สัญญาณเตือนร่างกายติด "สมาร์ทโฟน" มากจนผิดปกติ

สัญญาณเตือนร่างกายติด "สมาร์ทโฟน" มากจนผิดปกติ

สัญญาณเตือนร่างกายติด "สมาร์ทโฟน" มากจนผิดปกติ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เล่นมือถือ ปวดมือ ปวดคอ ปวดแขน มือชา ถ้ามีอาการเหล่านี้ แสดงว่าร่างกายกำลังส่งสัญญาณเตือนภัยจากการใช้ชีวิตประจำวันแล้วค่ะ โดยเฉพาะอาการที่เรียกว่า “ติดสมาร์ทโฟน” ในโลกยุคปัจจุบันที่มีความเจริญก้าวหน้ามากในด้านการสื่อสารแบบไร้สาย ผู้คนต่างมีโลกส่วนตัวอยู่กับเครื่องมือสื่อสารของตน มองไปทางไหนก็ต่างก้มหน้าก้มตามองมือถือ ผู้คนพูดคุยกันน้อยลง เป็นยุคที่ผู้คนกำลังถูกมอมเมาด้วยภาพและเสียงที่มาล่อตาล่อใจ จะมีสักกี่คนที่สนใจกับร่างกายว่า ตอนที่กำลังเพลิดเพลินอยู่นั้น เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายบ้าง เกือบทั้งหมดจะรู้สึกตัวก็ต่อเมื่อเงยหน้าขึ้นจากจอเล็กๆ ในมือ นั่นแหละ

ทำความรู้จัก โรคติดสมาร์ทโฟน

แล้วเสียงเตือนแบบไหนที่บอกว่าคุณกำลังเป็นโรคติดสมาร์ทโฟน คุณเพ็ญพิชชากร  แสนคำ นักกายภาพบำบัดจาก คลินิกกายภาพบำบัดอริยะ ชั้น 1 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) ได้มาให้ข้อมูลว่า คนที่เป็นโรคติดสมาร์ทโฟน จะได้รับเสียงเตือนจากร่างกายบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดเมื่อยบ่า ก้านคอ สะบัก ปวดข้อศอก ปวดแขน นิ้วล็อก มือชา มือไม่มีแรง ปวดฝ่ามือ มือแข็ง เวลาใช้แรงกำหรือหยิบของ จะรู้สึกกำได้ไม่ถนัด และแม้แต่อาการมึนๆ ตึงๆ ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ตาพล่ามัว หาวนอนบ่อยๆ หายใจไม่อิ่ม ฯลฯ ซึ่งอาการเหล่านี้ มีต้นตอมาจากการเล่นเกม การเพลิดเพลินไปกับโรคออนไลน์ สื่อสารแบบต้องพิมพ์ถึงกัน ด้วยการใช้สมาร์ทโฟนนั่นเอง หากคุณลองเปลี่ยนจากเป็นผู้เล่นเป็นผู้สังเกตการณ์ คุณอาจเห็นภาพตัวเองนั่งหลังค่อมไหล่ห่อ คอยื่น ซึ่งเป็นลักษณะท่าทางที่กำลังทำร้ายร่างกายอยู่นั่นเอง

วิธีรักษาโรคติดสมาร์ทโฟน

การจัดการกับร่างกายหรือกับอาการต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมานั้นไม่ยากเลย ถ้าดูจากต้นเหตุของอาการก็พูดให้เข้าใจได้ง่ายๆว่า เป็นการขาดความสมดุลของระบบโครงสร้างร่างกายนั่นเอง ซึ่งเราทราบกันดีอยู่แล้วว่า ทุกหน่วยเซลล์ของร่างกาย ได้รับอาหาร และขับของเสียต่างๆ ผ่านทางหลอดเลือดและน้ำเหลือง หลอดเลือดเหล่านี้ก็ทอดผ่านกล้ามเนื้อในทุกส่วนของร่างกายเราจึงสรุปได้ว่า เมื่อมีความบกพร่องของโครงสร้างร่างกาย ร่างกายก็จะส่งสัญญาณเตือนด้วยการแสดงอาการต่างๆ ดังที่ได้กล่าวนั่นเอง

  1. เกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ เส้นใยกล้ามเนื้อหดสั้นมากกว่าปกติ ทั้งบริเวณกล้ามเนื้อคอด้านหน้า กล้ามเนื้อใต้ฐานกะโหลกศีรษะ กล้ามเนื้อช่วงอก กล้ามเนื้อระหว่างกระดูกชายโครงด้านหน้า กล้ามเนื้อในการงอศอก กล้ามเนื้อในนิ้วมือและฝ่ามือ เกิดการยืดยาวมากกว่าปกติของกล้ามเนื้อด้านหลังช่วงก้านคอ กล้ามเนื้อบ่า กล้ามเนื้อรอบสะบักด้านใน และกล้ามเนื้อหลังช่วงบน
  1. การที่เส้นใยกล้ามเนื้อมีการหดสั้นมากกว่าปกติ จะมีผลกับหลอดเลือดและเส้นประสาท ที่ทอดผ่านเส้นใยกล้ามเนื้อนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณคอซึ่งเป็นส่วนที่ผ่านไปเลี้ยงสมอง บริเวณอกซึ่งเป็นส่วนที่ระบบเลือด-ระบบน้ำเหลือง-ระบบเส้นประสาท ผ่านไปที่แขน ที่ข้อมือและนิ้วมือทั้งสองข้าง ด้านหน้าอกก็เป็นส่วนที่ช่วยในการขยายตัวของปอด ช่วยในการหายใจ แต่เมื่อถูกกดรัดอยู่ ก็ทำให้การไหลเวียนของระบบเหล่านี้สูญเสียไปด้วย และนั่นก็ส่งผลให้มีอาการต่างๆ ดังที่กล่าวมา
  1. จากข้อ 2 และ ข้อ 3 จะเกิดกลุ่มอาการที่เรียกว่าMuscle Imbalance คือในภาวะปกติ กล้ามเนื้อด้านหน้ากับด้านหลังจะทำงานร่วมกันและสมดุลกันเพื่อพยุงให้กระดูกสันหลังช่วงบน และช่วงคอของเราอยู่ในแนวความโค้งที่ปกติ แต่เมื่อเกิดความไม่สมดุลขึ้น จะมีผลทำให้หลังค่อม หลังโก่งมากกว่าปกติ จากการผิดรูปของกระดูกสันหลังช่วงบนกับช่วงคอนั้น มีผลทำให้การรับน้ำหนักของกระดูกคอมากกว่าปกติ เป็นที่มาของโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมที่เสื่อมเร็วกว่าวัย และมีผลต่อเนื่องทำให้เส้นประสาทที่คอถูกกดทับ เกิดอาการปวดร้าวตามแนวของเส้นประสาท ซึ่งอาการปวดจากการกดทับนี้จะไม่เหมือนปวดกล้ามเนื้อธรรมดา จะเป็นอาการปวดล้าๆ เมื่อยๆ ลึกๆ ตลอดทั้งศีรษะ คอ บ่า สะบัก หรือแขน บางเคสร่วมกับอาการอ่อนแรง ซึ่งหากปล่อยไว้นาน รักษาไม่ตรงต้นตอของอาการที่เป็นก็อาจทำให้ไม่มีแรง หรือที่เราชอบเรียกว่าอัมพฤกษ์ อัมพาตก็เป็นได้

ฉะนั้นเราสามารถเลือกได้ว่าจะมีชีวิตอยู่อย่างไร การใช้เครื่องมือที่ทันสมัยตามเทคโนโลยีนั้น เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความสะดวก แต่หากใช้ผิดวัตถุประสงค์ ปล่อยให้ตัวเองอยู่กับหน้าจอนานๆ คงเป็นผลเสียมากกว่าผลดีเป็นแน่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook