4 เรื่อง ที่ลูกอาจเจอ หากฟันน้ำนมผุ
พบเด็กไทย เริ่มมีฟันผุตั้งแต่ 9 เดือน ซึ่งนับว่าเป็นอัตราการเกิดฟันผุที่รวดเร็วมาก และมีการสูญเสียฟันก่อนวัยถึง 3-10 ปี!!
เรื่องฟันผุ ยิ่งถ้าเป็นฟันน้ำนม อาจจะดูเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับเด็ก และพ่อแม่ผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยคิดว่า แค่ฟันน้ำนมผุ ไม่เป็นไรหรอก เดี๋ยวหลุดไปฟันแท้ขึ้นมาใหม่ก็ดีเอง
แต่รู้ไหมว่า ฟันน้ำนมผุ มีผลกระทบมากกว่านั้น !! เพราะหากลูกน้อยฟันน้ำนมผุแล้วล่ะก็ อาจจะมีโอกาสเสี่ยงกับปัญหาอีกหลายอย่างที่ตามมา และนี่คือสิ่งที่ต้องระวัง
1.ฟันแท้มีโอกาสผุด้วย
หากเด็กที่มีฟันน้ำนมผุ จะมีอัตราเสี่ยงที่ฟันแท้จะผุไปด้วย เพราะจากการที่ฟันน้ำนมผุมากๆ อาจมีการหลั่งสารที่ทำให้หน่อฟันแท้ที่อยู่ด้านล่างของฟันน้ำนมมีการสร้างได้ไม่เต็มที่ ฟันที่งอกขึ้นมาอาจจะไม่แข็งแรง มีลักษณะกร่อนได้ง่าย จึงผุง่ายกว่าปกติ
นอกจากนี้เด็กที่มีฟันน้ำนมผุ มักมีพฤติกรรมที่ไม่ได้ดูแลฟันที่ดีพอ ทั้งการกินและการไม่ได้แปรงฟันมากเท่าที่ควร เมื่อฟันแท้ขึ้นหากมีพฤติกรรมเช่นเดิม ก็จะเป็นสาเหตุของการเกิดฟันผุในซี่ที่เหลือได้
2.ฟันซ้อนเก
ฟันแท้จะขึ้นตามกาลเวลาคือเริ่มตั้งแต่เด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป ฟันน้ำนมจะหลุดเองตามธรรมชาติ และเป็นตัวนำทางให้ฟันแท้ที่อยู่ด้านล่างขึ้นตาม แต่หากฟันน้ำนมที่ผุหลุด หรือถูกถอนก่อนเวลาอันควร ฟันที่อยู่ข้างๆฟันที่ถูกถอนก็จะล้มเข้ามา ทำให้ฟันน้ำนมที่อยู่ข้างๆเคลื่อนที่ล้มมาเบียดหรือปิดช่องว่าง เมื่อฟันแท้จะขึ้นทำให้ไม่มีพื้นที่ในการขึ้นของฟัน จึงมีโอกาสซ้อนเกได้
3.ส่งผลต่อพัฒนาการ
เนื่องจากฟันมีหน้าที่บดเคี้ยวอาหาร หากฟันผุก็จะทำให้ฟันทำหน้าที่ได้ไม่เต็มที่ เด็กจะขาดสารอาหาร ยิ่งถ้าผุมากจนถึงทะลุโพรงประสาทฟัน เขาก็จะมีอาการปวดโดยเฉพาะในช่วงกลางคืน จนนอนไม่หลับ ส่งผลให้ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตหลั่งได้น้อยลง ทำงานได้ไม่เต็มที่ ทำให้การเติบโตไม่สมวัย มีผลกับทั้งด้านสติปัญญา ความสูง กระทบต่อพัฒนาการทั้งร่างกายและจิตใจของเด็กในระยะยาวได้
4.ส่งผลต่อบุคลิกภาพ
ฟันน้ำนมยังมีบทบาทในการใช้พูดออกเสียงพยัญชนะทำให้เด็กออกเสียงได้ชัดเจน ถ้าฟันหลอมีช่องว่างก็จะมีผลต่อการพูดได้ ทำให้พูดไม่ชัด ยิ่งบางคนถ้าสูญเสียฟันน้ำนมเร็วเกินไปยังไม่ถึงเวลาของฟันแท้ที่จะขึ้นมาแทนที่ฟันน้ำนม ก็จะมีระยะเวลาที่ต้องหลอนานขึ้น ซึ่งเกิดผลต่อภาพลักษณ์ บุคลิกภาพ และความมั่นใจของเด็กได้ หรืออาจจะโดนล้อ เรื่องฟันผุ ฟันหลอ ไม่กล้าพูด ไม่กล้ายิ้ม ได้
ไม่อยากให้อนาคตอีกหลายๆเรื่องของลูกต้องผุตามฟันน้ำนมไป ต้องรีบดูแลตั้งแต่ฟันน้ำนมกันเลย ดังนั้น เราจึงควรแปรงฟันให้เด็กด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์(ที่มีความเข้มข้นอย่างน้อย 1,000 ppm) ตั้งแต่ฟันซี่แรกงอก และควบคุมไม่ให้เด็กติดรสหวานตั้งแต่เล็ก และตรวจความสะอาดของฟันและดูว่ามีฟันผุหรือไม่ เป็นระยะ รวมถึงไปพบหมอฟันภายในขวบแรก เพื่อได้รับคำแนะนำและได้รับการตรวจในช่องปากให้เด็กคุ้นชิน ไม่กลัวหมออีกด้วย
อยากรู้ว่าแค่ฟันน้ำนมผุ จะมีผลกระทบมากแค่ไหน เรามีจำลองสถานการณ์มาให้เห็นภาพ ชมเพิ่มเติมได้ที่
[Advertorial]