"วิตามินซี" ประโยชน์ที่แท้จริง และเรื่องควรรู้ก่อนกิน

"วิตามินซี" ประโยชน์ที่แท้จริง และเรื่องควรรู้ก่อนกิน

"วิตามินซี" ประโยชน์ที่แท้จริง และเรื่องควรรู้ก่อนกิน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประโยชน์ของวิตามินซี ต่อร่างกาย เป็นสิ่งที่ค้นพบกันมาแล้วเป็นเวลานาน ในเมืองไทยเอง ย้อนไปตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 ก็มีวิจัยในสมัยนั้นที่พบว่า กรดผลไม้ชนิดนี้ช่วยลดความรุนแรงของโรคปอดอักเสบได้ และตั้งแต่บัดนั้น ก็มีการศึกษาเพิ่มเติมเรื่อยมา

วิตามินซีมีประโยชน์อย่างไร

โดยการศึกษาทางห้องปฏิบัติการก็พยายามหาว่า วิตามินซีออกฤทธิ์หรือทำปฎิกิริยาอย่างไร จนในปัจจุบัน วิทยาศาสตร์สุขภาพก็พอจะรู้ว่า วิตามินซีเป็นองค์ประกอบในกระบวนการสร้างคอลลาเจน ที่จะนำไปสร้างกระดูก กล้ามเนื้อ เป็นองค์ประกอบหนึ่งในกระบวนการสร้างสารสื่อประสาทที่ชื่อ ไทโรซีน คาร์นิทีน และวิตามินซียังช่วยดูดซึมธาตุเหล็กได้อีกด้วย

ในทางการแพทย์ก็พยายามหาคำตอบเช่นกันว่า วิตามินซีพอจะช่วยป้องกันและรักษาโรคอะไรได้บ้างในทางคลินิก จนเป็นรูปเป็นร่างก็เมื่อพุทธศักราช 2520 ทางการแพทย์เราก็พอรู้แล้วว่า วิตามินซีช่วย “ป้องกัน”(ไม่ใช่รักษา) โรค เช่น ไข้หวัด โดยคิดว่าป้องกันการอักเสบ หลักการนี้ได้มีการนำไปต่อยอดในการ “ป้องกัน” (ไม่ใช่รักษา) โรคที่เซลล์อักเสบ รวมถึงเซลล์แบ่งตัวผิดปกติที่เรียกกันว่าเซลล์มะเร็งด้วย โดยเมื่อดูจากงานวิจัยที่มีความน่าเชื่อถือสูง สามารถสรุปได้เป็นหลัก 3 กลุ่มด้วยกัน คือ

  1. ไข้หวัดจากไวรัสระดับไม่รุนแรงเท่านั้น ไม่สามารถช่วยรักษาโรคปอดอักเสบ (Pneumonia) หรือภาวะหายใจล้มเหลว (ARDS) ใดๆ ได้เลย
  2. โรคหลอดเลือดหัวใจรวมถึงความดันโลหิตสูง
  3. โรคมะเร็งระบบทางเดินอาหาร (หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ตับอ่อน – งานวิจัยอื่นๆ ยังไม่ใช่ RCT)

มีเท่านี้ และเป็นเพียง “องค์ประกอบ” การ “ป้องกัน” เท่านั้น ไม่มีผลชัดเจนเรื่องรักษาหรือเป็นยาหลักในการรักษาแต่อย่างใด (มีงานวิจัยที่ ช่วยรักษาหรือป้องกันการลุกลามมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจรวมถึงความดันโลหิตสูงได้ แต่ใช้โดส (Dose) สูงมากๆ รวมถึงผลการรักษาก็ไม่ได้เป็นที่ประจักษ์ จึงไม่นิยมใช้

วิตามินซีแบบฉีดจะลดประสิทธิภาพยาฆ่าเชื้อ ได้แก่ อิริโทรมัยซิน คานามัยซิน สเตร็ปโตมัยซิน ด็อกซีซัยคลิน และลินโคมัยซิน รวมถึงยาต้านการแข็งตัวของเลือดชื่อ วาร์ฟาริน

วิตามินซีอยู่ในรูปแบบใดบ้าง

  1. ผักผลไม้ พริกหวานแดงบร็อคโคลี่ ฟักใดๆ มีวิตามินซี ไม่ได้มีแต่ผักผลไม้รสเปรี้ยว
  2. เม็ด เม็ดอม เม็ดฟู่ เคี้ยวก่อนกลืน ระวังการระคายเคืองกระเพาะอาหาร
  3. น้ำกรด ก็สายละลายแบบฉีด ยกตัวอย่าง องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาได้รับรองวิตามินซีในรูปแบบฉีดล่าสุดเมื่อปี 2559 วางจำหน่ายในปี 2560 ในขนาด 25,000 มก.ในขนาดบรรจุ 50 มลหรือ500 มก.ใน 1 มล. โดยมีข้อบ่งชี้ในการรักษาโรคลักปิดลักเปิด โดยขนาดของวิตามินซีที่ฉีดต้องคำนวณตามอายุ และแนะนำให้ละลายกับน้ำเกลือใดๆ ก่อนฉีดลดโอกาสอาการปวด บวมที่เส้นเลือดขณะฉีด ทั้งปวงไม่ควรฉีดเกิน 1 สัปดาห์ “เท่านั้น”

ใครไม่ควรได้รับวิตามินซีฉีดเสริม

  1. คนปกติ (จะเจ็บตัวทำไม)
  2. G6PD Deficiency (ภาวะขาดเอ็นไซม์จีซิกพีดี) ควรตรวจก่อนฉีดขนาดสูงทุกคน
  3. นิ่วระบบทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากวิตามินซีขนาดสูงๆ หากได้รับติดต่อกันนานๆ โอกาสนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะจะสูงขึ้นได้ ในทางเวชปฏิบัตินั้นไม่ได้พบบ่อย และราชวิทยาลัยศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ ก็ไม่ได้ขึ้นวิตามินซีเป็นอาหารหรืออาหารเสริมพึงระวัง ในคนไข้นิ่วแต่อย่างใด (เป็นอาหารกลุ่มพิวรีนเช่นเดิม)

ปริมาณวิตามินซีที่แนะนำอย่างน้อยที่สุดต่อวัน

  • แรกเกิดถึงขวบแรก ไม่เกิน 50 มก.
  • เด็กหญิง-เด็กชาย 25-75 มก.
  • วัยรุ่น 75 มก.
  • ตั้งครรภ์ 80 มก.
  • ให้นมบุตร 120 มก.
  • ผู้ใหญ่ 500 มก.

วิตามินซีในขนาดสูง 2 กรัมต่อวัน ควรปรึกษาแพทย์ (ที่มีประสบการณ์จ่ายวิตามินซี “เพื่อการรักษา”) ก่อน โดยวิตามินซีขนาดสูงมากที่สุดไม่ควรเกิน 1.5 กรัม ต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม

ด้วยตัววิตามินซีกระตุ้นระบบการสร้างน้ำตาลในเลือด ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงได้ ควรระวังในผู้ป่วยเบาหวาน

ล่าสุดมีงานวิจัยที่กำลังดำเนินอยู่ นำวิตามินซี+สเตอรอยด์แบบฉีด+วิตามินบี 1 เทียบกับกลุ่มที่รักษาแบบใช้สเตอรอยด์ฉีดอย่างเดียวในผู้ป่วยวิกฤตจากติดเชื้อในกระแสเลือดว่า ผลจะเป็นอย่างไร ขณะนี้งานวิจัยที่กล่าวถึงยังไม่เสร็จสิ้น ตอนนี้ต้องรอกันต่อไป

ผลข้างเคียงที่พบบ่อย

  1. ถ่ายเหลว
  2. แสบเส้นเลือดที่โดนฉีด
  3. แพ้ ที่พบบ่อยคือผื่นลมพิษ (Urticaria) รองลงมาก็คือการแพ้รุนแรงถึงขั้นวิกฤติ Anaphylactic Shock ไม่เคยมีรายงาน TEN หรือ Steven Johnson Syndrome

วิตามินทุกอย่างอยู่ในอาหารหมดแล้ว อาหารเสริมควรรับประทานหรือเข้าร่างกายแต่พอดี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook