ทำไมเราต้อง "ตรวจสุขภาพประจำปี"?

ทำไมเราต้อง "ตรวจสุขภาพประจำปี"?

ทำไมเราต้อง "ตรวจสุขภาพประจำปี"?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี?

สังคมในปัจจุบันคนรุ่นใหม่เริ่มหันมาดูแลเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น เห็นได้จากการหันมารับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกายกันมากขึ้น เพราะคนรุ่นใหม่ต้องการมีสุขภาพที่ดีขึ้นจึงหันมาดูแลตัวเองกันมากขึ้น แต่ใช่ว่าการออกกำลังกาย หรือการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพจะเป็นหนทางที่จะนำไปสู่สุขภาพที่ดีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญที่คนรักสุขภาพควรตระหนักนั่นก็คือ “การตรวจสุขภาพ”

นายแพทย์ นพดล นินเนินนนท์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล ระบุว่า การตรวจสุขภาพประจำปี คือ การตรวจค้นหาโรคตั้งแต่ระยะเริ่มแรกที่ซ่อนตัว ระยะเพาะเชื้ออยู่ในร่างกายเรา โดยที่ร่างกายยังไม่แสดงอาการผิดปกติอะไร การตรวจพบตั้งแต่เริ่มต้น ดีกว่าการรักษาในระยะที่ร้ายแรงหรือลุกลามไปมากแล้ว ในยุคปัจจุบันมีสิ่งกระตุ้นที่มีผลต่อความผิดปกติกับร่างกายของเราเป็นอย่างมาก โรคบางชนิดไม่แสดงอาการจนกระทั่งสายเกินแก้ อาจจะสูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต

การตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอช่วยให้อุ่นใจและคลายกังวลจากปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะการตรวจสุขภาพเป็นการตรวจสำหรับผู้ที่ยังไม่มีอาการผิดปกติใดๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาความเสี่ยงของโรค หรือโรคและภาวะต่างๆที่ยังไม่แสดงอาการ ซึ่งการพบปัญหาก่อน ไม่เพียงช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาให้ประสบความสำเร็จ ช่วยลดความรุนแรงและลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเท่านั้น แต่ยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาวอีกด้วย

สุขภาพที่ดีขึ้นอยู่กับ...

  • การดำเนินชีวิตที่ดี
  • มีโภชนาการที่ดี รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • การออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • การหลีกเลี่ยงมลภาวะที่เป็นพิษ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • หลบหนีความเครียด

การตรวจสุขภาพควรทำอย่างน้อยปีละครั้ง

โดยรายละเอียดของการตรวจอาจจะแตกต่างกันไปโดยการตรวจสุขภาพโดยรวม เช็คประวัติครอบครัว และรูปแบบการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคล โดยทั่วไปแล้วโปรแกรมตรวจสุขภาพเบื้องต้นจะแบ่ง ตามเพศและอายุ โดยแพทย์แนะนำให้ตรวจทุกปี สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษอาจจำเป็นต้องมีการตรวจเพิ่มเติมและตรวจบ่อยขึ้น อีกทั้งยังสามารถตรวจร่างกายในเฉพาะส่วนหรือเฉพาะโรคได้ อาทิ ตรวจหาความเสี่ยงของมะเร็งในเพศชายและเพศหญิง ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจากการเจาะเลือด ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งในตับและลำไส้

สำหรับคุณผู้หญิง จะต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีการตรวจภายใน และตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยใช้เครื่องเอกซเรย์มะเร็งเต้านม นอกจากนี้ ในผู้สูงอายุทั้งชายและหญิง ควรตรวจภาวะความเสี่ยงของโรคหัวใจ เพื่อดูสมรรถภาพของสุขภาพหัวใจให้ห่างไกลจากโรคหัวใจ ซึ่งเป็นโรคในอันดับต้นๆ ที่คนไทยเป็นกัน

ทั้งนี้การใช้ชีวิตในปัจจุบันมีความเสี่ยงกว่าในอดีต ไม่ว่าจะเป็นปัญหามลภาวะ โรคระบาดเกิดใหม่ หรือการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ดังนั้นการตรวจสุขภาพประจำปีเหมือนเป็นกุญแจสำคัญ มีโอกาสได้ดูแลสุขภาพร่างกายของเรา วางแผนการดูแลสุขภาพ ไม่ใช่เพียงมีอายุที่ยืนยาวแต่อาจรวมไปถึงการมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook