"น้ำดื่มอัลคาไลน์" มีประโยชน์ต่อสุขภาพจริงหรือ?

"น้ำดื่มอัลคาไลน์" มีประโยชน์ต่อสุขภาพจริงหรือ?

"น้ำดื่มอัลคาไลน์" มีประโยชน์ต่อสุขภาพจริงหรือ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปัจจุบันมีน้ำดื่มหลายแบบให้เราได้เลือกดื่มกัน ไม่ว่าจะเป็น น้ำดื่มปกติ น้ำแร่ รวมถึงน้ำดื่มที่มีการผสมวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ แต่เมื่อพูดถึง น้ำดื่มอัลคาไลน์ หลายคนอาจจะสงสัยว่า มันคือน้ำดื่มอะไร แล้วมันมีประโยชน์ต่อสุขภาพจริงหรือไม่ ต้องไปติดตามกันในบทความนี้ที่ Hello คุณหมอ นำมาฝากกัน

น้ำดื่มอัลคาไลน์ คืออะไร

คำว่า “อัลคาไลน์” (Alkaline) หมายถึงระดับค่าความเป็นกรด-ด่าง หรือค่า pH ของน้ำ ซึ่งสามารถวัดได้ในช่วง 0-14 ซึ่งเป็นความแตกต่างเพียงอย่างเดียวระหว่างน้ำอัลคาไลน์กับน้ำประปาทั่วไป

โดยน้ำประปาปกติจะมีระดับค่า pH ประมาณ 7.5 แต่น้ำอัลคาไลน์นั้นมีค่า pH สูงกว่า 8-9 ซึ่งตัวเลขยิ่งสูงนั่นหมายความว่า น้ำจะมีค่าความเป็นด่างมากขึ้น ส่วนถ้าตัวเลขยิ่งต่ำแสดงว่าน้ำจะมีค่าความเป็นกรดมาก

การศึกษาจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อได้ในปีค.ศ. 2013 น้ำที่มีค่า pH ต่ำ (เป็นกรด) มีแนวโน้มที่จะเป็นพิษ นอกจากนั้นการกินอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นกรด อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง มากไปกว่านั้น ยังมีคำกล่าวไว้ว่า อาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรดจะเลี้ยงเซลล์มะเร็ง ทำให้สามารถเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้

น้ำดื่มอัลคาไลน์ กับโรคมะเร็ง

กล่าวกันว่า น้ำดื่มอัลคาไลน์ช่วยต่อต้านกรดที่พบในกระแสเลือด ดังนั้น การดื่มน้ำที่มีค่า pH ที่สูงขึ้น สามารถเพิ่มการเผาผลาญของร่างกายและสามารถเพิ่มความสามารถของร่างกายในการดูดซึมสารอาหารที่สำคัญ บางคนคิดว่าสิ่งนี้จะทำให้เซลล์มะเร็งที่พบในร่างกายไม่สามารถเจริญเติบโตได้ เนื่องจากเซลล์มะเร็งนั้นเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่เป็นกรด

การดื่มน้ำดื่มอัลคาไลน์ ยังช่วยชะลอหรือหยุดการเจริญเติบโตของมะเร็ง โดยการปรับสมดุลของระดับค่า pH ในร่างกาย ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว น้ำดื่มอัลคาไลน์อาจมีผลต่อความชุ่มชื้นในร่างกาย สำหรับบางคนที่มีอาการกรดไหลย้อน น้ำดื่มอัลคาไลน์อาจทำให้อาการที่เกี่ยวข้องกับกรดไหลย้อนในกระเพาะอาหารดีขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม ในร่างกายที่มีการทำงานปกติ น้ำดื่มอัลคาไลน์จะไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ หากในร่างกายมีความสมดุลระหว่างกรดและเบส ซึ่งวัดได้จากกระแสเลือดนั่นเอง แต่ในขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนแนวคิดที่ว่า น้ำดื่มอัลคาไลน์สามารถรักษาหรือป้องกันมะเร็งได้หรือไม่

แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเปลี่ยนระดับค่า pH ในเลือดของคุณอย่างสิ้นเชิง โดยการกินหรือดื่มของเหลวบางอย่างเข้าไป ภายใต้สถานการณ์ปกติ ร่างกายของคุณจะปรับสมดุลของระดับค่า pH ภายในโดยธรรมชาติ เนื่องจากร่างกายของคนเรานั้นมีกลไกหลายเซลล์ที่ซับซ้อนและสัมพันธ์กัน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรักษาค่า pH ภายในร่างกายในแบบที่ควรจะเป็น

หากคุณเป็นมะเร็ง เซลล์มะเร็งดังกล่าวก็ไม่ควรส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อค่า pH โดยรวมในร่างกายของคุณ เพราะถึงแม้ว่าเซลล์มะเร็งจะสร้างกรดแลคติก (Lactic Acid) โดยปกติแล้วก็อาจจะไม่เพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงระดับค่า pH ในร่างกายของคุณได้อย่างสิ้นเชิง โดยทั่วไปจะมีงานวิจัยน้อยมากเกี่ยวกับความเป็นด่างที่มีผลต่อร่างกาย

น้ำดื่มอัลคาไลน์ดีกว่าน้ำเปล่าหรือไม่

สำหรับคนส่วนใหญ่แล้วน้ำเปล่าจะดีกว่า เพราะส่วนใหญ่แล้วน้ำดื่มบรรจุขวดขายจะเป็นน้ำดื่มอัลคาไลน์ ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมขององค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหน่วยงานจากรัฐบาลกลาง (U.S. Food and Drug Administration หรือ FDA) และในบางครั้งเอง น้ำดื่มอัลคาไลน์ก็จะมีการเติมสารอาหาร เพื่อให้ได้ค่า pH ที่เป็นด่าง

นักวิทยาศาสตร์ใช้ค่า pH เพื่ออธิบายความเป็นกรดของสารด้วยตัวเลขในระดับ 0-14 ตามความหมายแล้ว สารจะเป็นด่างหากมีค่า pH มากกว่า 7 และเนื่องจากน้ำดื่มอัลคาไลน์มีระดับค่า pH สูงกว่าน้ำประปาธรรมดา ซึ่งมันสามารถทำให้กรดในกระแสเลือดเป็นกลางได้ อย่างไรก็ตามการวิจัยจากแหล่งที่เชื่อถือได้ชี้ให้เห็นว่า น้ำดื่มอัลคาไลน์นั้นไม่น่าจะทำให้ค่า pH ของเลือดเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ

การศึกษาบางชิ้นยังชี้ให้เห็นว่า น้ำดื่มอัลคาไลน์ อาจช่วยชะลอการสูญเสียมวลกระดูก แต่ยังไม่ชัดเจนว่าจะรักษาประโยชน์ในระยะยาวได้หรือไม่ บางคนบอกว่า น้ำดื่มอัลคาไลน์สามารถช่วยป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง และโรคหัวใจ เป็นต้น อย่างไรก็ตามมีหลักฐานที่น่าเชื่อถือเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่สามารถสนับสนุนการอ้างอิงดังกล่าว

อย่างไรก็ดี ไม่ว่าคุณจะดื่มน้ำอะไรก็ตาม คุณควรจะต้องคำนึงถึงความสะอาดมาเป็นอันดับแรก เพราะหากดื่มน้ำที่ไม่สะอาดเข้าไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ ร่างกาย ซึ่งอาจถึงขั้นทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้ นอกจากนั้นแล้วการดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมทุกวันก็ถือเป็นอีกเรื่องที่ควรทำ เพื่อรักษาความชุ่มชื้นของร่างกาย รวมถึงป้องกันการเกิดภาวะขาดน้ำ (Dehydration) อีกด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook