อินเดีย VS แอฟริกาใต้ “โควิด-19” สายพันธุ์ไหนรุนแรงกว่ากัน วัคซีนไหนป้องกันได้บ้าง?

อินเดีย VS แอฟริกาใต้ “โควิด-19” สายพันธุ์ไหนรุนแรงกว่ากัน วัคซีนไหนป้องกันได้บ้าง?

อินเดีย VS แอฟริกาใต้ “โควิด-19” สายพันธุ์ไหนรุนแรงกว่ากัน วัคซีนไหนป้องกันได้บ้าง?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปัจจุบัน (24 พ.ค.) ในประเทศพบไวรัสโคโรนา สาเหตุของ โควิด-19” มากถึง 5 สายพันธุ์แล้ว โดยที่ก่อนหน้านี้พบการแพร่กระจายอยู่มากคือ สายพันธุ์จากจีนหรือที่เราเรียกกันว่าสายพันธุ์อู๋ฮั่น และสายพันธุ์อังกฤษ แต่แค่ในเดือนพฤษภาคม ในไทยเราพบโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่เพิ่มขึ้นมาอีก 3 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์บราซิลที่พบในสถานที่กักกัน ซึ่งยังสามารถควบคุมได้ แต่อีก 2 สายพันธุ์ที่พบในคลัสเตอร์แคมป์คนงานจำนวนมาก คือ สายพันธุ์อินเดีย และสายพันธุ์แอฟริกาใต้ 

คำถามคือ ทั้งสองสายพันธุ์นี้อันตรายมากน้อยแค่ไหน แล้ววัคซีนที่มีอยู่ในประเทศไทย ได้แก่ ซิโนแวค และแอสตร้าเซนเนก้า สามารถป้องกันโควิด-19 ทั้งสองสายพันธุ์ที่พบใหม่ในไทยได้หรือไม่

ทำไมโควิด-19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้ ถึงน่ากลัว?

สายพันธุ์ B.1.351 (GH,G) หรือสายพันธุ์แอฟริกาใต้

พบครั้งแรก: แอฟริกาใต้ เดือนธันวาคม 2563

ลักษณะพิเศษ: หนามโปรตีน N501Y, E484K มีการกลายพันธุ์ ไวรัสจับตัวเซลล์ได้ดีขึ้น เชื้อแพร่กระจายง่าย

อัตราการแพร่เชื้อ: แพร่เชื้อไวขึ้นกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมราว 50% 

ความรุนแรง: ลดประสิทธิภาพแอนติบอดี ทำให้คนติดเชื้อได้ง่าย หนีจากภูมิคุ้มกันได้ดี อาจลดประสิทธิภาพของวัคซีนได้ เพราะเป็นสายพันธุ์ที่ดื้อต่อวัคซีนและ antibody ที่สุด และ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยถึงสายพันธุ์นี้ที่กำลังระบาดในประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียว่ามีความน่ากลัวตรงที่สามารถเข้าสู่ในประเทศไทยทางภาคใต้ได้ เพราะมีพรมแดนติดกัน

ทำไมโควิด-19 สายพันธุ์อินเดีย ถึงน่ากลัว?

สายพันธุ์ B.1.617 หรือสายพันธุ์อินเดีย

พบครั้งแรก: เมืองนาคปุระ รัฐมหาราษฎระ ประเทศอินเดีย เดือนธันวาคม 2563

ลักษณะพิเศษ: หนามของอนุภาคไวรัสหลายตำแหน่งมีการกลายพันธุ์ เป็นการกลายพันธุ์แบบคู่ double mutant

อัตราการแพร่เชื้อ: แพร่เชื้อไวขึ้นกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมราว 20% 

ความรุนแรง: ไวรัสแพร่กระจายตัวได้เร็ว ผู้ติดเชื้อมีอาการแย่ลง รวมถึงไวรัสสามารถหลบภูมิคุ้มกันที่มีการติดเชื้อก่อนได้ จึงทำให้หลบวัคซีนได้ และเชื้ออาจพบได้ลึกลงไปถึงในปอด การตรวจหาเชื้อด้วยวิธีแยงจมูกจึงอาจไม่พบได้ในบางราย

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญพบว่าไวรัสสายพันธุ์อินเดียอาจไม่ร้ายกาจหรือสร้างปัญหาเท่ากับสายพันธุ์แอฟริกาใต้ บราซิล และอังกฤษ เพราะสายพันธุ์อินเดียมาจากตระกูล G (GISAID Clade) ซึ่งเกิดขึ้นและติดต่อระบาดอยู่ในอินเดียตั้งแต่ปีที่แล้ว หากเป็นสายพันธุ์ที่สามารถก่อโรครุนแรง การระบาดรุนแรงจึงน่าจะเกิดตั้งแต่ต้นปี 2564 แต่กลับพบเพียงการระบาดแบบจำกัดวง ไม่รวดเร็วเท่าไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์อื่น และไม่แพร่ระบาดได้ง่ายเหมือนกับสายพันธุ์อังกฤษแต่อย่างใด

วัคซีนในประเทศไทย สามารถป้องกันโควิดสายพันธุ์อินเดีย และแอฟริกาใต้ ได้หรือไม่?

WHO หรือองค์การอนามัยโลก ยืนยันว่า วัคซีนทุกตัวที่ทาง WHO รับรอง สามารถป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 ได้ทุกสายพันธุ์ แม้กระทั่งสายพันธุ์ใหม่อย่างอินเดีย และแอฟริกาใต้ โดยในขณะนี้วัคซีนที่ WHO รับรอง ได้แก่ ไฟเซอร์-ไบโอเอ็นเทค, โมเดอร์นา, แอสตร้าเซนเนก้า (รวมถึง โควิชีลด์ที่ผลิตโดยสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย), จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน และ ซิโนฟาร์ม

สำหรับซิโนแวค (24 พ.ค.) ยังอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของการขอรับรองจาก WHO และน่าจะได้ทราบผลภายในเดือนพฤษภาคมนี้

อย่างไรก็ตาม ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยเป็นเลิศด้านการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (SiCORE-PM-Siriraj Center of Research Excellence in Precision Medicine) ระบุว่า จากข้อมูลล่าสุด (22 พ.ค.) พบว่า สำหรับโควิด-19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้ มีเพียงวัคซีนไฟเซอร์ และอาจจะโมเดอร์นาด้วย ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน อย่างได้ผลที่สุด โดยสามารถป้องกันได้ถึง 75% รองลงมาคือ จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ที่ป้องกันได้ 64-66% และ Novavax ที่ 60.1% (สำหรับ non-HIV)

ส่วน AstraZeneca เหลือแค่ 10.4% สำหรับ Sinovac ถ้าเทียบระดับ antibody ที่ขึ้นหลังฉีดแล้วคาดว่าคงแทบไม่ได้ผลเช่นกัน จึงได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่า อาจถึงเวลาที่ภาครัฐจะต้องเปลี่ยนนโยบาย เร่งนำเข้าวัคซีนไฟเซอร์, โมเดอร์นา และ จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน มาให้เพียงพอและครอบคลุมประชากรให้เร็วและมากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยควบคุมการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์แอฟริกา

ในส่วนของโควิด-19 สายพันธุ์อินเดีย BBC รายงานว่า ในอังกฤษพบว่า วัคซีนไฟเซอร์สามารถป้องกันได้มากถึง 88% หลังรับครบสองเข็ม รองลงมาคือแอสตร้าเซนเนก้าที่ป้องกันได้ 60% ส่วนโมเดอร์นาเพิ่งเริ่มฉีดให้คนในอังกฤษได้ไม่มาก จึงยังสรุปตัวเลขไม่ได้ แต่สำหรับข้อมูลจากสำนักข่าว Express รายงานว่า วัคซีนโมเดอร์นาสามารถป้องกันโควิดสายพันธุ์อินเดียได้มากถึง 94.1% ถือว่าสูงที่สุดในบรรดาวัคซีนทั้งหมด โดยระบุว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้โมเดอร์นาเป็นวัคซีนที่คาดว่าจะให้ประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด-19 สายพันธุ์นี้ได้ดีที่สุด เพราะความเป็นวัคซีนประเภท mRNA ของมันนั่นเอง ที่เหมาะสมกับการจัดการกับสายพันธุ์นี้ได้ดี

อย่างไรก็ตาม สำหรับซิโนแวค ยังมีข้อมูลที่เป็นตัวเลขยังไม่ชัดเจนนัก แต่ Prof. Dr. Dr. Yuwono, M.Biomed นักวิจัยทางด้านอณูชีววิทยา จากมหาวิทยาลัย Sriwijaya ประเทศอินโดนีเซีย ยืนยันว่าซิโนแวคเป็นวัคซีนที่มีเรื่องประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด-19 ได้ในสายพันธุ์อินเดียด้วยเช่นกัน

เทียบประสิทธิภาพวัคซีน ต่อโควิด-19 สายพันธุ์อินเดียและแอฟริกาใต้เทียบประสิทธิภาพวัคซีน ต่อโควิด-19 สายพันธุ์อินเดียและแอฟริกาใต้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook