Sitting Disease “โรคนั่งนาน” เสี่ยงเสียชีวิตพอกับโรคอ้วน-สูบบุหรี่

Sitting Disease “โรคนั่งนาน” เสี่ยงเสียชีวิตพอกับโรคอ้วน-สูบบุหรี่

Sitting Disease “โรคนั่งนาน” เสี่ยงเสียชีวิตพอกับโรคอ้วน-สูบบุหรี่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เราอาจคุ้นหูกับโรค Office Syndrome กันมาบ้างแล้ว ซึ่งเป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากการทำงานที่ไม่เหมาะสม จนส่งผลกระทบโดยรวมต่อสุขภาพ แต่รู้หรือไม่ว่า นอกจากท่าทางการนั่งที่ไม่เหมาะสมแล้ว การนั่งนานๆ ก็มีชื่อเรียกว่า Sitting Disease ด้วยเช่นกัน

Sitting Disease หรือ โรคนั่งนาน เป็นศัพท์ที่ทางการแพทย์นำมาใช้กับบุคคลที่นั่งนานเกินกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน โดยไม่มีกิจกรรมทางกาย ซึ่งพบว่ามีความเสี่ยงในการเสียชีวิตที่คล้ายคลึงกับความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากโรคอ้วนและการสูบบุหรี่เลยทีเดียว ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ผลการศึกษา 13 ชิ้น เกี่ยวกับเวลาที่ใช้ในการนั่งและระดับในการทำกิจกรรมต่างๆ

ผลข้างเคียงต่อสุขภาพ

ส่วนใหญ่การนั่งนานเกินไปนั้น มักเกิดกับพนักงานบริษัทที่นั่งทำงานอยู่ที่โต๊ะเป็นเวลานานๆ โดยแทบไม่ได้ลุกไปไหน ซึ่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพที่เกิดขึ้นได้ มีดังนี้

  • ความดันโลหิตสูงขึ้น
  • ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
  • มีไขมันส่วนเกินรอบเอว
  • มีระดับคอเลสเตอรอลผิดปกติ
  • มีภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำf
  • เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน ชนิด 2
  • เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
  • เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

นอกจากนี้ ท่านั่งที่ไม่เหมาะสมยังส่งผลให้กล้ามเนื้อที่ช่วยในการงอสะโพก (Hip Flexor) รวมถึงกล้ามเนื้อหลังต้นขา และข้อต่อต่างๆ เกิดอาการตึงเกินไป ทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่าง และมีอาการตึงที่หัวเข่า อีกทั้งยังส่งผลต่อการเดินและการทรงตัวของร่างกายด้วย ขณะที่การนั่งห้อยขานานๆ ก็ยังทำให้เลือดไปคั่งที่ขาได้ ส่งผลให้เกิดเส้นเลือดขอด และมีอาการเจ็บตามมาได้

ส่วนผู้สูงอายุที่นั่งนานๆ ไม่ได้ขยับเขยื้อนร่างกาย มักจะมีแนวโน้มเป็นโรคกระดูกพรุน ทำให้เคลื่อนไหวได้ช้า และไม่สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ

ขยับร่างกายทุก 30 นาที

โรค Sitting Disease สามารถป้องกันได้ง่ายๆ แค่ขยับร่างกายให้มากขึ้น ไม่นั่งนานติดกันหลายชั่วโมง โดยสูตรที่แนะนำกันคือ ทุกๆ   30 นาที ให้เปลี่ยนอิริยาบถด้วยการลุกขึ้นยืน 8 นาที และเดินไปรอบๆ สัก 2 นาที

นอกจากนี้ ก็ควรพยายามขยับร่างกายในแต่ละวันให้มากขึ้นด้วย เช่น การเดินขึ้นลงบันไดแทนการใช้ลิฟต์ หรือเวลาคุยโทรศัพท์ให้ยืนคุยหรือเดินคุยแทน รวมถึงพยายามหาเวลาออกกำลังกายให้มากขึ้น

การเดินช่วยได้!

การเดินถือเป็นการออกกำลังกายที่ง่ายที่สุด และสามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ใด ๆ ซึ่งสมาคมหัวใจอเมริกัน (American Heart Association) มีคำแนะนำว่าแต่ละวันนั้นเราควรเดินให้ได้ 10,000 ก้าวในทุกวัน ซึ่งมีผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบด้วยว่า อาชีพที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายด้วยการเดินมากกว่า  2 ชั่วโมงต่อวัน สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook