“ไอโซพอด” ตัวประหลาดในหัวปลา กินได้ไหม?

“ไอโซพอด” ตัวประหลาดในหัวปลา กินได้ไหม?

“ไอโซพอด” ตัวประหลาดในหัวปลา กินได้ไหม?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เฟซบุ๊กเพจ หมอแล็บแพนด้า ไขข้อข้องใจของสมาชิกในเพจที่ถามเข้ามาว่า ตัวประหลาดที่พบอยู่ในหัวปลาทูทอด คืออะไร อันตรายหรือไม่

ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน นักเทคนิคการแพทย์ หัวหน้างานตรวจโรคติดเชื้อทางโลหิตวิธีอณูชีววิทยา ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เจ้าของเฟซบุ๊กเพจ หมอแล็บแพนด้า ให้ข้อมูลว่า ตัวประหลาดที่พบได้ในปลาที่เรารับประทานกัน เช่น ปลาทู นี้ เรียกว่า “ไอโซพอด” เป็นปรสิตในช่องปากของปลาทะเล บางคนก็เรียกตัวกัดลิ้น เป็นสัตว์จำพวก กุ้ง ปู กั้ง

 

ไอโซพอด คืออะไร?

ไอโซพอด เป็นสัตว์จำพวกครัสเตเชียนกลุ่มที่มีความหลากหลายมากที่สุดชนิดหนึ่ง พบอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมทุกรูปแบบ แต่จะพบได้มากที่สุดในทะเลน้ำตื้น สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมบนบกได้ดี แม้ว่าพบได้หลากหลายที่สุดในทะเลลึกก็ตาม มีหลายสปีชีส์ ดำรงชีวิตเป็นปรสิตในช่องปากของปลา รู้จักกันในชื่อว่า "ตัวกัดลิ้น (Tongue biter)"


ไอโซพอด อันตรายต่อร่างกายหรือไม่?

หมอแล็บแพนด้า ระบุว่า แม้ว่าไอโซพอดที่พบในปลาจะหน้าตาไม่น่ารับประทาน แต่อันที่จริงแล้วหากเผลอรับประทานเข้าไป ก็ไม่ได้ส่งผลอันตราย หรือมีพิษมีภัยอะไรต่อร่างกายของเรา หรือหากใครพบเห็นไอโซพอดในปลา สามารถเขี่ยออกแล้วรับประทานต่อได้อย่างไม่ต้องกังวลใจ

อย่างไรก็ตาม Sanook Health แนะนำว่า ควรรับประทานปลาที่ปรุงสุกด้วยการผ่านความร้อน หากจะรับประทานปลาดิบ ควรเป็นปลาดิบที่ได้รับการกำจัดพยาธิและเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ ด้วยการแช่แข็งที่อุณหภูมิต่ำกว่า -35 องศาเซลเซียส อย่างน้อย 15 ชั่วโมง หรือ ต่ำกว่า -20 องศาเซลเซียส อย่างน้อย 7 วัน และมาจากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้เท่านั้น เพื่อป้องกันอาการท้องเสียท้องร่วง หรืออันตรายต่างๆ ที่มาจากพยาธิ และเชื้อโรคอื่นๆ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook