อัปเดต "วัคซีนโควิด-19" มีกี่ชนิด ตัวไหนเข้าไทยบ้าง

อัปเดต "วัคซีนโควิด-19" มีกี่ชนิด ตัวไหนเข้าไทยบ้าง

อัปเดต "วัคซีนโควิด-19" มีกี่ชนิด ตัวไหนเข้าไทยบ้าง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วัคซีนโควิด-19 ในโลกตอนนี้มีอยู่หลากหลายประเภทและหลายยี่ห้อ ขึ้นอยู่กับว่าผลิตด้วยวิธีไหน ประเทศไหนผลิตตัวไหนออกมาได้ ก็จะใช้ตัวนั้นฉีดให้กับประชากรในประเทศนั้น เสริมด้วยวัคซีนที่รับเพิ่มจากต่างประเทศเพื่อให้ครอบครัวต่อจำนวนประชากรของประเทศนั้นๆ

ล่าสุด ประเทศไทยรับวัคซีนโควิด-19 มาแล้วจำนวนหนึ่ง และทยอยสั่งซื้อนำเข้ามาจากต่างประเทศเรื่อยๆ รวมถึงยังมีวัคซีนที่ผลิตในประเทศไทยของเราเองที่อยู่ในระหว่างการผลิตเพื่อให้คนไทยได้ใช้กันเองประเทศในราคาที่ถูกลงอีกด้วย

วัคซีนโควิด-19 มีกี่ชนิด

นายแพทย์สมชัย ลีลาศิริวงศ์ ที่ปรึกษาผู้จัดการความเสี่ยง โรงพยาบาลพระรามเก้า ระบุว่า วัคซีนที่ใช้ป้องกันโรคโควิด-19 ทั้งหมดในปัจจุบัน มีอยู่ 4 ชนิดหลักๆ โดยแบ่งจากเทคนิคที่ใช้ในการผลิตวัคซีนโควิด-19 ได้แก่

  • mRNA vaccines หรือวัคซีนชนิดสารพันธุกรรม เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เคยใช้กับการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคอีโบล่า วัคซีนชนิดนี้จะใช้สารพันธุกรรมของโควิด-19 หรือเชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) เข้าไปกำกับการสร้างโปรตีนส่วนหนาม (spike protein) และทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโควิด-19 ออกมา

    วัคซีนชนิด mRNA: BioNTech/Pfizer และ Moderna
  • Viral vector vaccines หรือวัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ พัฒนาโดยการนำไวรัสที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลงแล้ว หรือไม่สามารถแบ่งตัวได้อีก มาตัดแต่งพันธุกรรมเพื่อใช้เป็นพาหะ แล้วฝากสารพันธุกรรมของโควิด-19 เข้าไป ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา ซึ่งเทคนิคนี้เป็นวิธีที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี เนื่องจากเลียนแบบการติดเชื้อที่ใกล้เคียงธรรมชาติ

    วัคซีนชนิด Viral vector: Johnson & Johnson, Sputnik V และ Oxford – AstraZeneca

  • Protein-based vaccines หรือวัคซีนที่ทำจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ ไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2)  โดยการนำเอาโปรตีนบางส่วนของโควิด-19 เช่น โปรตีนส่วนหนาม มาผสมกับสารกระตุ้นภูมิ ก่อนฉีดเข้าร่างกาย แล้วนำมาผสมกับสารกระตุ้นภูมิ เมื่อฉีดเข้าไปแล้วจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส ใช้กันมานานแล้ว เพราะเป็นเทคนิคที่ใช้ผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนตับอักเสบชนิดบี

    วัคซีนชนิด Protein-based: Novavax

  • Inactivated vaccines หรือวัคซีนชนิดเชื้อตาย เป็นการผลิตขึ้นจากการนำเชื้อโควิด-19 มาทำให้ตายด้วยสารเคมีหรือความร้อน ก่อนฉีดเข้าร่างกายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส เทคนิคนี้ผลิตได้ค่อนข้างช้า และต้นทุนสูง เนื่องจากต้องผลิตในห้องปฏิบัติการนิรภัยระดับ 3

    วัคซีนชนิด Inactivated (เชื้อตาย): Sinopharm และ Sinovac

วัคซีนโควิด-19 ที่ใช้ในไทย อัปเดตล่าสุด

  • แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca)

    ชื่ออย่างเป็นทางการ: AZD 1222 

    ผลิตโดย
    : บริษัทแอสตร้าเซนเนก้า-ออกซ์ฟอร์ด จากประเทศอังกฤษ และของ SK Bioscience จากประเทศเกาหลีใต้ นำเข้าโดย บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด

    ชนิดของวัคซีน: Viral vector (วัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ)

    จำนวนเข็มที่ฉีด: 2 เข็ม เข็มแรกห่างจากเข็มที่ 2 ราว 8 สัปดาห์

    ผลข้างเคียงที่อาจพบได้: มีรายงานความเสี่ยงภาวะลิ่มเลือดอุดตันในบางราย แต่ยังเป็นส่วนน้อย และในกลุ่มคนอายุ 20-40 ปี และส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง อาจมีอาการไข้สูงหลังได้รับวัคซีนราว 1-3 วัน รวมถึงอาการอื่นๆ เช่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ ถ่ายเหลว

  • ซิโนแวค (Sinovac)

    ชื่ออย่างเป็นทางการ
    : โคโรนาแวค 

    ผลิตโดย: บริษัทซิโนแวค ประเทศจีน

    ชนิดของวัคซีน: Inactivated vaccines (วัคซีนชนิดเชื้อตาย)

    จำนวนเข็มที่ฉีด: 2 เข็ม เข็มแรกห่างจากเข็มที่ 2 ราว 2-4 สัปดาห์

    ผลข้างเคียงที่อาจพบได้: แม้ว่าจะมีรายงานพบอาการคล้าย stroke (ภาวะเส้นเลือดสมองผิดปกติเฉียบพลัน) กล้ามเนื้ออ่อนแรง แต่ยังไม่ชัดเจนว่ามีสาเหตุมาจากวัคซีนซิโนแวคจริงหรือไม่ ในส่วนของอาการข้างเคียงเล็กๆ น้อยๆ หลังฉีดมีพบบ้างแต่ไม่มาก

    ข้อควรระวัง: ไม่ควรฉีดให้กับผู้หญิงที่มีประจำเดือน เพราะความผิดปกติที่เกิดขึ้นหลังฉีดซิโนแวคอาจมีส่วนจากฮอร์โมนได้

    เพิ่มเติม: ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แนะนำว่า หากฉีดซิโนแวคครบ 2 เข็มแล้ว เข็มที่ 3 ควรเลือกฉีดไฟเซอร์ และโมเดอร์นา เพื่อรับมือเชื้อโควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์ต่างๆ

  • จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (Johnson & Johnson)

    ชื่ออย่างเป็นทางการ
    : Ad26.COV2.S 

    ผลิตโดย: บริษัท Johnson & Johnson ประเทศสหรัฐอเมริกา

    ชนิดของวัคซีน: Viral vector vaccines (วัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ)

    จำนวนเข็มที่ฉีด: เข็มเดียว

    ผลข้างเคียงที่อาจพบได้: มีรายงานความเสี่ยงภาวะลิ่มเลือดอุดตันในบางราย แต่ยังเป็นส่วนน้อย นอกจากนี้อาจมีอาการปวดบวมแดงบริเวณที่ฉีด รวมถึงอาจมีไข้หลังฉีดวัคซีน 1-3 วัน สามารถกินยาลดไข้ (พาราเซตามอล) ได้  

  • โมเดอร์นา (Moderna)

    ชื่ออย่างเป็นทางการ
    : mRNA-1273

    ผลิตโดย: บริษัทโมเดอร์นา ประเทศสหรัฐอเมริกา

    ชนิดของวัคซีน: mRNA vaccines (วัคซีนชนิดสารพันธุกรรม)

    จำนวนเข็มที่ฉีด: 2 เข็ม เข็มแรกห่างจากเข็มที่ 2 ราว 3-4 สัปดาห์

    ผลข้างเคียงที่อาจพบได้: มีรายงานการเกิดอาการภูมิแพ้วัคซีนรุนแรง และลิ่มเลือดแบบ TTP thrombotic thrombocytopenic purpura แต่ยังเป็นส่วนน้อย นอกนั้นเป็นผลข้างเคียงอื่นๆ ทั่วไป เช่น เหนื่อยล้า ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน (ต่อมน้ำเหลืองที่)รักแร้บวม มีไข้ อาจพบผลข้างเคียงในเข็มที่ 2 มากกว่า

  • ไฟเซอร์ (Pfizer)

    ชื่ออย่างเป็นทางการ
    : โทซินาเมแรน (Tozinameran)

    ผลิตโดย: บริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทค ประเทศสหรัฐอเมริกา

    ชนิดของวัคซีน: mRNA vaccines (วัคซีนชนิดสารพันธุกรรม)

    จำนวนเข็มที่ฉีด: 2 เข็ม เข็มแรกห่างจากเข็มที่ 2 ราว 3-4 สัปดาห์

    ผลข้างเคียงที่อาจพบได้: มีรายงานการเกิดอาการภูมิแพ้วัคซีนรุนแรง และลิ่มเลือดแบบ TTP thrombotic thrombocytopenic purpura แต่ยังเป็นส่วนน้อย นอกนั้นเป็นผลข้างเคียงอื่นๆ ทั่วไป เช่น เหนื่อยล้า ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ หนาวสั่น คลื่นไส้ มีไข้ เป็นต้น

  • ซิโนฟาร์ม (Sinopharm)

    ชื่ออย่างเป็นทางการ
    : BBIBP-CorV

    ผลิตโดย: บริษัท Beijing Institute of Biological Product (ปักกิ่ง) และ บริษัท Wuhan Institute of Biological Product (อู่ฮั่น) ประเทศจีน

    ชนิดของวัคซีน: Inactivated vaccines (วัคซีนชนิดเชื้อตาย)

    จำนวนเข็มที่ฉีด: 2 เข็ม เข็มแรกห่างจากเข็มที่ 2 ราว 2-4 สัปดาห์

    ผลข้างเคียงที่อาจพบได้: มีรายงานพบผู้ที่มีอาการข้างเคียงอย่างรุนแรงหลังฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม 2 ราย โดยมีอาการคลื่นไส้อย่างรุนแรง และโรคทางระบบประสาทที่หายาก หรือที่เรียกว่า อาการสมองและไขสันหลังอักเสบหลังการติดเชื้อ นอกจากนี้ยังมีอีกรายที่มีอาการธรอมบัส (thrombus) หรือการเกิดก้อนลิ่มเลือดอีกด้วย แต่ผลข้างเคียงทั้งหมดยังไม่สามารถสรุปได้มาจากการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม นอกจากนี้ยังมีรายงานพบอาการข้างเคียงเล็กน้อยทั่วไป เช่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดบริเวณที่ฉีด เป็นต้น

  • โคแว็กซิน (Covaxin)

    ชื่ออย่างเป็นทางการ
    : BBV152

    ผลิตโดย: บริษัท ภารตะไบโอเทค (Bharat Biotech) ร่วมกับ สภาวิจัยทางการแพทย์แห่งอินเดีย (the Indian Council of Medical Research) ประเทศอินเดีย

    ชนิดของวัคซีน: Inactivated vaccines (วัคซีนชนิดเชื้อตาย)

    จำนวนเข็มที่ฉีด: 2 เข็ม เข็มแรกห่างจากเข็มที่ 2 ราว 4 สัปดาห์

    ผลข้างเคียงที่อาจพบได้: ผลข้างเคียงอื่นๆ ทั่วไป เช่น เหนื่อยล้า ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ หนาวสั่น คลื่นไส้ มีไข้ ผื่นผิวหนัง เป็นต้น

  • สปุตนิก วี (Sputnik V)

    ชื่ออื่น
    : Gam-COVID-Vac 

    ผลิตโดย: สถาบันระบาดวิทยาและจุลชีววิทยากามาเลีย ประเทศรัสเซีย นำเข้าโดย บริษัท คินเจน ไบโอเทค จำกัด

    ชนิดของวัคซีน: Viral vector vaccines (วัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ)

    จำนวนเข็มที่ฉีด: 2 เข็ม เข็มแรกห่างจากเข็มที่ 2 ราว 3 สัปดาห์

    ผลข้างเคียงที่อาจพบได้: อาการป่วยคล้ายมีไข้ เช่น ปวดศีรษะ เหนื่อยล้า ปวดบวมบริเวณที่ฉีด เป็นต้น

7 ข้อปฏิบัติ ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19

นายแพทย์สุวรรณชัย กล่าวต่อไปว่า สำหรับการเตรียมตัวไปฉีดวัคซีนนั้น กระทรวงสาธารณสุขได้มี 7 ข้อแนะนำดังนี้

  1. สองวันก่อนและหลังการฉีดวัคซีนให้งดออกกำลังกายหนัก หรือยกน้ำหนัก และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  2. วันที่ฉีดควรกินน้ำอย่างน้อย 500-1,000 ซีซี งดชา กาแฟ หรือของที่มีคาเฟอีน รวมถึงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  3. ฉีดแขนข้างที่ไม่ค่อยถนัด และหลังฉีดสองวันอย่าใช้แขนนั้น อย่าเกร็งยกของหนัก
  4. หลังฉีดแล้วเจ้าหน้าที่จะให้รอดูอาการในบริเวณที่ฉีด 30 นาที
  5. ถ้ามีไข้ หรือปวดเมื่อยมากทนไม่ไหว สามารถกินยาพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัม ครั้งละหนึ่งเม็ดซ้ำได้ถ้าจำเป็นแต่ให้ห่าง 6 ชั่วโมง ห้ามกินยาพวก Brufen, Arcoxia, Celebrex เด็ดขาด
  6. การฉีดวัคซีนโควิดควรห่างกับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่อย่างน้อย 1 เดือนและ
  7. ถ้ากินยาละลายลิ่มเลือดอยู่ ก็ให้กินยาตามปกติ แต่เมื่อฉีดยาแล้วให้กดนิ่งตรงตำแหน่งที่ฉีดต่ออีก 1 นาที
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook