ลองไหม? ตรวจเบาหวานจากปัสสาวะด้วยตัวเอง

ลองไหม? ตรวจเบาหวานจากปัสสาวะด้วยตัวเอง

ลองไหม? ตรวจเบาหวานจากปัสสาวะด้วยตัวเอง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เบาหวาน โรคนี้เป็นกันได้ทุกเพศ ทุกวัย ทั้งจากพฤติกรรมการทานอาหารของตัวเอง และความเสี่ยงที่มากขึ้นจากพันธุกรรม แต่หลายคนอาจไม่มีเวลาตรวจสุขภาพเป็นประจำ จึงทำให้ขาดโอกาสในการทราบถึงความผิดปกติของสุขภาพตัวเองได้ทันท่วงที

หากเป็นอย่างนั้น ลองตรวจปัสสาวะด้วยตัวเองอาจจะสะดวกสำหรับบางคนที่ไม่มีเวลา หรือไม่สะดวกไปโรงพยาบาล ซึ่งขอบอกว่าวิธีตรวจง่ายมากๆ อุปกรณ์ก็ใช้ไม่มาก ราคาไม่แพง และเห็นผลชัดเจน เชื่อถือได้ ทำอย่างไรบ้าง ตามมาดูกันค่ะ

 

ตรวจปัสสาวะ หาโรคเบาหวานด้วยตัวเอง

วิธีที่ 1 ต้ม “ปัสสาวะ”

อุปกรณ์

1. หลอดแก้ว หรือขวดแก้วทนไฟ

2. น้ำยาเบเนดิคท์ (หาซื้อได้ที่องค์การเภสัชกรรม หรือคลังยาบางแห่ง)

3. หลอดแก้วสำหรับหยดยา (หาซื้อได้ที่ร้านขายยาทั่วไป) หรือหากหาไม่ได้ ใช้หลอดเล็กๆ ได้ค่ะ

4. ปัสสาะวะ ที่เพิ่งเก็บใหม่ๆ

 

วิธีตรวจปัสสาวะ

1. ใส่น้ำยาเบเนดิคท์ลงไปในหลอดแก้ว หรือขวดแก้วทนไฟ ประมาณ 1 ช้อนชา

2. หยดปัสสาวะลงไปในหลอดแก้ว ประมาณ 8 หยด เขย่าเบาๆ ให้เข้ากัน

3. ใส่หลอดแก้วลงไปแช่ในน้ำเดือด 5 นาที หรือลนไฟ 2 นาที จนสารข้างในเดือด

4. สังเกตสีที่เปลี่ยนไป

ถ้ามีสีน้ำเงิน = ไม่มีน้ำตาล

สีเขียว = มีน้ำตาล +1

สีเหลือง = มีน้ำตาล +2

สีส้ม = มีน้ำตาล +3

สีแสดแดง = มีน้ำตาลมากที่สุด คือ +4

 

วิธีที่ 2 เม็ดยาตรวจปัสสาวะ

ซื้อเม็ดยาตรวจปัสสาวะมาตรวจ โดยหยดปัสสาวะ 5 หยด ลงในน้ำเปล่า 10 หยด แล้วใส่เม็ดยาลงไป จะมีฟองฟู่ขึ้นมา รอจนฟองฟู่หมดแล้วค่อยสังเกตสีของสารที่เปลี่ยนไป คล้ายวิธีทดสอบกับน้ำยาเบเนดิคท์

 

วิธีที่ 3 แผ่นทดสอบปัสสาวะ

หากสามารถหาซื้อแผ่นทดสอบปัสสาวะได้ สามารถนำมาใช้ได้ง่ายๆๆ เพียงจุ่มกระดาษทดสอบลงไปในปัสสาวะ แล้วรอดูสีที่ปรากฏบนกระดาษ

 

ไม่ว่าจะทดสอบด้วยวิธีใด หากพบค่าน้ำตาลในปัสสาวะเป็นบวก คือ +1 ขึ้นไป ให้ลองทดสอบดูหลายๆ ครั้ง อาจจะเป็นปัสสาวะก่อนอาหาร หรือในตอนเช้า หากยังพบค่าบวกอยู่ตลอด อาจมีความเป็นไปได้สูงมากที่คุณจะเป็นโรคเบาหวานเข้าเสียแล้วล่ะค่ะ

 

หมายเหตุ

หากกำลังรับประทานยาบางชนิดอยู่ หรือกำลังตั้งครรภ์ อาจพบน้ำตาลในเลือดได้ โดยที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน ดังนั้นหากตรวจปัสสาวะด้วยตนเองแล้ว พบค่าบวกบ่อยๆ ควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจร่างกาย และให้แพทย์วินิจฉัยอย่างละเอียดอีกครั้งค่ะ 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook