ทำไม "ยาอมแก้เจ็บคอ" ที่มี "ยาต้านแบคทีเรีย" ถึงอันตราย?

ทำไม "ยาอมแก้เจ็บคอ" ที่มี "ยาต้านแบคทีเรีย" ถึงอันตราย?

ทำไม "ยาอมแก้เจ็บคอ" ที่มี "ยาต้านแบคทีเรีย" ถึงอันตราย?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เจ็บคอเมื่อไร เลี่ยงยาแก้อักเสบ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เมื่อนั้น อาการเจ็บคอจากการเป็นไข้หวัด สามารถหายเองได้โดยไม่ต้องกินยาเสมอไป เพราะนาอมแก้เจ็บคอที่มียาต้านแบคทีเรีย หรือยาแก้อักเสบ อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้

ส่วนประกอบของยาอมแก้เจ็บคอ ที่มียาปฏิชีวนะเป็นส่วนประกอบ

ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุว่า ยาอมบรรเทาอาการเจ็บคอบางชนิด มียาปฏิชีวนะ (ยาต้านแบคทีเรีย) เป็นส่วนประกอบ

  • นีโอมัยซิน
  • แบซิเทรซิน
  • ไทโรทริซิน

ยาอมเหล่านี้มียาชาเป็นส่วนประกอบ จึงช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอได้ชั่วขณะ แต่ยาปฏิชีวนะที่ผสมอยู่เป็นยาส่วนเกิน เพราะไม่มีผลในการรักษาอาการเจ็บคอให้หายเร็วขึ้น

เจ็บคอแบบไหน ควรกินยาชนิดใด

เจ็บคอจากการติดเชื้อไวรัส

ยาปฏิชีวนะ เป็นยาต้านแบคทีเรีย ไม่มีผลต่อการฆ่าเชื้อไวรัส จึงไม่ควรใช้ยาผมที่ผสมยาปฏิชีวนะ

เจ็บคอจากแบคทีเรีย

ยาปฏิชีวนะในยาอมไม่สามารถขจัดแบคทีเรียที่คอ หรือต่อมทอนซิลให้หมดไปใด้ จึงไม่ควรใช้ยาอมที่ผสมยาปฏิชีวนะ

ยาปฎิชีวนะ เสี่ยงทำให้ดื้อยา

หากเรากินยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ กินยาโดยไม่จำเป็น ยาปฏิชีวนะที่ถูกกลืนลงสู่ทางเดินอาหาร จะสัมผัสโดนแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้ใหญ่ แบคทีเรียปกติก็จะถูกกระตุ้นให้กลายเป็นเชื้อดื้อยา

ข้อควรทราบ เกี่ยวกับยาแก้เจ็บคอ

ปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุขได้เพิกถอนทะเบียนตำรับยาอมบรรเทาอาการเจ็บคอที่มียาปฏิชีวนะเป็นส่วนประกอบทุกตำรับ โดยประกาศลงราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 19 มีนาคม 2564

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook