11 สัญญาณอันตราย เสี่ยง "ภาวะซึมเศร้าจากการทำงาน"

11 สัญญาณอันตราย เสี่ยง "ภาวะซึมเศร้าจากการทำงาน"

11 สัญญาณอันตราย เสี่ยง "ภาวะซึมเศร้าจากการทำงาน"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การทำงานคือหนึ่งในสาเหตุหลักของความเครียด ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในวันที่เราโตขึ้น งานเป็นสิ่งหนึ่งที่อาจจะทำให้เราเครียดมากที่สุด ยิ่งในสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ด้วย งานยิ่งกดดันมากขึ้น หลายคนต้อง Work from home ด้วยแล้วอาจจะเครียดหนักกว่าเดิมเพราะทำงานไม่เป็นเวลา จะบอกว่าอันตรายมากต่อสุขภาพจิตของเรา 

ตัวงานไม่ใช่สาเหตุหลัก จากการศึกษาชี้ว่า ตัวเนื้องานจริงๆ อาจจะไม่ได้ก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้า แต่สภาพแวดล้อมอาจจะทำให้เกิดขึ้นได้และแย่ลงสำหรับผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าอยู่แล้ว 

องค์การอนามัยโลกหรือ (WHO) ได้กล่าวไว้ว่า สภาพแวดล้อมที่แย่ในที่ทำงานสามารถนำไปสู่ปัญหาได้เช่น 

  • ความกังวลด้านสุขภาพจิตและสุขภาพกาย
  • การขาดงาน 
  • สูญเสียประสิทธิภาพในการทำงาน 

          กรณีร้ายแรงอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าที่รุนแรง จนถึงการใช้ยาเลยก็ได้ 

สัญญาณอันตราย เสี่ยงภาวะซึมเศร้าจากการทำงาน

  1. รู้สึกวิตกกังวลมากขึ้นเรื่อยๆเมื่อต้องจัดการกับงาน สถานการณ์ที่ตึงเครียด คิดถึงเรื่องงานเมื่อเราไม่อยู่ที่ทำงาน
  2. เบื่องาน ไม่มีความพอใจในงานที่ทำ 
  3. รู้สึกเศร้าหรือไม่มีเวลาจะทำอะไร (ติดต่อกันเป็นเวลานาน)
  4. รู้สึกไม่สนใจงานเท่าที่เคยเป็น
  5. รู้สึกสิ้นหวัง 
  6. ไม่มีสมาธิกับงาน ใส่ใจกับงานน้อยลง 
  7. เกิดข้อผิดพลาดเยอะขึ้นในงาน
  8. ปวดหัว มีการขาดหรือมาสาย อยากเลิกงานก่อนเวลาตลอด
  9. ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ลดลง รู้สึกหงุดหงิดง่าย ความอดทนต่ำลง
  10. มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ
  11. ต้องพึ่งยานอนหลับหรือแอลกอฮอล์

นี่คืออาการเบื้องต้นที่เกิดขึ้นได้ และแน่นอนว่าบางคนอาจจะเก็บความรู้สึกเก่ง เช่น เพื่อนที่ทำงานของเรา อาจจะแสดงออกมาในรูปแบบอื่นเช่น แยกตัว ผัดวันประกันพรุ่งบ่อยๆ ไม่สนใจ ถอนหายใจเมื่อทำงาน

สาเหตุที่อาจจะทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าที่ทำงาน

  • ความรู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมปัญหาเรื่องงานได้
  • รู้สึกว่างานที่ทำนั้นมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเกิดปัญหากับหัวหน้า เพื่อนร่วมงาน ลูกค้า 
  • สภาพแวดล้อมทำงานไม่ดี
  • รู้สึกทำงานหนักเกินไป หรือไม่คุ้มกับค่าจ้างที่ได้รับ 
  • ทำงานล่วงเวลามากเกินไป (OT)
  • เวลาทำงานกับเวลาชีวิตไม่สมดุลกัน
  • สภาพแวดล้อมที่ทำงานไม่ตรงกับความต้องการ
  • ทำงานที่ไม่ตรงกับเป้าหมายในชีวิต 

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นอีกเช่น หัวหน้าไม่สนใจ การเมืองในที่ทำงาน การกลั่นแกล้ง การนินทา ความไม่เป็นธรรม ความไม่ชัดเจนในการทำงาน

แก้ไขภาวะซึมเศร้าที่ทำงานได้อย่างไร?

การแก้ไขปัญหานั้นมีหลายอย่าง เริ่มจากที่ตัวเราสามารถทำได้คือ อย่าเอางานกลับมาทำที่บ้าน ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ถัดมาอีกหน่อยคือ คุยกับทีม แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ออกไปทำกิจกรรมใหม่ๆ เจอผู้คนใหม่ๆ ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น บางอย่างเป็นปัญหาโครงสร้างที่ในความเป็นจริงอาจจะแก้ไขได้ยาก และหากรู้สึกว่ากระทบชีวิตมากเกินไปแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเช่น จิตแพทย์ 

สรุป งาน อาจจะไม่ใช่สิ่งที่เรารู้สึกแย่ แต่เป็นเพราะองค์ประกอบของมันต่างหาก แน่นอนว่าปัญหาเรื่อง คน มักจะมาลำดับแรกๆตามด้วย ภาระ เงิน ความเป็นธรรม ไม่ว่าจะเจอแบบไหนก็ขอให้ทุกคนผ่านมันไปได้ด้วยดี หรือลองเพิ่มความสุขให้ตัวเองง่ายๆด้วย 5 วิธีคืนความสุขเมื่อเหนื่อยจากงาน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook