วิธีดูแล "แผลเป็นหนอง" ที่ถูกต้อง

วิธีดูแล "แผลเป็นหนอง" ที่ถูกต้อง

วิธีดูแล "แผลเป็นหนอง" ที่ถูกต้อง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แผลผ่าตัดหรือแผลสด สามารถเกิดหนองได้หลากหลายชนิด ซึ่งจะแตกต่างกันออกไป หนองเป็นของเหลวชนิดหนึ่ง ที่ไหลออกมาจากแผล หากแผลมีหนองไหลออกมา เป็นสัญญาณที่สามารถบ่งบอกได้ว่า แผลที่เป็นอยู่นั้นเกิดการติดเชื้อ หากเกิดแผลต้องหมั่นทำความสะอาด และตรวจดูอยู่เสมอว่าแผลนั้นมีหนองหรือไม่

Hello คุณหมอ จะชวนทุกคนไปรู้จักกับ แผลเป็นหนอง ว่าควรทำอย่างไรดี

หนอง คืออะไร

หนอง (Pus) คือของเหลวที่ไหลออกมาจากบาดแผล หากบาดแผลของเรามีหนองนั้นก็จะสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน เพราะหนองจะมีสีที่แตกต่างกันออกไปตั้งแต่ สีเหลือง สีเทา สีเขียว และสีน้ำตาล โดยสีและความเข้มข้นของหนองนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนของเชื้อโรคที่มีอยู่ รวมไปถึงเชื้อโรคที่ตายแล้ว และขึ้นอยู่กับจำนวนเม็ดเลือดขาวด้วย

ประเภทของ แผลเป็นหนอง

ประเภทของแผลเป็นหนองนั้นสามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท ดังนี้

1. Sanguineous drainage

หนองชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นสีแดงสดหรือสีชมพู โดยหนองชนิดนี้จะประกอบไปด้วย เลือดสดเป็นส่วนใหญ่ มีลักษณะคล้ายกับน้ำเชื่อม แต่จะมีความข้นและความหนืดมากกว่าเลือดปกติ ซึ่งหนองชนิดนี้มักจะเกิดขึ้นกับแผลที่เพิ่งเป็น หากเกิดหนองชนิดนี้หลังจากที่เป็นแผลได้ 2-3 ชั่วโมง แสดงว่าแผลนั้นเกิดการฟกช้ำ

2. Serous drainage

หนองชนิดนี้เป็นหนองที่ประกอบไปด้วยโปรตีน เซลล์เม็ดเลือดขาว และเซลล์สำคัญอื่นๆ ที่ร่างกายมักจะใช้ในการรักษาตัวเอง หนองชนิดนี้มีลักษณะใส และโปร่งแสงคล้ายกับน้ำ หากมีหนองชนิดนี้ที่แผลมากเกิดไป อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าบริเวณแผลมีเชื้อโรคที่เป็นอันตรายอยู่บริเวณนั้น

3. Serosanguineous drainage

หนองชนิดเป็นหนองที่ผสมกันระหว่างหนองสองชนิดข้างต้น ซึ่งพบได้บ่อยที่สุด โดยหนองชนิดนี้มักจะมีสีชมพูออกแดง มักจะเกิดขึ้นหลังจากเปลี่ยนผ้าพันแผล

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้แผลเป็นหนอง

หนองที่ไหลออกมาจากแผลนั้น เกิดขึ้นจากหลอดเลือดเกิดการขยายตัวในช่วงแรกของการรักษา นอกจากนี้ในช่วงที่เกิดแผลอาจมีเชื้อโรคอยู่บริเวณนั้นทำให้ร่างกายสร้างของเหลวเพื่อพยายามรักษาตัวเอง

แผลที่เกิดหนองนั้นส่วนใหญ่เกิดจากแผลนั้นเกิดการติดเชื้อ ซึ่งเชื้อโรคจะแพร่กระจายไปตามเนื้อเชื้อแล้วทำให้แผลเกิดการติดเชื้อ ทำให้แผลนั้นเกิดอาการบวมและปวด ทำให้แผลนั้นหายช้ากว่าปกติ และแผลแห้งได้ช้า นอกจากนี้ยังมีปัจจัยและความเสี่ยงที่ทำให้แผลเกิดหนองได้ง่ายอีกด้วย ดังนี้

  • โรคเบาหวาน
  • แผลที่เกิดจากวัตถุที่สกปรก ขึ้นสนิม
  • แผลที่โดนกัด
  • บาดแผลที่มีสิ่งแปลกปลอมฝังอยู่เช่น แก้ว เศษไม้
  • แผลที่มีขนาดใหญ่และลึก
  • โรคอ้วน
  • ระบบภูมิคุ้มกันทำงานไม่ดี
  • การผ่าตัดไม่ได้มาตรฐานและไม่ปลอดภัย

วิธีดูแล รักษาแผลเป็นหนอง

การรักษาหนองเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่มีความรุนแรง การรักษาแผลเป็นหนองนั้นมีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและลักษณะของบาดแผล เมื่อพบว่าแผลมีหนอง แพทย์จะทำการระบายหนองออกโดยยังคงรักษาความชุ่มชื่นของแผลไว้เพื่อให้ร่างกายนั้นรักษาตัวเองไว้ได้ แผลที่มีการติดเชื้อมากๆ นั้นอาจจะต้องได้รับยาเพื่อรักษาโดยเฉพาะ ซึ่งยาแต่ละชนิดแพทย์จะทำการสั่งโดยวินิจฉัยจากอาการ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook