"ไขมันในเลือดสูง" สาเหตุโรคอันตรายอะไรบ้าง?

"ไขมันในเลือดสูง" สาเหตุโรคอันตรายอะไรบ้าง?

"ไขมันในเลือดสูง" สาเหตุโรคอันตรายอะไรบ้าง?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หากได้ยินคำว่า “ไขมัน” บรรดาผู้รักสุขภาพทั้งหลายคงจะรู้สึกหงุดหงิดใจกันไม่น้อย เพราะต้องคอยเผาผลาญไขมันส่วนเกินออกอยู่เสมอ แต่รู้หรือไม่ว่า มากกว่าความน่าหงุดหงิดของคือความน่ากลัวของ “ไขมันในเลือด” ที่อาจส่งผลถึงชีวิต

"ไขมันในเลือดสูง" สาเหตุโรคอันตรายอะไรบ้าง?

นพ.นพดล นินเนินนนท์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ  โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC) ระบุว่า ในร่างกายของคนเรานั้น จะมีไขมันทั้งหมด 2 ชนิดด้วยกัน คือ คอเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอไรด์   

  1. คอเลสเตอรอล คือ ไขมันที่เกิดได้จากภายในร่างกาย โดยการสังเคราะห์จากตับหรือลำไส้ และเกิดได้จากอาหารที่รับประทาน อาทิ อาหารที่มีรสจัด หวาน มัน เค็ม ขนมกรุบกรอบ ครีมเทียม และนมเนย ที่หากร่างกายได้รับคอเลสเตอรอลมากเกินไป จะส่งผลให้เส้นเลือดแข็งตัว และหลอดเลือดตีบตัน
  1. ไตรกลีเซอไรด์ คืออีกหนึ่งไขมันที่ร่างกายสร้างขึ้นมาจากอาหารที่มีน้ำตาลหรือแป้ง ซึ่งเป็นไขมันที่มีความสำคัญต่อร่างกาย แต่หากไตรกลีเซอไรด์มีระดับสูงขึ้นอาจเกิดจาก โรคอ้วน โรคเบาหวาน การดื่มสุรา และการทานยาฮอร์โมน หรือ สเตียรอยด์ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดหลอดเลือดตีบ เลือดไหลเวียนไม่สะดวกจนเลี้ยงหัวใจและอวัยวะอื่นๆ ไม่เพียงพอ เสี่ยงเกิดอัมพฤกษ์อัมพาต ได้อีกด้วย

สาเหตุการเกิดภาวะไขมันในเลือด

  • ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ทำให้ระบบเผาผลาญไขมันลดลง
  • รับประทานอาหารผิดหลักโภชนาการ
  • โรคของต่อมไร้ท่อ เช่น เบาหวาน ไทรอยด์ โรคตับ และโรคไตบางชนิด เป็นต้น
  • การใช้ยาประเภท สเตียรอยด์ ยาคุมกำเนิด เป็นต้น
  • การดื่มแอลกอฮอล์

ผู้ที่ควรตรวจระดับไขมันในเลือด

  • ผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
  • ผู้สูบบุหรี่
  • ผู้ดื่มแอลกอฮอล์

ซึ่งในทางที่เหมาะสมนั้น การตรวจร่างกายควรเกิดขึ้นเมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป และควรตรวจซ้ำทุกๆ 1-3 ปี เพื่อตรวจสอบความเสี่ยงในการเกิดโรคและการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอยู่เสมอ เพราะสุขภาพคือสิ่งที่เมื่อเกิดความสูญเสีย 1 ครั้ง จะส่งผลยาวนานเกินกว่าที่จะกู้คืนได้ ดังนั้น เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างทันท่วงที ตรวจสุขภาพทุกปี เช็คสุขภาพให้ดีก่อนมีความเสี่ยง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook