5 ผลไม้สำหรับผู้ป่วย "เบาหวานชนิดที่ 2" อร่อยได้แม้น้ำตาลต่ำ

5 ผลไม้สำหรับผู้ป่วย "เบาหวานชนิดที่ 2" อร่อยได้แม้น้ำตาลต่ำ

5 ผลไม้สำหรับผู้ป่วย "เบาหวานชนิดที่ 2" อร่อยได้แม้น้ำตาลต่ำ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องให้ความใส่ใจ เพราะหากไม่ระมัดระวังอาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยส่วนใหญ่ แพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง เน้นผักและผลไม้ แต่ ผลไม้ ทุกชนิดไม่ได้เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาดู ผลไม้สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กัน

5 ผลไม้สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

ผลไม้ ที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีดังต่อไปนี้

  • ลูกพีช (Peach)

ลูกพีช เป็นอีกหนึ่ง ผลไม้ ที่มีกลิ่นหอม รสชาติหวานฉ่ำ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับรับประทานเป็นอาหารว่าง โดยลูกพีช 1 ผลขนาดกลาง ให้พลังงาน 59 แคลอรี่ คาร์โบไฮเดรต 14 กรัม วิตามินซี 10 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 285 มิลลิกรัม

  • แอพริคอต (Apricot)

แอพริคอต เป็น ผลไม้ ประจำฤดูร้อน ที่มีรสชาติหวาน อุดมด้วยไฟเบอร์ ซึ่งมีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร โดยแอพริคอต 1 ลูก ให้พลังงาน 17 แคลอรี่ คาร์โบไฮเดรต 4 กรัม

  • ส้ม (Orange Fruits)

ส้ม จัดเป็น ผลไม้ สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งอุดมด้วยวิตามินซีถึง 78 เปอร์เซ็นต์ มีคุณสมบัติช่วยลดความดันโลหิต ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยส้มขนาดกลาง 1 ผล ปริมาณ 15 กรัม ให้พลังงาน 65 แคลอรี่ โฟเลต 40 ไมโครกรัม โพแทสเซียม 237 มิลลิกรัม

  • กีวี (Kiwi)

กีวี เป็น ผลไม้ ที่อุดมด้วยคุณค่าทางสารอาหาร มีวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยกี่วี่ 1 ผล ให้พลังงาน 42 แคลอรี่ คาร์โบไฮเดรต 10 กรัม

  • แอปเปิ้ล (Apple)

แอปเปิ้ล เป็น ผลไม้ ที่อุดมด้วยวิตามินซีและไฟเบอร์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวาน โดยแอปเปิลขนาดกลาง 1 ลูก ให้พลังงาน 95 แคลอรี่ คาร์โบไฮเดรต 25 กรัม

ถึงแม้ว่า ผลไม้ ที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำจะเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน แต่ผลไม้ดังกล่าวข้างต้นอาจไม่ได้เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานทุกคน ดังนั้น ก่อนจะเลือกรับประทานผลไม้ชนิดไหน คุณควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน

ประเภทของผลไม้ที่ผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยง

  • ประเภทผลไม้อบแห้ง

ผลไม้อบแห้งมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูงกว่าผลไม้สด จึงเสี่ยงต่อการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้ เช่น ลูกเกด ปริมาณ 2 ช้อนโต๊ะ ให้พลังงาน 100 แคลอรี่ มีคาร์โบไฮเดรต 23 กรัม และมีปริมาณน้ำตาล 18 กรัม ซึ่งมีปริมาณน้ำตาลเกือบ 5 ช้อนชา ในทางตรงกันข้ามเมื่อเทียบกับองุ่นสดแล้ว องุ่นสดให้พลังงาน 62 แคลอรี่ คาร์โบไฮเดรต 16 กรัม และมีปริมาณน้ำตาล 15 กรัม

  • ประเภทน้ำผลไม้

ถึงแม้ว่าจะเป็นน้ำผลไม้ 100% ก็สามารถส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นได้ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2

  • ผลไม้สดที่มีค่าดัชนีน้ำตาลในเลือดสูง

ผลไม้ ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลในเลือดสูง เช่น สับปะรด กล้วย แตงโม มีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook