แพทย์เตือน อย่า "ตรวจเลือด" หา "โรคภูมิแพ้อาหารแฝง" สิ้นเปลือง-ไร้ประโยชน์

แพทย์เตือน อย่า "ตรวจเลือด" หา "โรคภูมิแพ้อาหารแฝง" สิ้นเปลือง-ไร้ประโยชน์

แพทย์เตือน อย่า "ตรวจเลือด" หา "โรคภูมิแพ้อาหารแฝง" สิ้นเปลือง-ไร้ประโยชน์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้จากเฟซบุ๊กเพจ ภูมิแพ้แก้ได้ Allergic march ระบุว่า “อย่าตรวจเลือดหาภูมิแพ้อาหารแฝง เปลืองเงิน แต่ไม่ได้ประโยชน์” หลังจากมีการเผยแพร่บทความที่มีเนื้อหาสนับสนุนการตรวจเลือดหาภูมิแพ้อาหารแฝง (Food specific IgG) โดยอธิบายในเรื่องนี้เอาไว้ ดังนี้


“โรคภูมิแพ้อาหารแฝง” ไม่มีบัญญัติในการแพทย์มาตรฐาน

ส่วนคำว่า การทนต่ออาหารไม่ได้ (food intolerance) เช่น กินนมแล้วถ่ายเหลว กินผงชูรสแล้วคันตามตัว กินกลูเตนแล้วท้องอืด/ถ่ายเหลว (ไม่นับ celiac) ฯลฯ ไม่จัดเป็นโรคแพ้อาหาร

จริงๆ แล้ว โรคแพ้อาหารแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

  1. ชนิดเฉียบพลัน ซึ่งสามารถตรวจด้วยการทดสอบผิวหนัง(skin test) หรือ ส่งตรวจเลือดหา specific IgE (เน้นว่า IgE นะครับ ไม่ใช่ IgG)
  2. ชนิดไม่เฉียบพลัน ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการส่งตรวจเลือดใดที่ช่วยยืนยันได้เลย

เมื่อหลายสิบปีก่อน มีคนคิดส่งตรวจเลือดหา “Food specific IgG” โดยหวังว่าจะช่วยวินิจฉัยโรคแพ้อาหารแบบไม่เฉียบพลัน และภาวะทนต่ออาหารไม่ได้ แต่งานวิจัยได้พิสูจน์แล้วว่า การส่งตรวจดังกล่าวไม่ช่วยวินิจฉัย และยังตรวจเจอได้ในคนปกติด้วยซ้ำ

ยิ่งไปกว่านั้น การอ้างว่าโรคเบาหวาน ความดัน ไขมัน โรคอ้วน หรือโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง เป็นโรคที่เกิดจาก “การแพ้อาหารแฝง” และเป็นเหตุผลชี้นำให้ลูกเพจส่งตรวจเลือดหา Food specific IgG เพื่อวินิจฉัย จึงเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผล ไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ อีกทั้ง ค่าส่งตรวจก็แพงมาก และผลตรวจทำให้ประชาชนตื่นตระหนก เข้าใจผิด และต้องงดอาหารโดยไม่จำเป็น

สมาคมโรคภูมิแพ้ฯทั้งจากสหรัฐอเมริกา แคนาดา กลุ่มประเทศฝั่งยุโรป รวมทั้ง สมาคมโรคภูมิแพ้แห่งประเทศไทย จึงได้ออกแถลงการณ์ “อย่างเป็นทางการ” เพื่อคัดค้านการส่งตรวจ Food specific IgG หรือ ภูมิแพ้แฝง

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้ารับบริการตรวจเลือดหาโรคภูมิแพ้อาหารแฝง สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของสมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกัน แห่งประเทศไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook