"บูลีเมีย" จากพฤติกรรม "ล้วงคอ" ความเชื่อลดน้ำหนักแบบผิดๆ ที่อาจเสี่ยงเสียชีวิต

"บูลีเมีย" จากพฤติกรรม "ล้วงคอ" ความเชื่อลดน้ำหนักแบบผิดๆ ที่อาจเสี่ยงเสียชีวิต

"บูลีเมีย" จากพฤติกรรม "ล้วงคอ" ความเชื่อลดน้ำหนักแบบผิดๆ ที่อาจเสี่ยงเสียชีวิต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

บางคนอาจมีความเชื่อว่าการ ล้วงคอ หลังรับประทานอาหาร เพื่อทำให้อาเจียนเอาอาหารออกมา จะทำให้น้ำหนักไม่เพิ่มขึ้น  ซึ่งเป็นความเชื่อแบบผิด ๆ วิธีดังกล่าวนี้ไม่สามารถทำให้น้ำหนักลดลงได้ แถมยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพอีกด้วย เช่น เจ็บคอ ฟันผุ ท้องอืด อาหารไม่ย่อย เป็นต้น โดยพฤติกรรมดังกล่าวนี้เข้าข่าย “โรคล้วงคอ” หรือ “โรคบูลิเมีย” นั่นเอง จะมีรายละเอียดเพิ่มเติมอย่างไร เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้น ในบทความจาก Hello คุณหมอ

โรคล้วงคอ พฤติกรรมการกินแบบผิดๆ ที่อาจนำมาซึ่งการเสียชีวิต

โรคล้วงคอ (Bulimia nervosa) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า โรคบูลิเมีย เป็นภาวะความผิดปกติของการรับประทานอาหาร เช่น ความรู้ผิดในการรับประทานอาหารปริมาณมากๆ และอยากจะกำจัดออกเพื่อไม่อยากให้ร่างกายรับอาหารที่มีแคลอรี่มาก โดยจะทำการ ล้วงคอ เพื่อให้ตนอาเจียนออกมา หรืออาจมีการใช้ยาระบาย อาหารเสริมลดน้ำหนัก เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหนักเพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม โรคล้วงคอมักพบในเพศหญิงที่มีอายุในช่วงวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยผู้ใหญ่ต้นๆ ที่มีความกังวลในเรื่องของรูปร่าง หน้าตา ส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ เจ็บคอ ท้องอืด อาเจียน เป็นต้น

สาเหตุและปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการล้วงคอ

ในปัจจุบันยังไม่มีทราบสาเหตุที่แน่ชัดของพฤติกรรมการล้วงคอ โดยพบว่าอาจเกี่ยวกับปัจจัยทางชีววิทยาและสภาพแวดล้อม ดังนี้

  • มีความกังวลในเรื่องของรูปร่าง
  • โรคซึมเศร้า
  • ความเครียด วิตกกังวล
  • อดอาหารบ่อยๆ

ลักษณะอาการของผู้ป่วยโรคล้วงคอ

ผู้ป่วยโรคล้วงคอ อาจมีอาการที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่แต่ละบุคคล ดังนี้

  • ปัญหาเกี่ยวกับฟัน
  • เจ็บคอ
  • ต่อมบวมที่คอและใบหน้า
  • อาหารไม่ย่อย ท้องอืด
  • อ่อนเพลีย
  • ตาแดง
  • เวียนศีรษะ
  • รู้สึกหนาวตลอดเวลา
  • ปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ
  • ผิวแห้ง
  • เล็บแห้งและเปราะ

ปรึกษาคุณหมอ

ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย เช่น ทัศนคติความคิด พฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • ยา แพทย์อาจจ่ายยาเพิ่มต้านอาการซึมเศร้า
  • ยากล่อมประสาท เช่น ยาฟลูออกซิทีน (Fluoxetine)
  • การบำบัด เช่น การบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy หรือ CBT)
  • จิตบำบัดระหว่างบุคคล และภายในครอบครัว เพื่อให้ผู้ป่วยได้ปรับพฤติกรรมความคิดและการกิน
  • ปรับอารมณ์และสุขภาพจิต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook