โรค "ภูมิแพ้สัตว์เลี้ยง" และอาการเบื้องต้น ที่คนรักสัตว์ควรรู้

โรค "ภูมิแพ้สัตว์เลี้ยง" และอาการเบื้องต้น ที่คนรักสัตว์ควรรู้

โรค "ภูมิแพ้สัตว์เลี้ยง" และอาการเบื้องต้น ที่คนรักสัตว์ควรรู้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ถึงแม้คุณจะเป็นคนรักสัตว์มากขนาดไหน แต่หากคุณกำลังประสบกับ โรคภูมิแพ้สัตว์เลี้ยง อยู่ละก็ คุณอาจจำต้องจำเป็นทำการศึกษาถึงข้อระมัดระวังทางสุขภาพตนเองให้มากขึ้น จากบทความของ Hello คุณหมอ วันนี้ ที่นำมาฝากทุกคนให้ได้ทราบกันค่ะ เพื่อให้คุณนั้นได้ทำการรักษาได้อย่างเท่าทันเมื่ออาการภูมิแพ้กำเริบ

โรคภูมิแพ้สัตว์เลี้ยง คืออะไร?

โรคภูมิแพ้สัตว์เลี้ยง หรือ อาการภูมิแพ้สัตว์เลี้ยง (Pet allergy) เป็นภาวะที่ผู้เลี้ยงนั้นมักแพ้โปรตีนที่พบได้มากตามเซลล์ผิวหนัง ขน น้ำลาย และน้ำปัสสาวะของสัตว์ จนส่งผลให้เกิดอาการหอบหืด อาการคัน จาม ซึ่งสาเหตุหลักที่อาจทำให้คุณประสบกับโรคภูมิแพ้สัตว์เลี้ยงนั้น เป็นไปได้ว่ายังอาจมาจากที่ระบบภูมิคุ้มกันของคุณมีการทำงาน เพื่อต่อต้านสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ที่เข้าไป จนทำให้เกิดปฏิกิริยา หรือกลไกการป้องกัน และออกมาในรูปแบบอาการแพ้ขึ้น

สัญญาณของโรคภูมิแพ้สัตว์เลี้ยงที่คุณควรสังเกต

เมื่อคุณได้รับสารก่อภูมิแพ้เข้าสู่ร่างกาย ภายในระยะเวลา 15-30 นาที หรือหลังจากนั้น อาจทำให้คุณเริ่มมีสัญญาณเตือนบางอย่าง ดังต่อไปนี้ ที่สามารถบ่งบอกได้ว่า คุณอาจกำลังประสบกับอาการภูมิแพ้จากสัตว์เลี้ยงอยู่ก็เป็นได้

  • คัดจมูก
  • น้ำมูกไหล
  • ไอ จาม
  • คันบริเวณรอบๆ ดวงตา จนถึงขั้นน้ำตาไหลออกมา
  • คันช่องปาก ลำคอ
  • ใบหน้าบวม
  • คันผิวหนัง
  • ผื่นแดงขึ้นเป็นบางจุดตามร่างกาย

นอกจากอาการข้างต้นแล้วโรคภูมิแพ้สัตว์เลี้ยง ยังอาจทำให้คุณนั้นเสี่ยงเป็นโรคหอบหืดได้อีกด้วย ซึ่งมักจะให้คุณมีอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก มีปัญหาในการนอนหลับที่ผิดปกติเนื่องจากอาการไอ และจามตลอดเวลา ดังนั้นทางที่ดี คุณควรรีบเข้าปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจร่างกายให้แน่ชัดในเบื้องต้น ก่อนดำเนินการรักษาในลำดับถัดไป

การวินิจฉัย และวิธีรักษาโรคภูมิแพ้สัตว์เลี้ยง

แรกเริ่มแพทย์อาจทำการวินิจฉัย โดยการตรวจภายในช่องจมูก เพื่อดูเยื่อบุจมูกว่ามีอาการบวมหรือไม่ รวมถึงตรวจสอบผิวหนัง หรือเจาะเลือดร่วม เพื่อนำไปทดสอบหาสารก่อภูมิแพ้ จากนั้นแพทย์อาจแนะนำเป็นวิธีการรักษา และการใช้ยาเหล่านี้ร่วม ตามระดับของอาการภูมิแพ้สัตว์เลี้ยงที่ผู้ป่วยประสบ

การใช้ยาแก้แพ้ที่ช่วยบรรเทาอาการจาม และน้ำมูกไหล เช่น

  • อะเซลาสทีน (Azelastine)
  • โอโลพาทาดีน (Olopatadine)
  • เฟกโซเฟนาดีน (Fexofenadine)
  • ลอราทาดีน (Loratadine)
  • เซทิริซีน (Cetirizine)

เป็นต้น

ยาประเภทคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids)

สเปรย์ฉีดจมูกที่ช่วยลดอาการอักเสบ และควบคุมโรคไข้ละอองฟาง เช่น

  • ฟลูติคาโซน โพรพิโอเนต (Fluticasone Propionate)
  • ไตรแอมซิโนโลน (Triamcinolone)
  • โมเมทาโซน ฟูโรเอท (Mometasone furoate)

เป็นต้น

บำบัดภูมิคุ้มกัน เพื่อฝึกระบบภูมิคุ้มกันไม่ให้เกิดปฏิกิริยาไวต่อสารภูมิแพ้มากนัก แต่อาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาทุกๆ 4 สัปดาห์ หรือตามช่วงวันเวลาที่หมอนัดอย่างสม่ำเสมอ จนกว่าแพทย์จะอนุญาตให้มีการหยุดบำบัด

ที่สำคัญคุณควรมีการระมัดระวังในการเว้นระยะห่างกับสัตว์เลี้ยงให้มากขึ้น พร้อมทั้งหมั่นอาบน้ำทำความสะอาดสัตว์เลี้ยง หรือเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านอยู่บ่อยครั้ง เพื่อเป็นการกำจัดเชื้อโรค แบคทีเรีย ที่เป็นสารก่อภูมิแพ้ให้แก่คุณ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook