เป็น "ริดสีดวงทวาร" เสี่ยง "มะเร็งลำไส้ใหญ่" จริงหรือ?

เป็น "ริดสีดวงทวาร" เสี่ยง "มะเร็งลำไส้ใหญ่" จริงหรือ?

เป็น "ริดสีดวงทวาร" เสี่ยง "มะเร็งลำไส้ใหญ่" จริงหรือ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ตามที่มีข่าวปรากฏในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง “เป็นริดสีดวงมีความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่” กรมการแพทย์ โดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า การเป็นโรคริดสีดวงไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่

ริดสีดวง คืออะไร?

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ริดสีดวงเป็นโรคที่เกิดจากเส้นเลือดดำทวารหนักหรือส่วนปลายสุดของลำไส้ใหญ่มีการบวมพองยื่นนูนเป็นติ่งออกมาจากทวารหนัก สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ริดสีดวงภายใน เกิดบริเวณเนื้อเยื่อทวารหนักที่อยู่สูงกว่าระดับหูรูดทวารหนัก และริดสีดวงภายนอก เกิดบริเวณทวารหนักส่วนล่างมีอาการนูนเป็นติ่งออกจากทวารหนัก 

ริดสีดวงทวาร เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่?

อย่างไรก็ตาม โรคริดสีดวงไม่ได้เป็นสาเหตุของมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้แก่ อาหารกากใยน้อย อาหารปิ้งย่างรมควัน การรับประทานเนื้อแดง เนื้อแปรรูปเป็นประจำ ตลอดจนขาดการออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น

อาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

นายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวเสริมว่า อาการของโรคที่พบบ่อย ได้แก่ 

  • การถ่ายอุจจาระมีมูกปนเลือดหรืออาจถ่ายเป็นเลือดสดๆ 
  • มีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย 
  • ถ่ายอุจจาระบ่อยครั้ง/ถ่ายไม่สุด 
  • ขนาดของลำอุจจาระเล็กลง
  • มีอาการปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืด จุกเสียด 

เป็นต้น 

วิธีลดความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

แม้ว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงจะเป็นโรคที่น่ากลัว แต่ก็ถือว่าเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ เพียงแค่เราหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการและมีความหลากหลาย หมั่นสังเกตตัวเองว่าการขับถ่ายเป็นปกติดีหรือไม่ หากพบความผิดปกติให้รีบปรึกษาแพทย์ นอกจากนี้ มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงยังสามารถตรวจคัดกรองตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ทำให้การรักษาได้ผลดีและเสียค่าใช้จ่ายน้อย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook