อย่าเข้าใจผิด "ยา" เหล่านี้ รักษา "โควิด-19" ไม่ได้

อย่าเข้าใจผิด "ยา" เหล่านี้ รักษา "โควิด-19" ไม่ได้

อย่าเข้าใจผิด "ยา" เหล่านี้ รักษา "โควิด-19" ไม่ได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สูตรยาที่แชร์ๆ กันในอินเตอร์เน็ตว่าช่วยรักษาโควิด-19 ได้ ความจริงแล้วเป็นอย่างไร

หลายคนอาจเคยเห็นข้อความหรือคลิปที่แชร์กันในโลกอินเตอร์เน็ตว่า ถ้าเป็นโควิด-19 และต้องอยู่กับบ้าน ควรกินยาเหล่านี้เพื่อรักษาโควิด-19 ให้หาย แต่จริงๆ แล้วตัวยาเหล่านั้นช่วยรักษาหรือบรรเทาอาการของโควิด-19 ได้มากน้อยแค่ไหน Sanook Health มีคำตอบจาก อาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาฝากกัน

อย่าเข้าใจผิด "ยา" เหล่านี้ รักษา "โควิด-19" ไม่ได้

อ. เจษฎา แนะนำว่า ส่วนใหญ่ยาที่แนะนำเป็นการบรรเทารักษาตามอาการป่วยของคนเป็นโรคโควิด-19 แบบที่ไม่รุนแรง และสามารถรักษาตัวเองอยู่กับบ้านแบบ home isolation ได้ แต่เนื่องจากยาบางตัวก็ไม่เหมาะสม จึงไม่ควรจะเผยแพร่ต่อ สามารถดูคำอธิบายได้ ดังนี้

  1. ยาพาราเซตามอล ยาพาราเซตามอลสามารถกินแก้ปวดลดไข้ได้ตามอาการ แต่ระวังอย่ากินเกินปริมาณที่กำหนด
  2. วิตามินซี วิตามินดี และซิงค์ (สังกะสี) กลุ่มนี้เป็นกลุ่มวิตามินเกลือแร่ ที่ร่างกายต้องการและช่วยเรื่องการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย แต่ถ้าเกิดป่วยเป็นโรคโควิด-19 แล้ว ไม่มีหลักฐานว่า การได้รับวิตามินเกลือแร่กลุ่มนี้ แม้เป็นปริมาณมากๆ ก็ตาม จะช่วยให้หายจากโรคได้ จึงควรจะกินแค่เสริมสุขภาพเท่านั้น ตามปริมาณที่แนะนำข้างขวด
  3. ฟ้าทะลายโจร สมุนไพรที่กำลังเป็นประเด็นฮิตตอนนี้ ซึ่งสามารถเอามาใช้กินบรรเทาอาการเป็นไข้ตัวร้อน เหมือนกับกลุ่มพวกยาพาราเซตามอลได้ แต่ไม่หวังผลว่าใช้รักษาโรคโควิดโดยตรง และที่สำคัญคือ ไม่ควรกินเป็นปริมาณมาก เป็นระยะเวลายาวนานเพื่อป้องกันโรค
  4. NAC เป็นยาที่ใช้ละลายเสมหะ ดังนั้นถ้าเกิดมีอาการป่วยแบบมีเสมหะ ก็สามารถจะใช้กินได้ แต่ถ้าไม่มี ก็ไม่จำเป็นต้องกิน
  5. โซดามิ้นท์ อันนี้เป็นความเข้าใจผิดๆ ตามความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องอาหารด่าง น้ำด่าง ที่ว่าถ้าร่างกายเรามีความเป็นด่าง จะสามารถสู้กับโรคไวรัสได้ ถ้าเป็นกรด ก็ติดเชื้อง่าย จึงให้ไปกินพวกยาที่ทำออกฤทธิ์เป็นด่าง 

ซึ่งจริงๆ แล้ว ไม่ได้มีประโยชน์แบบที่ว่าเลย ค่า pH หรือกรดด่างของเลือดในร่างกายเรา มีค่าค่อนข้างคงที่ ที่เป็นด่างอ่อนๆ ซึ่งปรับสมดุลโดยอัตราการหายใจของร่างกาย ไม่ใช่จากอาหารที่กินเข้าไป ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่ต้องพยายามเอาด่างเข้าร่างกายเหมือนที่อ้างกัน

ดูแลตัวเองอย่างไร หากติดโควิด-19 แต่ต้องอยู่บ้าน

ข้อมูลจากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ในกรณีที่ติดโควิด-19 แต่มีความจำเป็นที่จะต้องอยู่ที่บ้านจริงๆ หรือเป็นช่วงที่รอเตียง รอรถพยาบาลมารับ สามารถดูแลตัวเองได้ ดังนี้

  1. กักตัวเอง แยกตัวเองออกมาจากคนอื่นในครอบครัว แยกอยู่คนละห้อง หากอยู่คอนโดที่มีห้องเดียว ควรเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท รวมถึงรักษาระยะห่างจากคนอื่นๆ ด้วย
  2. สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อต้องพบเจอผู้อื่น หรือออกมานอกบ้าน
  3. แยกของใช้ส่วนตัว ไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่นโดยเด็ดขาด
  4. ถ้าแยกห้องน้ำได้ด้วยจะดีมาก แต่หากมีห้องน้ำห้องเดียว ผู้ป่วยควรใช้ห้องน้ำเป็นคนสุดท้าย และล้างห้องน้ำหลังใช้ทุกครั้ง
  5. แยกขยะส่วนตัวไปทิ้งเองคนเดียว
  6. ล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆ ระหว่างวัน โดยเฉพาะหลังขับถ่ายในห้องน้ำ
  7. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และดื่มน้ำสะอาดให้มากเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  8. งดการเดินทางหากไม่จำเป็น สั่งบริการเดลิเวอรี่มาที่บ้านไปก่อน
  9. เมื่อต้องใช้ลิฟท์ ควรใช้ไม้จิ้มฟัน ปากกา ปลายกุญแจ หรืออาจจะเป็นข้อศอก เพื่อกดเลขชั้นแทนการใช้ปลายนิ้วกด
  10. ไม่ต้องกังวลหรือเครียดจนเกินไป หากิจกรรมยามว่างทำรอเวลารับความช่วยเหลือ หากมีอาการแย่ลงกะทันหัน ควรโทรแจ้งโรงพยาบาล หรือโทร. 1669
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook