5 ท่านั่ง ทำร้ายร่างกาย เสี่ยงป่วยในระยะยาว

5 ท่านั่ง ทำร้ายร่างกาย เสี่ยงป่วยในระยะยาว

5 ท่านั่ง ทำร้ายร่างกาย เสี่ยงป่วยในระยะยาว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แค่ท่านั่งที่ผิดวิธี ก็อาจทำให้คุณมีอาการปวดหลังเรื้อรัง อาจจะร้าวไปถึงท้ายทอย และปวดศีรษะอย่างที่คุณอาจไม่รู้สาเหตุก็ได้ ดังนั้น 5 ท่านั่งนี้ควรหลีกเลี่ยงให้มากที่สุด ก่อนที่คุณจะต้องไปหาหมอเพื่อทำกายภาพบำบัดในอนาคต

5 ท่านั่ง ทำร้ายร่างกาย เสี่ยงป่วยในระยะยาว

  1. นั่งไขว่ห้าง

ท่านั่งไขว่ห้าง เป็นท่าที่ลำตัวเอียงไม่สมดุล ส่งผลเสียต่อกระดูกสันหลังในระยะยาว 

  1. นั่งขัดสมาธิ

ท่านั่งขัดสมาธิส่งผลเสียต่อข้อเข่า เพิ่มความเสี่ยงของข้อเข่าเสื่อมก่อนวัย

  1. นั่งเท้าคาง

ท่านั่งเท้าคาง จะทำให้เกิดการกดทับบนผิวหน้า หากทำบ่อยๆ บริเวณเดิม จะเร่งการเกิดริ้วรอยบริเวณนั้น

  1. นั่งยกไหล่

ท่านั่งยกไหล่ อาจส่งผลให้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณคอ ไหล่ สะบัก หากท่านั่งที่นั่งอยู่บังคับให้ร่างกายต้องยกไหล่ขึ้นโดยไม่รู้ตัว ควรปรับระดับโต๊ะ และแป้นพิมพ์ให้พอดีกับแขน

  1. นั่งนิ่งเกินไป

เชื่อหรือไม่ว่าการนั่งนิ่งๆ นานๆ ในท่าเดิม ก็อันตรายต่อร่างกายได้เหมือนกัน การที่ไม่ยอมขยับร่างกายในระหว่างวันเป็นระยะเวลานานๆ อาจส่งผลให้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และปวดตาได้ ดังนั้นควรพักสายตา และขยับท่า หรือลุกขึ้นเดินไปมาเป็นระยะๆ ระหว่างนั่งทำงาน


นั่งนานจนปวด มีวิธีแก้อย่างไร?

อาการปวดเมื่อยจากการนั่งนานๆ ก็เป็นอีกหนึ่งอาการที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน ซึ่งเราสามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีการดังนี้

  • ขยับตัวบ่อยๆ นั่งนิ่งๆ ให้น้อยที่สุด เคลื่อนไหวให้มาก ลุกเดินได้ให้เดิน บิดตัวได้ให้บิด เหยียดแขนได้ให้เหยียด ไม่ให้กล้ามเนื้อต้องเกร็งอยู่ท่าเดิมนานๆ เพราะจะทำให้เลือดไม่ไหลเวียน ของเสียคั่ง กลายเป็นอาการปวด
  • นั่งหลังตรง ไหล่ไม่ห่อ คอไม่ยื่น ฝืน เปิดไหล่-ดึงสะบักผลักไปด้านหลังตลอดเวลา (ที่นึกได้)
  • เลื่อนตัวเข้าใกล้คีย์บอร์ด หรือโต๊ะเขียนงาน เพื่อป้องกันการก้มคอ ห่อไหล่ หลังโก่ง
  • ไม่นั่งไขว่ห้าง หรือกางขามากจนเกินงาม
  • นั่งลงน้ำหนักตรงกลางก้นสองข้างให้เท่ากัน ป้องกันไม่ให้กระดูกสันหลังคด
  • ไม่ตั้งแก้วน้ำที่โต๊ะทำงาน ป้องกันการนั่งแช่ และจะได้ขยับเคลื่อนไหวร่างกาย ไปกินน้ำได้บ่อยๆ ถือเป็นการเปลี่ยนอิริยาบถ
  • เดินเข้าห้องน้ำ ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ เดินเปิดไหล่หมุนแขน ออกแรงประสานมือเหยียดไปด้านหลัง และยืดอก ยกและยืดตัวหายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook