อันตรายแฝงจาก "ลูกชิ้น" ที่อาจทำร้ายร่างกาย

อันตรายแฝงจาก "ลูกชิ้น" ที่อาจทำร้ายร่างกาย

อันตรายแฝงจาก "ลูกชิ้น" ที่อาจทำร้ายร่างกาย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อาหารริมถนนซื้อง่ายกินง่ายและอยู่ท้อง ในเมืองไทยมีหลายอย่าง แต่ “ลูกชิ้น” มักเป็นเมนูที่หลายคนไม่ปฏิเสธ เพราะราคาย่อมเยา มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ และซื้อง่ายขายคล่อง แต่ลูกชิ้นของโปรดของคุณมีสารอะไรที่ทำร้ายร่างกายอยู่หรือเปล่า สังเกตได้อย่างไร

อันตรายแฝงจาก "ลูกชิ้น" ที่อาจทำร้ายร่างกาย

สีผสมอาหาร

ดร.วนะพร ทองโฉม นักวิชาการโภชนาการ ฝ่ายโภชนาการ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อมูลผ่านรายการ RAMA CHANNEL ว่า ลูกชิ้นบางเจ้าอาจมีอันตรายจากการใส่สีผสมอาหารมากเกินไป ในอาหารหลายๆ อย่างในชีวิตประจำวันอาจจะมีการใส่สีผสมอาหารลงไปบ้าง แต่ลูกชิ้นเป็นหนึ่งในอาหารที่นิยมนำมาใส่สีผสมอาหารกันค่อนข้างมาก การรับประทานอาหารที่ใส่สีสังเคราะห์มากๆ อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น อวัยวะ ตับ ไต ที่มีกลไกในการพยายามขับเอาสารสังเคราะห์ สารที่ร่างกายไม่ต้องการออกไป

สารกันบูด

ในลูกชิ้นของผู้ผลิตบางรายอาจมีการสารกันบูดเพื่อให้เก็บไว้รับประทานได้ในระยะเวลานานๆ แต่หากใส่สารกันบูดมากเกินไป อาจส่งผลอันตรายต่อการทำงานของระบบทางเดินอาหารได้

สารบอแรกซ์

บอแรกซ์ เป็นอีกหนึ่งสารที่พบได้บ่อยในลูกชิ้น แม้ว่าบอแรกซ์จะพบได้บ่อยในวงการอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมผลิตทอง ผลิตแก้ว ใช้เป็นสารป้องกันจุลินทรีย์ในแป้งทาตัว ดังนั้นจริงๆ แล้วบอแรกซ์จะไม่นำมาใส่ในอาหาร แต่ผู้ประกอบการบางรายแอบใส่เพื่อให้ลูกชิ้นเด้งกรอบ หากเรารับประทานบอแรกซ์เข้าไปวันละเล็กละน้อยบ่อยๆ เข้า ก็อาจส่งผลให้ตับหรือไตเสื่อมได้เหมือนกัน

โซเดียม

อาจไม่ทันได้รู้สึกถึงรสเค็ม แต่จริงๆ แล้วลูกชิ้นเป็นหนึ่งอาหารที่มีโซเดียมปริมาณสูง การบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูง อาจทำให้ไต และหัวใจ ทำงานหนักได้ นอกจากนี้กองทุนวิจัยมะเร็งโลกยังระบุว่า การได้รับปริมาณโซเดียมมากๆ ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารอีกด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าลูกชิ้นเป็นเนื้อสัตว์แปรรูปที่มีปริมาณโซเดียมมากกว่าเนื้อสัตว์ปกติถึง 10 เท่า เปรียบเทียบปริมาณโซเดียมง่ายๆ เช่น เนื้อหมู 2 ช้อนโต๊ะ มีโซเดียมราว 35 มิลลิกรัม แต่ลูกชิ้น 5 ลูก จะมีโซเดียมมากถึง 350 มิลลิกรัมเลยทีเดียว

เลือกซื้อลูกชิ้นอย่างไรให้ปลอดภัย

  1. ควรเลือกซื้อลูกชิ้นจากแหล่งผลิตที่น่าเชื่อถือ มียี่ห้อ มี อย.
  2. หลีกเลี่ยงการบริโภคลูกชิ้นที่มีสีสันมากเกินไป
  3. ลดการบริโภคลูกชิ้นที่ทอดในน้ำมันซ้ำ
  4. ลดการบริโภคลูกชิ้นทอด ปิ้ง ย่าง ที่ไหม้เกรียมจนเกินไป
  5. ลดการบริโภคลูกชิ้นให้น้อยลง ไม่รับประทานมากจนเกินไป
  6. รับประทานลูกชิ้นร่วมกับผัก และอาหารอื่นๆ เพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วนในมื้อนั้นๆ
  7. ถ้าชอบรับประทานลูกชิ้นมากๆ อาจลองหาสูตรทำรับประทานเอง เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับสารต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook