แนะวิธีทำแผลอย่างถูกวิธีให้ลูกน้อย เพื่อช่วยสมานผิวได้อย่างปลอดภัย
เพราะวัยเด็กเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ โดยเฉพาะเด็กๆ สมัยนี้ที่มีกิจกรรมอินดอร์-เอาท์ดอร์ให้ทำเพียบไปหมด ผู้ปกครองจึงนอกจากจะควรสนับสนุนและสังเกตความสนใจของพวกเขาแล้ว ยังควรดูแลเด็กๆ อย่างใกล้ชิดอีกด้วย
โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ชอบออกกำลังกาย ทำกิจกรรมโลดโผนผจญภัย หรือเป็นหนูๆ สายเอาท์ดอร์ ที่ยิ่งสนุกกับการเรียนรู้มากเท่าไร ยิ่งมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุสูง เช่น การหกล้มจนเป็นแผลถลอกฟกช้ำ ถูกของมีคมบาด หรือโดนแมลง สัตว์ กัดต่อย
อาการบาดเจ็บเหล่านี้ ถ้ารักษาให้เร็วและถูกวิธีก็จะยิ่งทำให้แผลหายเร็ว และเด็กๆ ก็สามารถกลับไปเข้าห้องเรียนกลางแจ้งของพวกเขาได้อย่างทันใจยิ่งขึ้น
มาดูกันดีกว่าว่าลักษณะของแผลที่มักเกิดขึ้นกับเด็กมีอะไรบ้าง และควรทำแผลอย่างไรถึงจะดีต่อผิวอ่อนโยนของพวกเขา
แผลชนิดต่างๆ ที่มักพบในเด็ก
- แผลถลอก: พบได้บ่อยและเกิดขึ้นได้ง่ายที่สุด แม้แผลถลอกจะไม่ทำให้เกิดรอยแผลเป็น แต่มักมีการเปรอะเปื้อน จึงมีความเสี่ยงในการติดเชื้อมากขึ้น
- แผลถูกของมีคมบาด: มักทำให้เกิดความเสียหายแก่เส้นเลือด หากเป็นแผลขนาดเล็ก สามารถรักษาได้เอง แต่ถ้าแผลลึกควรรีบพบแพทย์
- แผลจากแมลง สัตว์ กัดต่อย: มักมีอาการปวด บวม แดง หรือคัน หากเป็นแมลงที่พิษไม่ร้ายแรง เช่น มด สามารถรักษาได้เองด้วยการทายา หรือถ้าถูกผึ้งต่อยก็ควรเอาเหล็กไนออกให้เร็วที่สุด ส่วนถ้าเป็นแมลงมีพิษที่ไม่รู้จัก หรือถูกสัตว์ชนิดใดกัดก็ตาม ต้องได้รับการตรวจจากแพทย์เสมอ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- แผลพุพอง: เกิดจากการที่ผิวหนังถูกเสียดสีมากเกินไป จนเกิดเป็นตุ่มน้ำและแตกออกจากเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บ
วิธีทำแผลเบื้องต้น
- ทำความสะอาดบาดแผล ด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือล้างแผล หากบาดแผลสกปรกมาก ควรเปิดน้ำไหลผ่านเพื่อล้างสิ่งสกปรกออกให้หมด เช่น เศษดิน เศษโคลน เพื่อไม่ให้เศษสิ่งสกปรกเล็กๆ ฝังอยู่ใต้ผิวหนังเมื่อแผลปิดแล้ว
- หากเป็นบาดแผลที่เกิดจากของมีคมจนทำให้เลือดออก ควรกดแผลให้เลือดหยุดก่อนทำความสะอาดแผล
- ทาครีมฆ่าเชื้อที่ช่วยสมานผิวบริเวณรอบๆ บาดแผล เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรค โดยควรทาตั้งแต่เกิดแผลจนแผลหายสนิท
- ปิดแผลด้วยผ้าก๊อซ หรือพลาสเตอร์ยาที่มีขนาดพอเหมาะกับบาดแผล หรือสามารถเลือกที่จะไม่ปิดแผลก็ได้ เพื่อให้แผลได้สัมผัสกับอากาศและไม่อับชื้น
การเลือกครีมทาฆ่าเชื้อโรค ควรเลือกชนิดที่ไม่มีสีและไม่มีกลิ่น เป็นครีมที่ทาและล้างออกง่าย ไม่มันเยิ้ม ไม่เหนียวเหนอะหนะ และในส่วนผสมของเนื้อครีมควรมี คลอร์เฮ็กซิดีน ไดไฮโดรคลอไรด์ ที่มีสรรพคุณช่วยทำลายเชื้อโรคบริเวณผิวหนังที่อาจพบในบาดแผล โดยไม่ทำให้แสบ
นอกจากนี้ ควรมีส่วนผสมของ เด็กซ์แพนธีนอล หรือโปรวิตามินบี 5 ที่จะซึมเข้าสู่ผิวหนังไปช่วยเร่งกระบวนการสร้างเนื้อเยื่อและสมานแผลตามธรมชาติ ทำให้บาดแผลหายไวและผิวหนังไม่อักเสบระคายเคือง
แค่รู้วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น และเอาใจใส่ลูกน้อยในทุกย่างก้าว เท่านี้เรื่องแผลก็กลายเป็นเรื่องเล็ก เจ็บได้ ก็หายได้ สิ่งสำคัญกว่านั้น คือ การได้สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตไปในตัว
อ้างอิง
L.TH.MKT.12.2020.1883
[Advertorial]