ชอบ "เคี้ยวน้ำแข็ง" อาจเป็นโรค "ติดน้ำแข็ง" ได้ อันตรายหรือไม่?

ชอบ "เคี้ยวน้ำแข็ง" อาจเป็นโรค "ติดน้ำแข็ง" ได้ อันตรายหรือไม่?

ชอบ "เคี้ยวน้ำแข็ง" อาจเป็นโรค "ติดน้ำแข็ง" ได้ อันตรายหรือไม่?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ร้อนๆ แบบนี้ใครชอบเคี้ยวน้ำแข็งกันบ้าง? ยิ่งเคี้ยว ยิ่งเพลิน ระวังอาจเป็นโรคติดน้ำแข็งหรือ Pagophagia วันนี้มาทำความรู้จักโรคนี้สั้นๆ ได้ใจความก่อนที่น้ำแข็งจะละลายซะอีก

อาการของ Pagophagia

เป็นอาการที่อยากเคี้ยวน้ำแข็ง หรืออยากดื่มเครื่องดื่มเย็นๆมากๆ แน่นอนว่าเวลาอากาศร้อนแล้วมีความรู้สึกอยากก็ไม่ได้แปลว่าเป็นโรคนี้ โรคนี้จะถูกสงสัยก็ต่อเมื่อคุณอยากเคี้ยวน้ำแข็งมากๆนานกว่า 1 เดือนขึ้นไป 

สาเหตุของโรคติดน้ำแข็ง Pagophagia 

  • มีผลวิจัยชี้ว่าโรคนี้เกี่ยวเนื่องกับการที่ร่างกายขาดธาตุเหล็ก ทำให้ร่างกายรู้สึกเฉื่อยชา เลยอยากเคี้ยวน้ำแข็งเพื่อให้ตื่นตัว 
  • มีความเครียดสะสม 
  • บางคนเกี่ยวเนื่องกับอาการ OCD หรือย้ำคิดย้ำทำ 

สังเกตตัวเองยังไงดี 

  • สังเกตว่ากินน้ำแข็งเท่าไหร่ต่อวัน
  • เคี้ยวน้ำแข็งมานานรึยัง
  • มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยไหม เช่น เวียนหัว ไม่ค่อยอยากอาหาร ผิวซีดกว่าปกติ

โดยส่วนมากจะสอดคล้องกับภาวะการขาดธาตุเหล็กหรือโรคโลหิตจาง แน่นอนว่าการเคี้ยวน้ำแข็งมีผลเสีย ไม่ว่าจะเป็น

  • สุขภาพฟันเสีย ทำให้ฟันอ่อนแอ หนักเข้าอาจจะส่งผลถึงฟันแตกได้
  • ปัญหาด้านการเจริญเติบโต
  • แน่นอนว่าหลักๆ อาจเกี่ยวข้องกับโรคโลหิตจาง ทำให้เกิดอาการท้องผูก และเกิดความเครียดได้เช่นกัน

แก้ปัญหาอย่างไร

  • ปรึกษาแพทย์ 
  • หากเกี่ยวข้องกับโลหิตจางต้องทานอาหารที่เสริมธาตุเหล็ก เช่น เนื้อสัตว์ ฟักทอง ถั่วเหลือง และผักใบเขียว
  • พยายามลดปริมาณน้ำแข็งที่เราเคี้ยวหรือที่ทาน
  • ดื่มน้ำเย็นแทนการเคี้ยวน้ำแข็ง 
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook