กลุ่มเสี่ยงที่ไม่ควรดื่ม “น้ำประปากร่อย” อาจอันตรายต่อสุขภาพ

กลุ่มเสี่ยงที่ไม่ควรดื่ม “น้ำประปากร่อย” อาจอันตรายต่อสุขภาพ

กลุ่มเสี่ยงที่ไม่ควรดื่ม “น้ำประปากร่อย” อาจอันตรายต่อสุขภาพ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากที่การประปานครหลวงออกมาเตือนประชาชนถึงปัญหา “น้ำประปากร่อย” และแนะนำให้ช่วงนี้งดบริโภคไปก่อน Sanook Health ไปหาคำตอบมาให้ว่า ทำไมน้ำประปาถึงกร่อย และเป็นอันตรายกับใคร และอย่างไรบ้าง

ทำไมน้ำประปาถึงกร่อย?

รสกร่อยของน้ำประปา มาจากปริมาณของแข็ง หรือเกลือแร่ต่างๆ โดยเฉพาะโซเดียมคลอไรด์ละลายอยู่ในน้ำประปา

โซเดียม มีความสำคัญในการควบคุมสมดุลของเหลวในร่างกาย ช่วยในการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อ ตลอดจนการดูดซึมสารอาหาร 

นอกจากนี้ยังอาจพบ คลอไรด์ ในน้ำประปาได้อีกด้วย คลอไรด์มีความสำคัญในการควบคุมสมดุลของเหลวในร่างกาย ปริมาณเลือด ความดันโลหิต และความเป็นกรดด่าง

ค่ามาตรฐานในน้ำประปาที่ส่งผลให้รับรู้รสกร่อย มีดังนี้

  • ความเค็ม
  • โซเดียม
  • TDS หรือ Total Dissolved Solids
  • คลอไรด์
  • ความนำไฟฟ้า

เมื่อไรที่น้ำประปามีความเสี่ยงที่จะมีรสกร่อย?

น้ำประปาอาจมีความเสี่ยงที่จะมีรสกร่อยได้มากกว่าปกติ หากอยู่ในช่วงน้ำทะเลหนุนสูงเป็นบางช่วงเวลา

เราจะรับรู้รสกร่อยได้เมื่อไร?

เราจะสามารถรับรู้รสกร่อยของน้ำได้เมื่อมีความเค็มในน้ำประปาสูงเกิน 0.5 g/l 

หรือมีโซเดียมเกิน 200 mg/l

หรือมีคลอไรด์เกิน 250 mg/l

หรือค่า TDS ในน้ำประปาเกิน 1,000 mg/l

(TDS หรือ Total Dissolved Solids คือปริมาณของของแข็งที่ละลายอยู่ในน้ำ รวมถึงไอออน แร่ธาตุ เกลือ หรือโลหะ มีหน่อยเป็น mg/l) 

หรือความนำไฟฟ้าสูงเกิน 1,200 μS/cm

(ค่าความนำไฟฟ้า หรือ Conductivity เป็นความสามารถของน้ำในการส่งผ่านกระแสไฟฟ้า ซึ่งเกิดจากสารประกอบอนินทรีย์ที่ละลายอยู่ในน้ำ มีหน่วยเป็น μS/cm)

เราสามารถเช็กว่าน้ำประปาในขณะนี้อยู่ในช่วงมีรสกร่อยหรือไม่ ด้วยการตรวจสอบผ่านแอปพลิเคชั่น MWA onMobile เลือกเมนู คุณภาพน้ำ

น้ำประปากร่อย อันตรายต่อสุขภาพอย่างไร?

สำหรับประชาชนคนทั่วไปที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว สามารถดื่มน้ำประปาได้ตามปกติ แต่หากอยู่ในกลุ่มเสี่ยง มีโรคประจำตัวบางโรค อาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำประปาในช่วงที่มีรสกร่อย

กลุ่มเสี่ยงที่ไม่ควรดื่มน้ำประปากร่อย

  1. ผู้ป่วยโรคไต
  2. ผู้ป่วยโรคหัวใจ
  3. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  4. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
  5. เด็กเล็ก
  6. ผู้สูงอายุ
  7. สัตว์เลี้ยงขนาดเล็ก

กลุ่มเสี่ยงควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำประปา แล้วหันมาดื่มน้ำเปล่าจากขวดที่บรรจุน้ำสำหรับดื่มเฉพาะไปก่อน หรือหากที่บ้านมีเครื่องกรองน้ำ ก็ควรกรองน้ำก่อนดื่มทุกครั้ง หากมีความสงสัยว่าน้ำที่ดื่มจะอันตรายหรือไม่ สามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์ประจำตัวได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook