ใส่ “หน้ากากอนามัย” เล่นน้ำสงกรานต์ เสี่ยง “โควิด-19” หรือไม่?

ใส่ “หน้ากากอนามัย” เล่นน้ำสงกรานต์ เสี่ยง “โควิด-19” หรือไม่?

ใส่ “หน้ากากอนามัย” เล่นน้ำสงกรานต์ เสี่ยง “โควิด-19” หรือไม่?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สงกรานต์นี้ เราจะสามารถใส่หน้ากากอนามัยเล่นน้ำกันได้อย่างปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน เสี่ยงโควิด-19 หรือไม่ และเราจะร่วมเทศกาลสงกรานต์อย่างปลอดภัยได้อย่างไร

ไม่ว่าสุดท้ายแล้วรัฐบาลจะประกาศให้มีการจัดงานเทศกาลสงกรานต์ในปีนี้หรือไม่ แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคนไทยเองที่จะต้องทราบถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหากไปร่วมงานเทศกาลสงกรานต์ในช่วงที่โควิด-19 ยังระบาดอยู่ รวมถึงคนไทยส่วนมากยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างครบถ้วน

หน้ากากเปียก เสี่ยงโควิด-19 ได้

แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลผ่านรายการ ชัวร์ก่อนแชร์ ว่า คุณสมบัติที่เราต้องการจากการใช้หน้ากากอนามัยและหน้ากากผ้า คือ การป้องกันไม่ให้ตัวเราเองแพร่กระจายละอองฝอยน้ำลายจากการไอ จาม จากปากและจมูกของเราออกไปสู่ภายนอกให้คนอื่น 

แต่หากเมื่อไรก็ตามที่หน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าเปียกชื้น นั่นหมายถึงมีน้ำอยู่ในเส้นใยของผ้า ทันทีที่มีละอองฝอยน้ำลายออกมาจากปากและจมูกของเรา มันก็จะไปเกาะตัวเชื่อมโยงอยู่กับน้ำที่อยู่ในเส้นใยของผ้า ซึ่งทำให้ของเหลวน้ำเหล่านี้สามารถซึมผ่านหน้ากากได้ ไม่ว่าจะเป็นการซึมเข้า หรือซึมออก ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัย เมื่อเปียกแล้ว คุณสมบัติในการป้องกันไม่ให้ละอองฝอยน้ำลายออกจากปากและจมูกของเราไปสู่ภายในก็ลดลงทั้งคู่ และยังเสี่ยงต่อการรับเอาละอองฝอยน้ำลายของคนอื่นเข้ามาสู่จมูกและปากของเราได้อีกด้วย

ดังนั้น หากสวมใส่หน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าขณะเล่นน้ำสงกรานต์ ก็มีความเสี่ยงสูงที่หน้ากากจะเปียกชื้น และเสี่ยงรับไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 ได้

นอกจากนี้ ระหว่างการเล่นน้ำที่ทำให้ใบหน้าเปียกบ่อยๆ เราอาจใช้มือสัมผัสหน้ากากบ่อยกว่าเดิม เพิ่มความเสี่ยงในการรับเชื้อไวรัสผ่านมือที่จะจับสิ่งของต่างๆ ขยี้ตา หยิบของกิน และยังเสี่ยงต่อการถอดหน้ากากบ่อยๆ เพื่อเช็ดหน้าเช็ดตาจากการเปียกน้ำ ทั้งหมดนี้เป็นพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงในการรับเชื้อโควิด-19 ทั้งหมด

ร่วมเทศกาลสงกรานต์อย่างไร ให้ปลอดภัยจากโควิด-19

  1. งดการเข้าร่วมกิจกรรมที่มีการรวมตัวกันเป็นหมู่มาก เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส
  2. ทำกิจกรรมที่ไม่ทำให้หน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าเปียก เช่น รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ รักษาระยะห่าง
  3. ไม่ใช้หน้ากากอนามัยที่เปียก เมื่อไรก็ตามที่มันเปียก ควรเปลี่ยนใช้ใหม่ทันที โดยอาจจะเปียกจากการไอจามของเราเอง โดนน้ำ โดนละอองฝน หรืออาจมาจากเหงื่อที่เกิดขึ้นระหว่างวันได้
  4. งดการเล่นสาดน้ำกันใกล้ๆ ระยะประชิดตัว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook