข่าเสื่อมได้

 

เรียบร้อยแล้วก็ออกไปกระโดดเชือกกันดีกว่า Let’s go!

 

 

ภาพประกอบจาก istockphoto

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook