”อย่ากินมากเกินไป” วิธีการดูแลสุขภาพแบบญี่ปุ่นเมื่อต้อง Work From Home

”อย่ากินมากเกินไป” วิธีการดูแลสุขภาพแบบญี่ปุ่นเมื่อต้อง Work From Home

”อย่ากินมากเกินไป” วิธีการดูแลสุขภาพแบบญี่ปุ่นเมื่อต้อง Work From Home
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในยุคโควิด-19 การที่ต้องทำงานจากที่บ้าน ใช้ชีวิตแบบอัดอั้นเป็นเวลานาน (คนญี่ปุ่น) หลายคนมักจะดื่มกินแบบระเบิดระเบ้อ และมีปัญหาจิตใจไม่มั่นคง การรักษาสุขภาพนั้นไม่ใช่แค่การเลือกกินเพื่อสุขภาพ แต่ลำไส้ต้องมีสุขภาพที่ดีด้วย เราลองไปฟังคำพูดของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกันดีกว่านะครับ

ดร.ทานากะ ยาสุโระ ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิคุ้มกันในลำไส้กล่าว “ลำไส้เล็ก” มีความสำคัญที่สุด

“เป็นความจริงที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเส้นประสาทและฮอร์โมนเป็นตัวส่งสัญญาณไปยังอวัยวะแต่ละส่วนในร่างกายมนุษย์ ซึ่งฮอร์โมนที่ว่านี้จะหลั่งออกมาจากเซลล์ต่อมไร้ท่อ ที่อยู่บนลิ้นสำหรับรับรสและอยู่ในอวัยวะต่างๆของร่างกาย”

ในการแพทย์แผนตะวันออก ส่วนที่เซลล์ต่อมไร้ท่อเหล่านี้รวมตัวกันเรียกว่า “จุดฝังเข็ม” เมื่อได้รับการกระตุ้นด้วยลูกประคบหรือการฝังเข็มเซลล์จะตอบสนองและหลั่งฮอร์โมน ดังนั้นความเจ็บปวดจึงคลายลง

“โดยเฉพาะเซลล์ต่อมไร้ท่อที่ลำไส้เล็กนั้น จะหลั่งฮอร์โมนทั้งหมดที่มีอยู่ในสมอง เช่น เซโรโทนิน โซมาโตสตาติน นิวโรเทนซิน และเอนเคฟาลิน”

อย่างไรก็ตามหากยังคงดื่มกินแบบระเบิดระเบ้อต่อไป เซลล์เม็ดพื้นฐานในลำไส้เล็กจะเกิดภาวะกินอิ่มและการหลั่งฮอร์โมนในสมองจะล่าช้าออกไปและทำให้รู้สึกสูญเสียแรงจูงใจในการมีชีวิตอยู่

“จิตใจถูกสร้างขึ้นด้วยลำไส้ ไม่ใช่สมอง หากปรับสภาพแวดล้อมในลำไส้ได้ ฮอร์โมนในสมองก็จะหลั่งออกมาตามปกติ”

หากลำไส้เล็กทำงานตามปกติ เซลล์เม็ดพื้นฐานก็จะถูกทำให้เป็นปกติ แบคทีเรียในลำไส้จะทำงาน และภูมิคุ้มกันและทางเดินอาหารจะมีความสามารถในการดูดซึมเพิ่มขึ้น

“ในด้านการควบคุมอาหารนั้น อาหารที่คุณกินแล้วรู้สึกหนาวเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าไม่เหมาะกับร่างกายของคุณ ดังนั้นอย่ากินมากเกินไป คุณต้องควบคุมปริมาณน้ำและอุณหภูมิในลำไส้เล็กให้เป็นนิสัย”

คำแนะนำที่เป็นประโยชน์

อย่าดื่มน้ำอึกเดียวหมด แต่ให้ค่อยๆ ดื่มช้าๆ เฉพาะเวลากระหายน้ำ (ไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำมากๆ จำพวกดื่มให้ได้วันละสองลิตร ซึ่ง “ไม่เป็นความจริง”)

การพันพุงหรือเอาน้ำร้อนแช่เท้าก่อนนอน จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนและทำให้ลำไส้อบอุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อย่านอนราบทันทีหลังจากดื่มแอลกอฮอล์ “ผู้ป่วยหลายคนสงสัยว่าเป็นมะเร็งกล่องเสียงเพราะเสียงแผ่วและรู้สึกไม่สบายในลำคอ แต่จริงๆ แล้วพวกเขามีอาการหลอดอาหารอักเสบจากกรดไหลย้อน” นพ. โกะชิมะ ฟุมิยุคิ แพทย์หูคอจมูกกล่าว อาการดังกล่าวมักเกิดร่วมกับอาการหยุดหายใจขณะหลับ ฉะนั้น ไม่ควรกินหรือดื่มก่อนนอน 2-3 ชั่วโมง แต่ถ้ากินแล้วจะนอนเลย อย่านอนราบ ให้นอนโดยยกศีรษะสูงขึ้นประมาณ 30 องศา อาจช่วยได้เล็กน้อย

ใครที่ต้องทำงานจากที่บ้าน หรือทำงานออฟฟิศนั่งนานๆ มีปัญหากรดไหลย้อน ลองเอาไปปรับใช้กันดูนะครับเพื่อสุขภาพที่ดี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook