กระแดด คืออะไร? อันตรายหรือไม่? รักษาอย่างไร?

กระแดด คืออะไร? อันตรายหรือไม่? รักษาอย่างไร?

กระแดด คืออะไร? อันตรายหรือไม่? รักษาอย่างไร?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กระแดดสามารถพบได้บ่อยถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ในคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปี การรักษากระแดดต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญ และต้องดูแลตนเองให้ถูกวิธี 

กระแดด คืออะไร?

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า กระแดดเป็นหนึ่งในรอยโรคที่เกิดจากแสงแดดโดยรอยโรคที่พบได้บ่อยถึง 90 เปอร์เซ็นต์ในคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ซึ่งจะพบมากในบริเวณที่เจอแสงแดด เช่น ใบหน้า มือ หลังแขน เป็นต้น ซึ่งส่งผลทำให้ผู้ป่วยเกิดความกังวลและส่งผลถึงรูปลักษณ์ที่ไม่สวยงาม

กระแดด มีลักษณะอย่างไร? 

จากแสงคลื่นช่วงแสงอัลตราไวโอเลตและช่วงแสงความร้อน ส่งผลทำให้เซลล์เม็ดสีเมลานินที่อยู่ในชั้นผิวหนังชั้นบนเกิดการขยายตัวมีขนาดใหญ่มากขึ้นและมีสีเข้มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้รอยโรคมีลักษณะ

เป็นสีน้ำตาลเข้ม ขอบชัดลักษณะเป็นวงรี บางครั้งมีรูปร่างและสีเข้มเหมือนตับ โดยอาจจะมีขนาดใหญ่

ได้ถึง 6 เซนติเมตร โดยจะพบได้บ่อยที่บริเวณใบหน้า ไหล่ แขน และหลังมือ ในรายที่มีประวัติเจอแสงแดดมาเป็นเวลานานๆ 

กระแดด อันตรายหรือไม่?

ส่วนใหญ่แล้ว กระโดยทั่วไปจะไม่เป็นอันตรายใดๆ ต่อร่างกายในระยะยาว แต่ถ้าสังเกตเห็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับกระ โดยเฉพาะกระที่เกิดขึ้นบริเวณไหล่ และช่วงอก มีกระเกิดขึ้นใหม่มากมายอย่างกะทันหัน หากเป็นกระเนื้อที่มีคล้ำมาก จะแยกอาการยากจากมะเร็งผิวหนัง ดังนั้นเราควรปรึกษาแพทย์ดีที่สุด

วิธีรักษากระแดด

แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า 

การรักษากระแดดนั้น สามารถรักษาได้ดังนี้

  1. การรักษาด้วยยาทาเฉพาะที่กลุ่มยาทาลดรอยดำ เช่น hydroquinone, tretinoin, adaptable สามารถลดรอยดำได้ รวมถึงการใช้กรดลอกผิว ในความเข้มข้นที่ต่างๆ กัน ที่มีฤทธิ์ในการลอกผิวหนังชั้นบน พบว่าได้ผลดีในการรักษากระแดดรวมถึงรอยโรคจากแสงแดดชนิดอื่นๆ แต่ต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญ ไม่แนะนำให้ซื้อมาทำเอง
  2. การรักษาด้วยการใช้ไนโตรเจนเหลว เลเซอร์เม็ดสีโดยการใช้ไอเย็น และเลเซอร์รักษานั้น อาจจะต้องทำหลายครั้งแต่ละครั้งจะมีแผลที่ตกสะเก็ด ถ้าเลี่ยงแดดและดูแลแผลไม่ถูกต้องอาจทำให้เกิดรอยดำมากขึ้น หรือทำให้เกิดรอยขาวได้

การรักษาส่วนใหญ่จะสามารถทำให้รอยโรคจางลงหรือหายไปได้ชั่วคราวและมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ค่อนข้างบ่อย แต่ส่วนใหญ่จะมีสีที่จางลงมากกว่าก่อนการรักษาถ้าได้รับการรักษาและการดูแลแผลหลังการรักษาที่ถูกต้อง ดังนั้นก่อนทำการรักษาควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางผิวหนังเพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook