เมื่อคู่ชีวิตติดหลุมพรางการเสพติด...คุณควรไปต่อหรือพอแค่นี้
Thailand Web Stat

เมื่อคู่ชีวิตติดหลุมพรางการเสพติด...คุณควรไปต่อหรือพอแค่นี้

เมื่อคู่ชีวิตติดหลุมพรางการเสพติด...คุณควรไปต่อหรือพอแค่นี้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

ชีวิตคู่ไม่ใช่เรื่องของคนๆ เดียว และหากคนสำคัญอีกคนหนึ่งของคุณติดกับดักของการเสพติด ผลกระทบนั้นย่อมไม่ได้เกิดเพียงแค่ฝ่ายที่เสพติด หากส่งผลมาถึงอีกฝ่าย จนสามารถนำไปสู่คำถามที่ยากที่สุดในชีวิตคู่นั่นก็คือ คุณควรจะไปต่อ..หรือพอแค่นี้ 

ดังนั้น จึงไม่มีคำตอบที่ง่ายดายในเรื่องนี้ หากก็มีปัจจัยบางอย่างที่คุณควรทำความเข้าใจและพิจารณา เพื่อที่จะเห็นชัดเจนขึ้นถึงสิ่งที่คุณควรจะทำและไม่ควรทำ

ทำความเข้าใจกับการเสพติด

การเสพติดเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากกว่าการขาดความเข้มแข็งทางจิตใจ ในตอนนี้นักวิทยาศาสตร์และนักจิตวิทยาต่างเชื่อว่า คนส่วนใหญ่ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเสพติด ไม่ว่าจะเป็นสิ่งเสพติดหรือพฤติกรรมเสพติด อย่างเช่น การติดพนันหรือติดเซ็กซ์ การเสพติดสิ่งเหล่านี้ มีผลลัพท์คือช่วยบรรเทาความไม่สบายใจบางอย่าง ด้วยการกระตุ้นการทำงานของสมองในส่วนที่เกี่ยวกับการให้รางวัล เมื่อสมองถูกกระตุ้นมากเกินไป ก็จะทำให้เกิดการพึ่งพิงสารเสพติดหรือพฤติกรรมบางอย่างจนเกิดเป็นการเสพติด

เนื่องจากการเสพติดเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของสมอง(อ่านเพิ่มเกี่ยวกับกับภาวะเสพติดจากลิ้งค์ด้านล่าง) การเอาชนะมันจึงไม่อาจใช้เพียงความเข้มแข็งทางจิตใจ เช่นเดียวกับที่การบอกให้คนที่ป่วยเป็นโรคหอบหืดให้พยายามหายใจ ไม่ใช่วิธีที่จะทำให้อาการหอบหืดหายไปได้ การบอกผู้มีภาวะเสพติดอยู่ให้หยุดการเสพติดซะ ก็ไม่อาจได้ผล การเสพติดต้องอาศัยการดูแลรักษาจากมืออาชีพ ด้วยส่วนผสมของวิธีการบำบัดต่างๆ การเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิต และการใช้เครื่องมือต่างๆ ในการรับมือ

การหาข้อมูลและทำความเข้าใจการเสพติด จะทำให้คุณเข้าใจได้ว่าคู่ชีวิตของคุณอยู่ในช่วงระยะใดของการเสพติด และจะทำให้คุณสามารถช่วยเหลือและสนับสนุนคู่ชีวิตของคุณ ในการเผชิญหน้าและเอาชนะการเสพติดของตัวเองได้ 

แยกแยะจุดยืนของตัวเอง

สิ่งแรกที่คุณควรทำก็คือ การหาเหตุผลที่ชัดเจนว่า ทำไมคุณจึงยังอยากอยู่ในชีวิตแต่งงานนี้ การแยกแยะสิ่งเหล่านี้ให้ชัดเจนอาจทำให้คุณคิดได้ว่า ก้าวต่อไปของคุณ ควรจะเป็นเช่นไรดี และนี่คือสาเหตุที่พบกันบ่อยในการเลือกอยู่ต่อในชีวิตแต่งงานกับผู้ที่มีปัญหาการเสพติด

● ความรัก คุณยังคงรักและห่วงใยคู่ของคุณ และอยากให้อีกฝ่ายปรับปรุงตัวเองให้ปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น
● ความมั่นคงทางการเงิน คุณพึ่งพาคู่ของคุณในเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าที่อยู่อาศัย ค่าอาหาร และอื่นๆ
● แรงกดดันทางสังคม ครอบครัว เพื่อน ความเชื่อทางศาสนา อาจผลักดันให้คุณยังอยากรักษาชีวิตแต่งงานเอาไว้
● ความกลัวที่จะอยู่คนเดียว สิ่งที่คุณรับมืออยู่อาจจะหนักหนา แต่การอยู่ลำพังคนเดียวก็ทั้งเปล่าเปลี่ยวและน่ากลัวเช่นกัน
● คู่ชีวิตของคุณพยายามต่อสู้กับการเสพติด คู่ของคุณยอมรับปัญหาของตัวเอง และถึงแม้จะยังเอาชนะปัญหาไม่ได้ แต่ก็ได้พยายามแล้ว
● คุณมีลูก ถ้ามีลูกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย คุณก็มักจะต้องต่อสู้กับการตัดสินใจว่า ผลกระทบของการมีพ่อหรือแม่ที่เสพติด กับการหย่าร้าง อันไหนจะส่งผลเสียต่อลูกมากกว่ากัน

เมื่อใดที่คุณควร "พอแค่นี้"

ถึงแม้จะแยกแยะจุดยืนของตัวเองออกมาแล้ว การเลิกรากับคู่ชีวิตก็ไม่ใช่เรื่องง่ายดาย แต่ละคนต้องตัดสินใจด้วยตัวเองว่า อะไรคือขอบเขตของชีวิตคู่ของตนเอง แต่สัญญาณที่สำคัญที่สุดที่ควรพิจารณาว่าคุณควรพอได้แล้วก็คือ
● ความรุนแรง พฤติกรรมรุนแรงใดๆ ก็ตามจากคู่ของคุณ ความรุนแรงทางกายใดๆ เป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้ ควรขอความช่วยเหลือโดยด่วนเพื่อปกป้องทั้งตัวเองและลูกของคุณ
● การทำร้ายทางจิตใจ เด็กก็เหมือนฟองน้ำที่จะดูดซับทุกอย่างที่ได้เห็น หากเด็กได้ยินคำพูดรุนแรงจากพ่อและแม่ หรือถูกทำร้ายด้วยคำพูด จะทำให้เกิดบาดแผลทางใจ ที่คุณควรพาตัวเองและลูกออกจากตรงนั้นได้แล้ว
● การใช้ยาอย่างเปิดเผยที่บ้าน การใช้ยาโดยมีเด็กๆ อยู่ด้วยเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้ อย่าปล่อยให้ลูกของคุณต้องเห็นการเสพยา มันมีแต่จะทำให้สิ่งนี้ดูเหมือนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้
● การพาคนแปลกหน้าเข้ามาในบ้าน แค่ได้พบเห็นคนแปลกหน้าในบ้านก็เป็นเรื่องน่ากลัวแล้ว และที่น่ากลัวกว่าก็คือ การคิดถึงว่าคุณและลูกต้องอยู่ในบ้านกับคนอื่นที่กำลังมึนเมา

สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำหากคุณจะ "ไปต่อ"

เมื่อคุณแยกแยะจุดยืนของตัวเอง และชัดเจนในการตัดสินใจของคุณแล้วว่า คุณต้องการจะ "ไปต่อ" กับชีวิตแต่งงานนี้ ก็มีทั้งสิ่งที่คุณ "ไม่ควรทำ" และ "ควรทำ" ในการรับมือกับคู่ชีวิตที่มีปัญหาเสพติดของคุณและช่วยให้คู่ของคุณหลุดพ้นจากเส้นทางของการเสพติด

Advertisement

อะไรที่ “ไม่ควรทำ”

● อย่าโกหกหรือปกปิดการเสพติดของคู่คุณ อย่าโทรไปลาป่วยให้คู่ของคุณ หรือแก้ตัวกับครอบครัวและเพื่อนๆ ถึงพฤติกรรมแปลกๆ ของคู่คุณ ให้เขาหรือเธอเป็นคนอธิบายและรับผิดชอบเอง การโกหกหรือปกปิดมีแต่จะทำให้คู่ของคุณยังติดอยู่บนเส้นทางของการเสพติดได้ต่อไป
● อย่าหลีกเลี่ยงปัญหา คนจำนวนมากมักทำเป็นมองไม่เห็นการเสพติดของคู่ตัวเอง เนื่องมาจากความกลัว ไม่ว่าจะกลัวผลที่ตามมา หรือกลัวว่าสิ่งต่างๆ จะเปลี่ยนแปลงไป ความคิดที่ว่า "ปีศาจที่เรารู้จัก ดีกว่าคนที่เราไม่รู้จัก" ทำให้คนเรายอมทนอยู่กับสถานการณ์อันเลวร้ายต่อไป แทนการหาความช่วยเหลือ
● อย่าใช้สิ่งเสพติดไปกับคู่ของคุณ นั่นไม่ได้ช่วยให้ฝ่ายนั้นเลิกการเสพติดได้ และยิ่งเป็นการสนับสนุนพฤติกรรมที่ไม่ดี ที่แย่ไปกว่านั้นก็คือคุณอาจลงเอยด้วยการเสพติดด้วยเช่นกัน
● อย่าใช้ความรู้สึกผิด การทำให้คนเสพติดรู้สึกผิดเพื่อที่จะหยุดการกระทำของตัวเอง คำพูดเช่นว่า "คุณทำอย่างนี้กับฉันได้ยังไง" หรืออะไรก็ตามที่กระตุ้นความรู้สึกผิดหรือความละอายจากคนเสพติดเพื่อให้ยอมหยุดการเสพ เป็นเรื่องที่ไม่ควรทำและไม่ได้ผลแต่อย่างใด มีแต่จะทำให้พวกเขาหนีไปจากคุณ โอกาสที่เป็นไปได้ก็คือ เขาหรือเธออาจอยากหยุดการใช้ยาหรือเหล้า แต่พวกเขาไม่รู้จะทำอย่างไร และการกล่าวโทษหรือตำหนิกันไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไร
● อย่าโทษตัวเอง พันธุกรรม ปัจจัยทางสังคม และปัจจัยทางครอบครัว ล้วนมีอิทธิพลต่อการเสพติด และคุณไม่ผิดอะไรกับพฤติกรรมของคู่ของคุณ

อะไรที่ “ควรทำ”

● ขอความช่วยเหลือ อย่าทนทรมานอยู่คนเดียวเงียบๆ คุณต้องการความช่วยเหลือเพื่อช่วยคู่ของคุณในการบำบัดรักษา การปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการเสพติด เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการเริ่มต้น การได้พบกับผู้เชี่ยวชาญจะช่วยในการระบุถึงปัญหาการเสพติดได้ดีกว่า และยังสามารถแนะนำวิธีการที่ควรทำ รวมถึงเมื่อได้รับมุมมองจากคนนอกครอบครัวที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ จะทำให้ผู้เสพติดเห็นถึงปัญหาของตัวเองได้ชัดเจนขึ้น และยังเห็นหนทางที่จะสามารถฟื้นฟูตัวเองได้ด้วย
● ให้การสนับสนุน หากคู่ของคุณแสดงความสนใจที่จะเข้ารับการบำบัดจากการเสพติด คุณควรแสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนของคุณ โดยการหาข้อมูลเกี่ยวกับการเลิกเสพติด และทำทุกอย่างที่จำเป็นเพื่อช่วยให้คู่ของคุณออกจากวังวนการเสพติด
● ดูแลตัวเอง การอยู่กับผู้ที่มีปัญหาการเสพติดเป็นเรื่องอันเหน็ดเหนื่อยทั้งกายและใจ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดูแลตัวเองให้ดีๆ ทั้งร่างกายและจิตใจ การเข้ารับคำปรึกษาจากนักจิตวิทยาหรือนักจิตบำบัดสำหรับตัวเองไม่ใช่เรื่องน่าอายหรือน่ากลัว แต่จะช่วยให้คุณเดินไปบนเส้นทางอันยากลำบากได้อย่างเข้มแข็ง
● บ่มเพาะความอดทน คุณอาจกระวนกระวายอยากให้คู่ของคุณเปลี่ยนแปลง แต่การเปลี่ยนแปลงมักเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป การบำบัดภาวะเสพติดต้องใช้เวลากว่าจะเห็นผล ในช่วงเวลาเหล่านี้คุณอาจรู้สึกกลัวหรือหมดความอดทนได้ คุณจึงจำเป็นต้องบ่มเพาะความอดทนอย่างมาก ทั้งต่อคู่ของคุณและตัวคุณเอง

การยุติการเสพติดเป็นเรื่องของครอบครัว

ในท้ายที่สุด การเลิกภาวะเสพติดไม่ใช่เรื่องง่าย และต้องการความร่วมมือจากคนครอบครัวเพื่อให้ได้ผลลัพท์ที่ยั่งยืน และสิ่งที่คุณสามารถช่วยได้คือ การมองหาศูนย์บำบัดที่ใช้วิธีการครอบครัวบำบัดร่วมด้วย 

อ่านเพิ่มเติม:
“การเสพติด”: มารู้จักกับความหมายและสาเหตุของมัน: https://thedawnwellnesscentre.co.th/blog/understanding-addiction/

สนับสนุนโดย
The Dawn Wellness Centre and Rehab Thailand: https://thedawnrehab.com 
สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดภาวะเสพติดภาคภาษาอังกฤษ
ติดต่อ: https://thedawnrehab.com/contact-us/ 
เบอร์โทร: 052 135 114

เครดิตภาพ: Depositphoto

[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
kookkak

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบน
เว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้